วันศุกร์, เมษายน 12, 2562

อียูอาจทบทวนความสัมพันธ์กับไทย ที่กล่าวหาอียู "แทรกแซงกิจการภายใน" ซึ่งถือว่าเป็นคำพูด"#ไม่เป็นมิตร"





#อียูอาจทบทวนความสัมพันธ์กับไทย

เช้านี้ นักการทูตสหภาพยุโรป(EU)กล่าวกับข้าพเจ้า แสดงความรู้สึกผิดหวังต่อคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศไทย ที่กล่าวหาอียู"แทรกแซงกิจการภายใน" อีกทั้งคำกล่าวของผู้นำรัฐบาลทหารของไทยที่ว่า"#ไม่แน่ใจเป็นทูตจริงหรือไม่" ต่อกรณีคณะทูตไปร่วมสังเกตการณ์การรับทราบข้อกล่าวหาของ"ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ณ สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งถือว่าเป็นคำพูด"#ไม่เป็นมิตร"
อาจส่งผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างชาติยุโรปกับไทยในหลายด้าน

อีกทั้งเตือนสติให้รู้ว่า สหภาพยุโรปเป็นคู่เจรจาอันเก่าแก่นับตั้งแต่1972 กับอาเซียน(สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้)
ซึ่งตอนนั้น สหภาพยุโรปคือ"ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป"(European Economic Communityหรือ อีอีซี)
โดยไทยมีฐานะเป็นประธานอาเซียนประจำปีนี้

นอกจากนี้
สิ่งที่คนไทยทั่วไปไม่รู้
ภายหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2014 จนถึงบัดนี้ ความสัมพันธ์ของสหภาพยุโรปกับไทยหลายด้านยังไม่เข้าสู่ขั้นปกติเหมือนสมัยการปกครองประชาธิปไตยที่มีรัฐบาลพลเรือน

ซึ่งตามกำหนด
วันที่ 23--24 เมษายนนี้ Jean-Christophe Bellard(นักการทูตฝรั่งเศสเกิดที่โมรอคโค วัย59) รองประธานกิจการการเมืองต่างประเทศ (Deputy Secretary General for Political Affairs of the European External Action Service (EEAS)จะเดินทางมาไทย เพื่อหารือกับฝ่ายไทยเรื่อง"ปรับความสัมพันธ์เป็นขั้นปกติ"

นอกจากนี้
วันที่ 23--24 พฤษภาคม เพียงหนึ่งวันหลังครบรอบ5ปีรัฐประหารยึดอำนาจในไทย
Pedro Serrano(นักการทูตสเปน วัย57)รองประธานด้านความมั่นคงร่วมนโยบายกลาโหมและการตอบสนองวิกฤตการต่างประเทศ (Deputy Secretary General for Common Security and Defence Policy and Crisis Response at the European External Action Service)ก็มีแผนมาไทย เพื่อหารือปัญหาที่เกี่ยวข้องและสนใจร่วมกัน

ก็อาจต้อง"ทบทวน"หรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

(สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)


Sa-nguan Khumrungroj

ooo



Supalak Ganjanakhundee
17 hrs

Interest of non-interference

เมื่อวาน (10/4) น้องนักข่าวจากสำนักข่าวญี่ปุ่น ถามคำถามน่าสนใจว่า การเรียกผู้แทนทางการทูตไปรับบันทึกช่วยจำที่กระทรวงการต่างประเทศในกรณีธนาธรเกี่ยวข้องกับ Vienna Convention ที่ว่า พวกเขามีสิทธิไปสังเกตการณ์แค่คดีที่เกิดขึ้นกับพลเมืองของตัวเท่านั้นใช่หรือไม่

ตอนนั้นคุยกันแค่สั้นๆ เลยตอบเธอไปว่า หลักการหลายอย่างใน Vienna Convention ได้รับการ modified มาเยอะแล้ว สถานการณ์ภายในอันใดที่อาจจะกระทบความสัมพันธ์เขาก็อาจจะเข้าไปดูได้ เพราะหลายประเทศในตะวันตกอย่างสหรัฐหรือสหภาพยุโรป เอาหลักการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยใส่ไว้ในนโยบายต่างประเทศและกฎหมายภายในของเขาก็บังคับว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องรายงานเรื่องพวกนี้ด้วย

อันที่จริงตอบเท่านี้เธอก็เข้าใจแหละ แต่เห็นบอกว่าอยากอ่านอะไรที่ยาวกว่านี้หน่อย เดิมตั้งใจว่าจะเขียนบทวิเคราะห์เรื่องนี้ แต่เรื่องอื่นรัดตัวอยู่มาก เลยเอามาต่อตรงนี้อีกหน่อยละกันนะครับ

Vienna Convention ที่ว่านั้นคือ Vienna Convention on Diplomatic Relations ปี 1961 ซึ่งมีข้อใหญ่ในความว่าด้วยหลักการปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตที่น้องพูดถึงและที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอ้างอิงคือ มาตรา 41 วรรค 1 ที่ว่า ในเมื่อมีเอกสิทธิคุ้มกันแล้ว ก็ห้ามเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของรัฐที่ถูกส่งไปประจำการ ถ้อยคำภาษาอังกฤษว่า.....

Article 41 (1) Without prejudice to their privileges and immunities, it is the duty of all persons enjoying such privileges and immunities to respect the laws and regulations of the receiving State. They also have a duty not to interfere in the internal affairs of that State.

เรื่องที่ต้องพิจารณาคือ การที่นักการทูตต่างประเทศและผู้แทนองค์การสหประชาชาติ ไปสังเกตการณ์คดีธนาธรที่สถานีตำรวจปทุมวัน เมื่อวันที่ 6 เมษายนนั้น เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรือไม่

กระทรวงต่างประเทศของไทยเห็นว่าเป็นการแทรกแซงและแสดงออกว่า ให้กำลังใจ (moral support) แก่ธนาธรพูดอีกอย่างหนึ่งนี่คือ ถ้อยแถลงทางการเมืองของสถานทูต “In other word, it was a political act or a political statement on the part of embassies”.

สถานทูตอย่างสหรัฐได้โต้แย้งในประเด็นนี้ว่า นี่เป็นแนวปฏิบัติทางการทูตมาตรฐาน “This is a standard diplomatic practice” ผลประโยชน์ (interest) ของสหรัฐในคดีนี้และอีกหลายกรณี คือการเข้าไปสังเกตการณ์ในกระบวนการยุติธรรมของไทย เพื่อให้ได้รับข้อมูลปฐมภูมิว่า ไทยปฏิบัติอย่างไร

โฆษกสถานทูตสหรัฐ ส่งถ้อยแถลงนี้ให้นักข่าวหลายสำนักเมื่อวาน ไม่ได้อ้าง Vienna Convention ตรงๆอย่างกระทรวงต่างประเทศ แต่เราสามารถพบหลักการนี้ใน มาตรา 3 วรรค 1 ข้อ บี ที่ว่านักการทูตทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนตัวเองในประเทศที่ถูกส่งไปประจำการภายใต้ขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ (โปรดสังเกตว่า ไม่ใช่กฎหมายภายใน) “Protecting in the receiving State the interests of the sending State and of its nationals, within the limits permitted by international law;

เรื่องที่ต้องวินิจฉัยคือ ธนาธรเป็นผลประโยชน์อะไรของสหรัฐหรือว่าเป็นพลเมืองสหรัฐ หรือ จึงทำให้นักการทูตสหรัฐได้สิทธิในการเข้าไปสังเกตการณ์คดีนั้นได้

ในเบื้องต้นมองเผินๆอาจจะดูว่าไม่ใช่ แต่มีข้อเท็จจริงและหลักการบางประการที่ควรตระหนักคือว่า ปัญหาสิทธิมนุษยชนนั้นก็เป็นหลักการพื้นฐานของมนุษยชาติทั้งมวล สหประชาชาติมีปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องนี้อยู่แล้ว และหลักการนี้ได้ฝังตัว (embedded) อยู่ในนโยบายต่างประเทศของหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐ การกระทำใดๆที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เช่น รัฐประหาร เป็นเหตุให้ลดระดับหรือตัดความสัมพันธ์กันได้ ถ้าจะจำกันได้ สหรัฐเคยตัดความช่วยเหลือทางทหารหลังรัฐประหาร และ อียู ไม่ต้อนรับผู้แทนทางการเมืองของไทยหลังรัฐประหารและไม่ส่งผู้แทนระดับสูงของเขามาเยือนไทยอยู่พักหนึ่ง เรื่องที่จะทำกันเช่น FTA ยังต้องพักเอาไว้ก่อน เรื่องนี้จึงกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

และในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย (แม้แต่ฉบับคสช.) ก็รับรองหลักสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย (ถึงจะเขียนเอาไว้โก้ๆก็เถอะ)

อีกประการหนึ่ง การดำเนินคดีนั้นจะต้องเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโดยเปิดเผย หมายความว่า ใครๆก็เข้าไปสังเกตการณ์ได้

สำหรับประเทศจากซีกโลกตะวันตก อย่างสหรัฐและอียู แล้วนั้นปรากฏด้วยว่า หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของนักการทูตของเขาคือ รายงานเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ดังปรากฏว่าทั้งสหรัฐและอียู ต้องทำรายงานนี้กันทุกปี ข้อมูลส่วนหนึ่งก็ไปจากการทูตนี่แหละ การกระทำแบบนี้ได้ยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว โดยหน้าที่เขาจึงต้องส่งคนไปดูคดีของธนาธร

หลักสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นหลักการใหญ่ระดับโลกในหลายกรณี overrule หลักการ non-interference ไปเลยก็มี ไม่เช่นนั้นสหประชาชาติคงเข้าไปขัดขวางการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่ได้ ไม่ควรมีประเทศใดอ้างหลัก non-interference เพื่อข่มเหงประชาชนของตัวเองได้ใช่มั้ย น้องเอ

ภาพประกอบ: UNHQ New York