วันอาทิตย์, มกราคม 31, 2564

อเมสซิ่ง "หนึ่งพันศิวลึงค์" สลักไว้บนก้อนหินก้นแม่น้ำ





Jay Ketkaen
January 28 at 4:06 AM ·

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์.เมื่อปี 2019 ที่แม่น้ำสายหนึ่งในประเทศอินเดีย.คือแม่น้าศาลมลา(Shalmala River )ใกล้เมืองสิรสิ ( Sirsi)ในรัฐกรณาฏกะ(Karnataka) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียแห้งขอดลง....และแล้วความน่าตื่นตะลึงก็บังเกิดขึ้นแก่สายตาผู้พบเห็น..หลังจากเป็นความลับที่โดนปิดบังโดยสายน้ำมานาน.หลายร้อยปี เมื่อมีสิ่งหนึ่งโผล่ขึ้นมาให้เห็น..นั่นคือแท่งศิวลึงค์( Shiva Lingas) นับพันที่มีการแกะสลักไว้บนก้อนหินที่ก้นแม่น้ำ.

แม่น้าศาลมลา. ที่พบศิวลึงค์นับพัน ก็เลยรู้จักกันในอีก ชื่อว่า "สหัสรลิงคะ" (Sahas ralinga)ในภาษาสันสกฤต..แปลแล้วมีความหมาย ว่า"หนึ่งพันศิวลึงค์"

ที่นี่กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ โด่งดังขึ้น มีนักแสวงบุญเดินทางมาเยี่ยมเยือนมิขาดสาย.เพื่อสวดมนต์เฉลิมฉลองให้กับพระศิวะโดยเฉพาะในวันสำคัญที่เรียกว่าวัน มหาสิวาราตี ( The day of Maha Shivarati) #ซึ่งพระศิวะนีัคือหนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ตามความเชื่อในศาสนา พราหมณ์ฮินดู (อีกสององค์ได้แก่ พระพรหมและพระวิษณุ)

ศิวลึงค์มากมายเหล่านี้. จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ..สร้างขึ้นในยุคที่ยังไม่มีประเทศอินเดีย..แผ่นดินชมพูทวีปยังเป็นอาณาจักรอิสระอาณาจักรเล็ก อาณาจักรน้อยมากมาย

ศิวลึงค์นับพันใต้ก้นเเม่น้ำ สร้างขึ้นเมื่อช่วงปี.1678 และ1718 ในสมัยของ สทาศิวรายะ Sadashivaraya.แห่งอาณาจักรวิชัยนคร (Vijayanagar Kingdom).. ที่ตั้งทางตอนใต้ของประเทศอินเดียในปัจจุบัน .

.จุดมุ่งหมายในการสร้างก็เพื่อบูชาพระศิวะ.ในความเชื่อที่ว่า จะช่วยให้ได้เป็นองค์ทายาทขึ้นครองราชณาจักรต่อไป
ซึ่งอาณาจักรวิชัยนครก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1336 โดยพระเจ้าหริหระราชาที่ 1และพระอนุชาพระเจ้าพุกกะรายะที่ 1 (Bukka Raya I) และรุ่งเรืองต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1646 ก่อนที่จะลามสลายไปเมื่อพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรสุลต่านแห่งเด็คคาน (Deccan sultanates) .

ศิวลึงค์นี้ถือเป็นสิ่งเคารพอย่างหนึ่งของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย

เป็นสัญญลักษณ์แทนพระศิวะหรืออิศวร ซึ่งเป็นเทพเคารพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ฮินดู

ศิวลึงค์หรืออวัยวะเพศชายนี้ ตามความเชื่อของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือว่า เป็นต้นกำเนิดของชีวิตและความอุดมสมบูรณ์ ชีวิตทุกชีวิตในโลก ดำรงอยู่ได้เนื่องมาจากผลของการร่วมกันระหว่างสาระสำคัญของเพศชายและหญิง

อนึ่งอำนาจในการสร้างสรรค์และสืบต่อของอวัยวะเพศนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดิน และพืชพันธุ์ธัญญาหารในโลกอีกด้วย

ลัทธิบูชาศิวลึงค์นี้เกิดขึ้นในอินเดียเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว หรือ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดขึ้นครั้งแรกที่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในแคว้นปัญจาบของอินเดีย

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณเมืองโบราณโมเฮนโจดาโร และฮารัปปา ในแคว้นปัญจาบตะวันตก และทางเหนือของเมืองการจี เมื่อ ค.ศ. 1922 และ 1924 (พ.ศ. 2465 และ 2467) 

พูดถึงการแกะสลักศิวลึงค์ไว้บนก้อนหินก้นแม่น้ำ

ยังมีอีกที่ในประเทศเพื่อนบ้านเรา ที่รู้จักกันดี..คือที่เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา.เรียกศิวลึงค์เหล่านี้ว่า กบาลสะเปียน( Kbal Spean )ซึ่งตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษว่า.the Head Bridge’ .หรือแปลว่า "หัวสะพาน'
ถูกค้นพบโดย ชอง บูเเบท ฟ(Jean Boulbet) นักชาติพันธุ์วิทยา(ethnologist) ชาวใรั่งเศส เมื่อปี 1969
พบตั้งอยู่บริเวณเขากุเลน มีการแกะสลักหินเป็นรูปศิวลึงค์ไว้ใต้ลำธาร