อภ. พร้อมใช้โรงงานวัคซีน สระบุรีผลิต “วัคซีนโควิด19” ระดับอุตสาหกรรม
Sun, 2020-05-31
ที่มา HFous
องค์การเภสัชกรรม(อภ.)ร่วมหลายหน่วยงานเดินหน้าวิจัยพัฒนาวัคซีน โควิด-19 พร้อมใช้โรงงานวัคซีน สระบุรี ที่มีศักยภาพมาก เพื่อต่อยอดผลิตในระดับอุตสาหกรรม
วันที่ 31 พ.ค. นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์โควิด -19 นั้น ภารกิจของ อภ. คือการผลิต จัดหา ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกัน ที่สำคัญคือการร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบในหลายรูปแบบ ได้แก่ การให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้นแบบ 2 ชนิด คือชนิดวัคซีนอนุภาคเหมือนไวรัส (Virus-like particle) พัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และชนิดวัคซีนโปรตีนซับยูนิต (Subunit vaccine) พัฒนาโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิด นี้ ใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งหากวัคซีนต้นแบบนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ อภ.จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนาต่อในการขยายขนาดการผลิตเป็นวัคซีนตามมาตรฐาน GMP สำหรับใช้ในการทดสอบทางคลินิกต่อไป
องค์การเภสัชกรรม(อภ.)ร่วมหลายหน่วยงานเดินหน้าวิจัยพัฒนาวัคซีน โควิด-19 พร้อมใช้โรงงานวัคซีน สระบุรี ที่มีศักยภาพมาก เพื่อต่อยอดผลิตในระดับอุตสาหกรรม
วันที่ 31 พ.ค. นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์โควิด -19 นั้น ภารกิจของ อภ. คือการผลิต จัดหา ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกัน ที่สำคัญคือการร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบในหลายรูปแบบ ได้แก่ การให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้นแบบ 2 ชนิด คือชนิดวัคซีนอนุภาคเหมือนไวรัส (Virus-like particle) พัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และชนิดวัคซีนโปรตีนซับยูนิต (Subunit vaccine) พัฒนาโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิด นี้ ใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งหากวัคซีนต้นแบบนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ อภ.จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนาต่อในการขยายขนาดการผลิตเป็นวัคซีนตามมาตรฐาน GMP สำหรับใช้ในการทดสอบทางคลินิกต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อตายจากการตัดต่อยีนของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV2 เข้าไปในยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza virus-based COVID-19 vaccine) เพื่อเป็นเชื้อไวรัสตั้งต้นหากสำเร็จจะนำเชื้อไวรัสตั้งต้นนี้ผลิตเป็นวัคซีนโดยใช้เทคโนโลยีการใช้ไข่ไก่ฟักของอภ.ที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เดิม เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิกต่อไป โดยคาดว่าการวิจัยพัฒนาวัคซีนทั้ง 3 ชนิด จะทราบผลเบื้องต้นในปลายปี 2563
ผู้อำนวยการ อภ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 คณะผู้บริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประธานมูลนิธิไอเอสพีอี (ประเทศไทย) หรือ International Society for Pharmaceutical Engineering (ISPE Thailand) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Health Organization Regional Office for South-East Asia (SEARO) และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านวัคซีน ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและความพร้อมในการผลิตวัคซีนโควิดสำหรับใช้ในประเทศ ที่โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ของ อภ. ที่จ.สระบุรี จากการรับฟังข้อมูลและการดูพื้นที่ของโรงงานผลิตวัคซีนฯ คณะผู้บริหารสถาบันวัคซีนฯและคณะผู้เชี่ยวชาญต่างมีความเห็นว่าอภ.มีปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่มีศักยภาพและมีความพร้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบรรจุวัคซีนโควิด – 19 ที่สามารถทำในระดับอุตสาหกรรมได้ทันที
“อภ.มีความพร้อมในการผลิตวัคซีนโควิด– 19 เรามีโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นทุนเดิมที่มีศักยภาพและปัจจัยพื้นฐานหลายๆด้าน สามารถนำมาประยุกต์และก่อสร้างต่อยอดเพิ่มเติมเป็นโรงงานสำหรับผลิตวัคซีนโควิด– 19 ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการวิจัย พัฒนาวัคซีน มีประสบการณ์การผลิตวัคซีนหลายชนิด มีเครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัย รองรับการผลิตทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในระดับอุตสาหกรรม ได้ในหลายรูปแบบตามผลสำเร็จของการวิจัย และพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งยังรอผลการวิจัยว่าจะได้วัคซีนต้นแบบชนิดไหนที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม” นพ.วิฑูรย์ กล่าว
"เงินเรา"เขาแจก!!!..
— thetuk12 (@thetukk12) January 21, 2021
"หนี้เขา"เราแบก???..