โมเดลเดิม! จาก ‘ผังล้มเจ้า 53’ สู่ ‘แผนชังชาติ 62’ ปฏิบัติการ ‘ซ้ายจัด-ขวาพิฆาต’
Apr 5, 2019
Voice TV
ระยะเวลา 6 เดือน ที่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ กับตำแหน่ง ผบ.ทบ. และ เลขาธิการ คสช. มีเรื่องราวที่สะเทือนไปทั้ง ทบ. และร้อนออกมานอกรั้ว ทบ. ไปถึงบรรดานักการเมือง ในช่วงที่ ‘คสช. ลงหลังสือ’ รวมทั้งอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
เริ่มจากการไม่รับประกันว่าจะมี ‘ปฏิวัติ-รัฐประหาร’ อีกหรือไม่ ? โดย พล.อ.อภิรัชต์ มองว่าสาเหตุมาจากการเมืองและการจลาจล แต่ก็ได้ ‘บิ๊กกบ’ พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผบ.ทหารสูงสุด มาช่วยทำให้สถานการณ์เย็นลง โดยชี้ว่าเป็น ‘แผนเผชิญเหตุสุดท้าย’ เท่านั้น
ต่อมาเมื่อ ‘ปี่กลองการเมือง’ เริ่มดังขึ้น กองทัพตกเป็นเป้าโจมตีหนักขึ้น ด้วยการเลือกตั้งครั้งนี้เปรียบเป็น ‘สงครามตัวแทน’ ระหว่างเอาและไม่เอา คสช.
โดยมีพรรคตัวแทน 2 พรรคใหญ่ คือพรรคเพื่อไทย-พรรคพลังประชารัฐ สถานการณ์ต่างๆทำให้ พล.อ.อภิรัชต์ ย้ำว่า ‘อย่าล้ำเส้น’ ให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ ย้ำถึงความเป็นกลางของกองทัพ
แต่ดูเหมือนยิ่งใกล้เลือกตั้งก็ยิ่งร้อนขึ้นอีก พรรคเพื่อไทยจุดประเด็นหาเสียงเรื่องการ ‘ปฏิรูปกองทัพ’ ทั้งเสนอตัดลงงบกองทัพ - ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร รวมทั้งสถานการณ์ ‘บิ๊กเซอร์ไพรส์’ ที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘เพลงหนักแผ่นดิน’ ขึ้นมา
2 สัปดาห์ก่อนเลือกตั้ง พล.อ.อภิรัชต์ ได้นำ ผบ.หน่วยคุมกำลังถวายสัตย์ปฏิญาณตน เบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ที่ บก.ทบ. ก่อนร่วมประชุมหน่วยขึ้นตรง ทบ. วาระพิเศษ ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่การกล่าวปฏิญาณตนในข้อที่ 2 “ข้าพเจ้าในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะสนับสนุนรัฐบาลที่ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความจงรักภักดี และมีธรรมาภิบาล”
พร้อมทั้งได้มอบประกาศนียบัตร พล.ท.ปกิจ ผลฟัก ในฐานะผู้บังคับกองร้อยรักษาความสงบ กกล.รส.ปราจีนบุรี สังกัด มทบ.12 จ.ปราจีนบุรี ที่ถูก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ต่อว่า หลังลงพื้นที่ติดตามขณะหาเสียง โดยได้ชื่นชม - ยกเป็นตัวอย่างถึงความอดทนอดกลั้น พร้อมย้ำถึงเกียรติและศักดิ์ศรีทหารที่ผ่านเบ้าหลอมเดียวกันมา รวมทั้งการมีสมบัติผู้ดีของทหาร
วันเลือกตั้ง 24 มี.ค.นั้น พล.อ.อภิรัชต์ พร้อม ‘อ.อ้อ’ รศ.ดร.กฤติกา คงสมพงษ์ ภริยา และ ‘หมอเพลิน’ ร้อยเอกแพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์ บุตรสาว มาเลือกตั้ง ย่านประชาชื่น ซึ่งให้สัมภาษณ์ถึงการน้อมนำพระบรมราโชวาท รัชกาลที่ 9 ผ่านประกาศสำนักพระราชวัง เมื่อคืน 23 มี.ค. ว่า “เรียกว่าเป็นสิ่งที่ดีๆ ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเตือนจิตใจให้กับคนไทยทุกคนอีกครั้งหนึ่ง โดยน้อมนำพระบรมราโชวาท รัชกาลที่ 9 เอามาเตือนสติ ทำให้เช้านี้รู้สึกสดชื่น” พร้อมย้ำถึงบทบาทกองทัพช่วงการจัดตั้งรัฐบาลว่าวางตัวเป็นกลางและสบายๆ
แต่สถานการณ์หลังเลือกตั้งกลับไม่ง่ายเช่นนั้น การทำหน้าที่ของ กกต. กลับถูกตั้งคำถามส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ รวมทั้งระบบการคำณวนที่นั่งในสภาไม่นิ่งและสะเด็ดน้ำ ทำให้เกิดแรงงัดข้อระหว่างพรรคเพื่อไทย-พลังประชารัฐ ในการอ้างความชอบธรรมระหว่าง ‘เก้าอี้ ส.ส. – Popular Vote’ เกิดขึ้น
แม้พรรคเพื่อไทยจะชิงความได้เปรียบฟอร์มทีมจับมือ 7 พรรคได้เก้าอี้เกินครึ่งหนึ่งของสภา ส.ส. ซึ่ง พล.อ.อภิรัชต์ ก็ได้เบรกฝันนี้ของขั้วพรรคเพื่อไทย โดยชี้ว่าจากประสบการณ์ ‘สัตยาบัน’ เขียนขึ้นก็ฉีกได้
“สัตยาบันที่ทำกันตั้งแต่สมัย 2534 มีนักการเมืองหลายท่านลงสัตยาบันกัน ทั้งนายมนตรี พงษ์พานิช อดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ลงสัตยาบันจะตั้งพรรคการเมืองกัน และจะตั้งรัฐมนตรีกัน ท้ายที่สุดแล้วก็ฉีกสัตยาบันทิ้ง นี่คือวาทะการเมือง เกมของการเมือง เป็นกิจกรรมเป็นของทางการเมือง ซึ่งถูกชี้นำแนะนำโดยนักการเมืองแบบเดิมๆ หรือพวกซ้ายตกขอบ” พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว
แต่ปัจจัยการเมืองยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะ ‘พรรคตัวแปร’ อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยก็ยังไม่ได้ประกาศจุดยืนชัดจะเดินต่อไปอย่างไร ?
โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่เสียงแตกเป็น 2 สาย ระหว่างสายที่ไม่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ และต้องการให้พรรคเป็น ‘ฝ่ายค้านอิสระ’ กับสาย กปปส.เดิม ที่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ เต็มที่
ส่วนพรรคภูมิใจไทย ก็มี ‘เสี่ยหนู’อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ที่คุมทิศทางได้เป็นเอกภาพ เชื่อกันว่าปรากฏการณ์ช่วงเย็น 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ ‘พรรคตัวแปร’ เหล่านี้ ตัดสินใจอนาคตได้เด็ดขาดมากขึ้น พอเห็นเค้าลางทางการเมือง หลัง 9 พ.ค.นี้ ที่ กกต. จะประกาศผลอย่างเป็นทางการ เพราะตลอดเดือน เม.ย.ที่จะเป็นช่วง ‘สุญญากาศทางการเมือง’ ช่วงพิจารณาข้อร้องเรียนต่างๆ
พรรคอนาคตใหม่มาแรงแซงโค้ง แน่นอนว่าความเป็น ‘ของใหม่’ ย่อมมี ‘คนปลื้ม’ และ ‘จับผิด’ แถมกระแส ‘ฟ้ารักพ่อ’ ได้แปรมาเป็นคะแนนเสียง ทำให้พรรคอื่นๆ รวมทั้ง คสช. มีอาการหวั่นไหวไม่น้อย เพราะพรรคอนาคตใหม่มีจุดยืนชัดไม่เอา คสช. ต่อต้านการสืบทอดอำนาจ การได้เก้าอี้ ส.ส. มาเป็นอันดับ 3 แซงพรรคประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย ทำให้เกมนี้ขั้วพรรคเพื่อไทยได้เปรียบมากขึ้น แม้พรรคไทยรักษาชาติจะถูกยุบไปก็ตาม
แต่ก็ต้องเผื่อใจเช่นกันเพราะคะแนนที่พรรคอนาคตใหม่ได้ ก็ถูกมองว่าเป็น ‘คะแนนสวิง’ จากพรรคไทยรักษาชาติ เพราะมีหลายเขตที่เพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัครส.ส. แต่พรรคไทยรักษาชาติส่ง เมื่อถูกยุบ จึงทำให้แต้มไปหาอนาคตใหม่แทน จึงเป็นสูตรที่เรียกกันว่า ‘เลือกตามยุทธศาสตร์’ นั่นเอง
ทำให้พรรคอนาคตใหม่ถูกโจมตีจากฝั่งที่ต่อต้านขั้วพรรคเพื่อไทยขึ้นมาทันที สิ่งที่พรรคอนาคตใหม่ นำโดย ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’หน.พรรค และ ‘ปิยบุตร แสงกนกกุล’เลขาธิการพรรค ถูกโจมตีถึงเรื่องความจงรักภักดี ทำให้อุณหภูมิทางการเมืองหลังเลือกตั้งร้อน ยิ่งกว่าก่อนเลือกตั้ง หลัง พล.อ.อภิรัชต์ มองว่าเป็นกลุ่มที่มีแนวคิด ‘ซ้ายจัด ดัดจริต’ นั่นเอง
“เราอยู่กันแบบไทยๆ นี่คือวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ขอให้รักกัน จะไปร่ำไปเรียนที่ไหนมา ไปเอาตำราประเทศไหน ไม่อยากจะเอ่ยชื่อเอาของเขามาแล้วมาดูด้วย ว่าควรจะมาดัดแปลง แต่ไม่ใช่พยายามจะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข อย่าไปเอาความซ้ายจัดที่ไปเรียนมา แล้วมาดัดจริต” พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว
อย่าลืมว่า พล.อ.อภิรัชต์ ได้กล่าวถึงบทบาทกองกัพกับสถาบันสำคัญของชาติมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ผบ.ทบ. อีกทั้ง ‘สถานะพิเศษ’ ของ พล.อ.อภิรัชต์ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกถ้อยคำและท่าทีมีความสำคัญ ที่ต้องมองอย่างลุ่มลึกและละเอียด เพื่อมองภาพทางการเมืองทั้งหมด
“รัฐบาลผลัดเปลี่ยนไป แต่องค์พระมหากษัตริย์ต้องอยู่คู่ฟ้าคู่แผ่นดินไทยไปตลอด นี่คือหน้าที่ของกองทัพบก และผมจะปกป้องสถาบันด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมมี” พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561
“I am a professional soldier. I am neutral. I will stand with the Monarchy until I die. (เป็นทหารอาชีพ เป็นกลาง อยู่เคียงข้าง ปกป้องสถาบันกษัตริย์ ตราบจนวันตาย)" พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวกับสื่อต่างชาติ 2 เม.ย. 2562
ทั้งนี้สิ่งที่ พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวสอดรับกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ออกสารจากนายกฯ โดยชี้ว่า มีผู้ไม่หวังดีบางคน บางกลุ่ม บิดเบือนข่าวสารข้อเท็จจริงในหลายๆประเด็น มีการใช้โซเชียลมีเดียและใช้บุคคลบางกลุ่มเข้ามาปลูกฝัง แนวคิดที่ไม่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อมุ่งหวังให้บ้านเมืองเกิดความไม่สงบและบ่อนทำลายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ซึ่ง พล.อ.อภิรัชต์ ระบุว่า ตนนอนคิดมาถึง 2 คืน ก่อนจะมาแถลงข่าวเมื่อ 2เม.ย. ตอนแรกตั้งใจจะมาเป็นแผ่นกระดาษ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ออกสารจากนายกฯ ออกมาก่อน จึงขอให้สัมภาษณ์สื่อแทน อีกทั้งได้ให้สำนักงานเลขานุการ ทบ. ได้เชิญสื่อต่างประเทศมาในช่วงบ่าย แยกจากสื่อไทย ในการให้สัมภาษณ์ด้วยถึงท่าทีต่อการเมือง ซึ่ง พล.อ.อภิรัชต์ ก็ได้ตอบทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยเฉพาะท่าทีต่อการรัฐประหาร
โดยย้ำรัฐประหารไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยรัฐบาลกำลังเดินไปได้ดี หวังว่าคนไทยไม่ต้องออกมาประหัตประหารต่อสู้กันอีก พร้อมยกอดีตสมัยผู้เป็นบิดา ‘บิ๊กจ๊อด’ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ อดีตประธาน รสช. ที่ตนเคยเห็นมา พบว่านักการเมือง หอบลูกเมียไปอยู่ต่างประเทศ รอประเทศสงบแล้วกลับมา มีแต่ประชาชน-ทหารสูญเสีย พร้อมชี้ถึง ‘ต้นเหตุรัฐประหาร’ แตกต่างกันแต่ละยุค ไม่ได้เกิดจากการเมืองเสมอไป
แต่จุดสำคัญคือรัฐบาลคุมสถานการณ์ไม่ได้ ประชาชนต่อสู้ล้มตาย ตนขอถามจะให้กองทัพยืนดู ‘สงครามกลางเมือง’ เกิดขึ้นหรือไม่ แต่ใช่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร เพราะมีลำดับขั้นต่างๆอยู่ก่อนแล้ว ทั้งการประกาศภาวะฉุกเฉิน กฎอัยการศึก ก็น่าจะพอแล้ว
ล่าสุดมีการเปิดแคมเปญล่ารายชื่อถอดถอน พล.อ.อภิรัชต์ ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทบ. ขึ้นด้วย ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ไม่ได้ห่วงในเรื่องนี้ โดยย้อนถามว่า มีระเบียบหรือไม่ ถ้ามีระเบียบ ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาและระเบียบ กฎ ข้อบังคับที่มีอยู่ มีการวางมาตรการไว้หมดแล้ว จึงไม่สามารถมาล่ารายชื่อปลดได้
ส่วนเพราะเป็นตำแหน่งที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จึงไม่สามารถถอดถอนได้ใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวสั้นๆอย่างชัดเจนว่า “ใช่”
ซึ่ง พล.อ.อภิรัชต์ ก็ไม่ได้หวั่นกับกระแสการล่ารายชื่อนี้แต่อย่างใด ต่อที่ประชุมหน่วยขึ้นตรง ทบ.
"ขอให้ปล่อยไปเถอะ เพราะผมโดนมาเยอะแล้ว และผมก็ไม่ใช่นักการเมือง และในทางกฎหมายผมก็ไม่ได้อยู่ในข่ายที่จะถอดถอนได้" พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว
สถานการณ์ในช่วงนี้มีการมองว่า เป็นความพยายามที่จะผลักให้เกิด ‘โมเดล 14 ตุลา 16 - พฤษภาทมิฬ 2535’ เพื่อให้ทหารกลับค่าย ปลุกขึ้นมาอีกครั้ง รวมทั้ง ‘โมเดล 6 ตุลา 19’ เพื่อต่อต้านแนวคิดฝ่ายซ้ายในอดีต
อย่าลืมว่าเรื่องความจงรักภักดีถูกใช้เป็น ‘เครื่องมือทางการเมือง’ มาทุกยุคทุกสมัย
รวมทั้งเป็น ‘ข้ออ้าง’ ในการปฏิวัติรัฐประหาร หรือแม้แต่การใช้กำลังต่างๆ
เช่นในปี 2553 ก็มีการออก ‘ผังล้มเจ้า’ ของ ศอฉ. ที่สุดท้ายก็ไม่มีหลักฐานชัด เป็นเพียง ‘ผังไร้น้ำหนัก’
แต่ในยุคนี้กลายเป็น ‘แผนชังชาติ’ แทน ที่ปลุกสถานการณ์ ‘ซ้ายจัด-ขวาพิฆาต’ ขึ้นมาอีกครั้ง จากการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ ที่งัดข้อทางกฎหมายและการใช้พลังโซเชียลฯควบคู่ ต้องมาดูกันว่าจะปลุกขึ้นหรือไม่ สถานการณ์ตึงเครียดไม่น้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อภิรัชต์' ย้ำสื่อนอก 'รัฐประหารไม่ได้ทำง่ายๆ' - พาดพิง 'ทักษิณ' มีเงินหนีความผิด
'อภิรัชต์' จวกนักวิชาการอย่าซ้ายตกขอบ - ยอมรับกติกาไปสู้ในสภา
'ไม่มีซ้ายตกขอบ มีแต่ขวาตกขอบ' นักรัฐศาสตร์ตอบโต้ ผบ.ทบ.
เช็คยอดล่ารายชื่อถอดถอน 'ปิยบุตร-ผบ.ทบ.' หลังศึกวิวาทะการเมือง
ส่วนเพราะเป็นตำแหน่งที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จึงไม่สามารถถอดถอนได้ใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวสั้นๆอย่างชัดเจนว่า “ใช่”
ซึ่ง พล.อ.อภิรัชต์ ก็ไม่ได้หวั่นกับกระแสการล่ารายชื่อนี้แต่อย่างใด ต่อที่ประชุมหน่วยขึ้นตรง ทบ.
"ขอให้ปล่อยไปเถอะ เพราะผมโดนมาเยอะแล้ว และผมก็ไม่ใช่นักการเมือง และในทางกฎหมายผมก็ไม่ได้อยู่ในข่ายที่จะถอดถอนได้" พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว
สถานการณ์ในช่วงนี้มีการมองว่า เป็นความพยายามที่จะผลักให้เกิด ‘โมเดล 14 ตุลา 16 - พฤษภาทมิฬ 2535’ เพื่อให้ทหารกลับค่าย ปลุกขึ้นมาอีกครั้ง รวมทั้ง ‘โมเดล 6 ตุลา 19’ เพื่อต่อต้านแนวคิดฝ่ายซ้ายในอดีต
อย่าลืมว่าเรื่องความจงรักภักดีถูกใช้เป็น ‘เครื่องมือทางการเมือง’ มาทุกยุคทุกสมัย
รวมทั้งเป็น ‘ข้ออ้าง’ ในการปฏิวัติรัฐประหาร หรือแม้แต่การใช้กำลังต่างๆ
เช่นในปี 2553 ก็มีการออก ‘ผังล้มเจ้า’ ของ ศอฉ. ที่สุดท้ายก็ไม่มีหลักฐานชัด เป็นเพียง ‘ผังไร้น้ำหนัก’
แต่ในยุคนี้กลายเป็น ‘แผนชังชาติ’ แทน ที่ปลุกสถานการณ์ ‘ซ้ายจัด-ขวาพิฆาต’ ขึ้นมาอีกครั้ง จากการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ ที่งัดข้อทางกฎหมายและการใช้พลังโซเชียลฯควบคู่ ต้องมาดูกันว่าจะปลุกขึ้นหรือไม่ สถานการณ์ตึงเครียดไม่น้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อภิรัชต์' ย้ำสื่อนอก 'รัฐประหารไม่ได้ทำง่ายๆ' - พาดพิง 'ทักษิณ' มีเงินหนีความผิด
'อภิรัชต์' จวกนักวิชาการอย่าซ้ายตกขอบ - ยอมรับกติกาไปสู้ในสภา
'ไม่มีซ้ายตกขอบ มีแต่ขวาตกขอบ' นักรัฐศาสตร์ตอบโต้ ผบ.ทบ.
เช็คยอดล่ารายชื่อถอดถอน 'ปิยบุตร-ผบ.ทบ.' หลังศึกวิวาทะการเมือง