ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยกรณีพล.อ.ประยุทธ์ อาศัยในบ้านพักกองทัพบก ไม่ได้กระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์และไม่ได้กระทำผิดจริยธรรมร้ายแรง
— พรรคเพื่อไทย Pheu Thai Party (@PheuThaiParty) December 2, 2020
พรรคเพื่อไทยขอสรุปคำวินิจฉัยของศาล โดยเรียงลำดับตามการอ่านคำวินิจฉัย เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจใน Thread นี้
บ้านพักหลังนี้ ได้ปรับโอนเป็นบ้านพักรับรองฯ ในปี 2555 แล้ว (2)
ผู้มีสิทธิ์เข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรอง ตามระเบียบบ้านพักรับรองกองทัพบก ปี 2548 หากเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบก , เคยทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ , เคยเป็น ผบ.ทบ.แล้ว
กองทัพบกสามารถพิจารณาให้เข้าพักอาศัยเป็นกรณีไปได้ (3)
ตามระเบียบบ้านพักรับรองกองทัพบก จะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นตามความเหมาะสม (4)
ผบ.ทบ.ได้ชี้แจงว่า ขณะ พล.อ.ประยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่งนายกฯ โดย 24 ส.ค.57 ยังเป็น ผบ.ทบ. อยู่ จึงมีสิทธิ์อยู่บ้านพักรับรอง และเมื่อเกษียณ 30 ก.ย.57 ทั้งยังเป็นนายกฯ ก็มีสิทธิ์พักในบ้านพักรับรอง เพราะเคยเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และ ผบ.ทบ. ซึ่งเคยทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ (5)
ไม่ได้อยู่บ้านพักรับรองของทหารบกด้วยตำแหน่งของนายกฯสถานะเดียว ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบก แต่หากเป็นนายกฯ พลเรือน ไม่มีสิทธิ์พักในบ้านพักรับรองของกองทัพบกได้ (6)
ศาลฯระบุว่า ตามระเบียบบ้านพักรับรองกองทัพบก ปี 2548 ให้อำนาจกองทัพบก พิจารณาให้สิทธิ์พักอาศัยในบ้านพักรับรองกับบุคคลที่ย้ายออกจากราชการ/ย้ายออกจากกองทัพบกเป็นกรณีเฉพาะรายได้ (7)
กองทัพบกให้บ้านพักรับรอง พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะเป็นการกำหนดภายหลัง วันที่ 19 มิ.ย.55 ปรับโอนเป็นบ้านพักรับรองกองทัพบก โดยอาศัยอำนาจให้กระทำได้ (8)
กองทัพบก จ่ายค่าไฟฟ้า น้ำประปา พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมตามการใช้งาน ไม่ใช่แค่ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ได้รับประโยชน์เท่านั้น (9)
นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญของประเทศ นอกจากจะเป็นหัวหน้าของคณะรัฐมนตรี ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีหน้าที่ต้องบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ยังมีฐานะเป็นผู้นำของประเทศ ความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งครอบครัวมีส่วนสำคัญ (10)
รัฐมีหน้าที่จัดการดูแลให้ความปลอดภัยแก่นายกฯและครอบครัวตามความเหมาะสมแก่สภาพการณ์ การจัดบ้านพักรับรองที่ปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว สร้างความพร้อมทั้งสุขภาพกายและจิตใจในการปฏิบัติภารกิจในการบริหารประเทศล้วนเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม (11)
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐพึงจัดให้มีที่พำนักแก่ผู้นำของประเทศในขณะที่ดำรงตำแหน่ง (12)
กรณีของประเทศไทย ในอดีตแม้รัฐจะมีการจัดบ้านพักนายกฯ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง เช่น บ้านพิษณุโลก แต่ในปัจจุบันการบำรุงรักษายังไม่พร้อมใช้หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ ดังนั้นเพื่อให้นายกฯปฏิบัติหน้าที่นายกฯ อย่างสมเกียรติ รัฐควรจัดหาให้ (13)
การที่กองทัพบก จัดบ้านพักรับรองให้ตามระเบียบบ้านพักรับรอง ปี 2548 จึงไม่ได้เป็นการกระทำที่นายกฯได้รับเงินจากกองทัพบกที่เป็นหน่วยงานราชการเป็นพิเศษตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ความเป็นรัฐมนตรีของประยุทธ์จึงไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว (14)
พล.อ.ประยุทธ์ ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงฯ หรือไม่ ศาลเห็นว่าเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ อาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบกและสนับสนุนค่าไฟ ค่าน้ำ เป็นไปตามระเบียบกองทัพบก ปี 2548 จึงไม่เป็นกรณีการถือประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ (15)
ไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเอง ไม่เป็นการขอเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดในการที่จะทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฎิบัติหน้าที่ และไม่เป็นการกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม (16)
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบฯ ให้รับได้ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์จึงไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฯ อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ (17)
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 170 วรรคหนึ่ง อนุ 4 ประกอบมาตรา 160 อนุ 5 และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง อนุ 5 ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง อนุ 3) (จบ)
กองทัพบกสามารถพิจารณาให้เข้าพักอาศัยเป็นกรณีไปได้ (3)
ตามระเบียบบ้านพักรับรองกองทัพบก จะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นตามความเหมาะสม (4)
ผบ.ทบ.ได้ชี้แจงว่า ขณะ พล.อ.ประยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่งนายกฯ โดย 24 ส.ค.57 ยังเป็น ผบ.ทบ. อยู่ จึงมีสิทธิ์อยู่บ้านพักรับรอง และเมื่อเกษียณ 30 ก.ย.57 ทั้งยังเป็นนายกฯ ก็มีสิทธิ์พักในบ้านพักรับรอง เพราะเคยเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และ ผบ.ทบ. ซึ่งเคยทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ (5)
ไม่ได้อยู่บ้านพักรับรองของทหารบกด้วยตำแหน่งของนายกฯสถานะเดียว ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบก แต่หากเป็นนายกฯ พลเรือน ไม่มีสิทธิ์พักในบ้านพักรับรองของกองทัพบกได้ (6)
ศาลฯระบุว่า ตามระเบียบบ้านพักรับรองกองทัพบก ปี 2548 ให้อำนาจกองทัพบก พิจารณาให้สิทธิ์พักอาศัยในบ้านพักรับรองกับบุคคลที่ย้ายออกจากราชการ/ย้ายออกจากกองทัพบกเป็นกรณีเฉพาะรายได้ (7)
กองทัพบกให้บ้านพักรับรอง พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะเป็นการกำหนดภายหลัง วันที่ 19 มิ.ย.55 ปรับโอนเป็นบ้านพักรับรองกองทัพบก โดยอาศัยอำนาจให้กระทำได้ (8)
กองทัพบก จ่ายค่าไฟฟ้า น้ำประปา พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมตามการใช้งาน ไม่ใช่แค่ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ได้รับประโยชน์เท่านั้น (9)
นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญของประเทศ นอกจากจะเป็นหัวหน้าของคณะรัฐมนตรี ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีหน้าที่ต้องบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ยังมีฐานะเป็นผู้นำของประเทศ ความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งครอบครัวมีส่วนสำคัญ (10)
รัฐมีหน้าที่จัดการดูแลให้ความปลอดภัยแก่นายกฯและครอบครัวตามความเหมาะสมแก่สภาพการณ์ การจัดบ้านพักรับรองที่ปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว สร้างความพร้อมทั้งสุขภาพกายและจิตใจในการปฏิบัติภารกิจในการบริหารประเทศล้วนเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม (11)
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐพึงจัดให้มีที่พำนักแก่ผู้นำของประเทศในขณะที่ดำรงตำแหน่ง (12)
กรณีของประเทศไทย ในอดีตแม้รัฐจะมีการจัดบ้านพักนายกฯ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง เช่น บ้านพิษณุโลก แต่ในปัจจุบันการบำรุงรักษายังไม่พร้อมใช้หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ ดังนั้นเพื่อให้นายกฯปฏิบัติหน้าที่นายกฯ อย่างสมเกียรติ รัฐควรจัดหาให้ (13)
การที่กองทัพบก จัดบ้านพักรับรองให้ตามระเบียบบ้านพักรับรอง ปี 2548 จึงไม่ได้เป็นการกระทำที่นายกฯได้รับเงินจากกองทัพบกที่เป็นหน่วยงานราชการเป็นพิเศษตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ความเป็นรัฐมนตรีของประยุทธ์จึงไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว (14)
พล.อ.ประยุทธ์ ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงฯ หรือไม่ ศาลเห็นว่าเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ อาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบกและสนับสนุนค่าไฟ ค่าน้ำ เป็นไปตามระเบียบกองทัพบก ปี 2548 จึงไม่เป็นกรณีการถือประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ (15)
ไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเอง ไม่เป็นการขอเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดในการที่จะทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฎิบัติหน้าที่ และไม่เป็นการกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม (16)
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบฯ ให้รับได้ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์จึงไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฯ อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ (17)
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 170 วรรคหนึ่ง อนุ 4 ประกอบมาตรา 160 อนุ 5 และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง อนุ 5 ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง อนุ 3) (จบ)