เอา !— kovitw (@kovitw1) July 2, 2019
กกต. ตีตก 5 คำร้องรวดของ“เรืองไกร” ทั้งเสนอชื่อ “บิ๊กตู่” บัญชีนายกฯ ใช้สื่อออนไลน์ไม่เข้าข่ายเป็นกิจการสื่อ ไม่เป็นจนท.อื่นของรัฐ ระดมทุนโต๊ะจีน 3 ล้านแพงแต่ไม่ได้แสวงหากำไร “อุตตม” นั่งหัวหน้าพรรคก่อนเป็นสมาชิก ก็ไม่ผิดไร้เหตุยุบพรรค🤡 pic.twitter.com/pOHkKvJN0A
เลขาฯ กกต. ชี้ไม่ยุบ พปชร. ปมระดมทุนโต๊ะจีน - ย้ำ 'ประยุทธ์' ไม่ขัดคุณสมบัตินายกฯ#voiceonline https://t.co/ms8KYy22bP— Voice Online (@VoiceOnlineTH) July 2, 2019
เลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งผลคำร้อง 5 ประเด็น ไม่สั่งให้ยุบ พปชร. ในข้อหาระดมทุนโต๊ะจีน 3 ล้านบาท - ประยุทธ์ ไม่ขัดคุณสมบัตินายกฯ - อุตตมเป็นหัวหน้าพรรคโดยชอบ - ประยุทธ์ ไม่เป็นเจ้าของสื่อ
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีหนังสือลับ ที่ ลต (ทบพ.) 0015/963 ลงวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา แจ้งผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนถึงนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ในฐานะผู้ยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบการคัดเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ มิได้เป็นไปตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ และขอให้ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชารัฐ
โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบใน 5 ประเด็น โดยประเด็นแรกชี้แจงว่า เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าในวันที่ 8 ก.พ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรคพลังประชารัฐแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรคพลังประชารัฐมีมติเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็ฯชอบแต่งตั้งเป็นนายกฯ ของพรรคพลังประชารัฐต่อ กกต. ตามแบบ ส.ส.4/29 โดยมีหนังสือยินยอมของ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกฯ ตามแบบ ส.ส.4/30 ลงวันที่ 8 ก.พ. 2562 อันเป็นการดำเนินการตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ.2561 ข้อ 91 แล้ว ดังนั้นการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ของพรรคพลังประชารัฐจึงชอบด้วยข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ และมาตรา 14 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 และระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561
ประเด็นที่สอง พล.อ.ประยุทธ์เป็นข้าราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งต้องห้ามมิให้เสนอชื่อเป็นนายกฯ หรือไม่ กรณีดังกล่าว กกต.ได้พิจารณามีมติแล้วว่า การประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมาย เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561
ประเด็นที่สาม กกต.ได้พิจารณาแล้วมีมติว่ากรณี พล.อ.ประยุทธ์ได้เปิดเฟซบุ๊กชื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha อินสตาแกรม (ไอจี) Prayut Chan-o-cha ทวิตเตอร์ Prayut Chan-o-cha รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว www.Prayutchan-o-cha.com ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. 2561 ยังไม่ถือว่าเข้าข่ายการเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนใด อันมีผลเป็นการเข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (3) และมาตรา 264
ประเด็นที่สี่ การจัดกิจกรรมระดมทุนด้วยการขายโต๊ะจีนในราคาโต๊ะละ 3 ล้านบาทนั้น กรณีการจัดกิจกรรมระดมทุนนั้นเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 64 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินมาใช้กิจการของพรรคการเมือง แม้การขายโต๊ะจีนของพรรคพลังประชารัฐจะมีราคาสูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรมระดมทุนในการสนับสนุนกิจกรรมระดมทุนในครั้งนั้นๆ ทั้งกฎหมายก็ได้จำกัดวงเงินของผู้สนับสนุนกิจกรรมระดมทุนไว้ ดังนั้น แม้การขายโต๊ะจีนจะมีราคาสูงก็มิใช่เป็นการขายสินค้าในลักษณะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน ยังไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมือง
ประเด็นที่ห้า การที่นายอุตตม สาวนายน ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ยังมิได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 นั้น การจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐมีผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามจำนวนไม่น้อยกว่า 500 คน ประชุมร่วมกันไม่น้อยกว่า 250 คนเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2561 เลือกนายอุตตม ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐลำดับที่ 1 เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2561 นายอุตตมได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง
และวันที่ 7 พ.ย. 2561 นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของ กกต. ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐไว้ในทะเบียนเลขที่ 23/2561 อีกทั้งเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 นายอุตตม สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองตามที่กฎหมายกำหนดประกอบกับ กกต.เคยตอบข้อสอบถามของพรรคอนาคตใหม่ โดยเห็นว่า ผู้ที่เข้าชื่อร่วมกันเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองและเป็นผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองจะเป็นสมาชิกต่อเมื่อได้ชำระค่าบำรุงพรรคการเมือง ตามมาตา27 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จึงจะเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ดังนั้นการเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐของนายอุตตม จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และยังไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมือง
(https://www.voicetv.co.th/read/UZ68z6iLG)
..
บิดเบือนแม้แต่กฎหมายที่พวกตัวเองเขียนขึ้นมาเอง#ทุรชน https://t.co/i9Dzb4DFKh— independence (@redbamboo16) July 2, 2019