วันศุกร์, ตุลาคม 12, 2561

ศัพย์การเมืองตัวใหม่ "ลอดช่อง" (พวกที่สับสนกับตัวเอง ว่าจะเอา ปชต. หรือไปเป่านกหวีดดี 😂)




ลอดช่อง..ก็คล้ายๆสลิ่ม จะเรียกว่าพวกลูกครึ่ง..ก็ได้
มีมิจฉาทิฎฐิ มีอคติ แต่รู้จักแยกแยะ
ยังไม่ใช่สลิ่มเต็มร้อย..

ถึง..ผู้มีปัญญา
ถลกหนังจิ้งจก..ก็เรื่องหนึ่ง
เด็ดปีกแมลงสาบ..ก็เรื่องหนึ่ง
ไล่ไอ้ตูบ..ก็เรื่องหนึ่ง
...
สาวกนกหวีด..จะเลือกกำนัน หรือ ปชป.ก็ไม่ต่างกันร๊อก..
จะทำให้ สลิ่มกลับใจ..ก็ฝันไปเถอะ
จงมองหาพวกลอดช่อง..(ฮา)



พงษ์ศักดิ์ เกษมพันธ์


Anchalee Kasiwong น่าจะเหมือนพวกที่สับสนกับตัวเอง ว่าจะเอา ปชต. หรือไปเป่านกหวีดดี 😂

ooo





ทำไมเราจึงไม่ควรเชื่อการคาดการณ์ผลการเลือกตั้ง 2562 จากผลการเลือกตั้ง 2554
...........

เมื่อมั่นใจว่ามีการเลือกตั้งต้นปี 2562 จึงมีการคาดการณ์ผลการเลือกตั้ง 2562 ออกมาเป็นจำนวนมาก

เช่น

สิริพรรณ นกสวน
คณิตศาสตร์ของระบบเลือกตั้งและข้อเท็จจริงในการเมืองไทย
https://www.facebook.com/siripan.nogsuansawasdee/posts/2540677465950224

บีบีซีไทย
เลือกตั้ง 2562: พลิกสูตรคำนวณยอด ส.ส. กับยุทธศาสตร์ "แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย
https://www.bbc.com/thai/thailand-45781654?SThisFB

ซึ่งทั้งหมดอาศัยผลจากการเลือกตั้ง 2554 หรือ 8 ปีก่อนหน้านั้น

และอาศัยผลการเลือกตั้งจากระบบเขต ไม่ใช่ระบบบัญชีรายชื่อ

ในปั 2554 พรรคเพื่อไทยได้ คะแนนในส.ส.ระบบเขตทั้งหมด 14,272,771 ขณะที่ในระบบบัญชีรายชื่อ ได้ 15,744,190 ห่างกัน 1,471,419 คะแนน

แค่ตัวเลขหลังเอามาหารเป็นส.ส. 1 คน 7 หมื่นคะแนนก็ได้ เพิ่ม 21 คนแล้ว

หรือถ้านับเป็นสมัยเลือกตั้งคือ 2 สมัยเต็ม ๆ ทั้งนับว่านานและภูมิทัศน์การเมืองไทยก็เปลี่ยนไปอย่างมาก

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราจึงไม่ควรเชื่อการคาดการณ์ผลการเลือกตั้ง 2562 จากผลการเลือกตั้ง 2554

1. เพราะการเลือกตั้ง 2562 เป็นการเลือกตั้งระบบบัตรใยเดียว ซึ่งครั้งสุดท้ายที่ใช้บัตรใบเดียวคือปี 2539 หรือ 23 ปีก่อนหน้านั้น การเลือกตั้ง 4 ครั้งหลังสุดประชาชนเลือกด้วยความคิด "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ" การวิเคราะห์คาดการณ์นั้นจะใช้ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เขตมาคาดการณ์ ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ และถ้าผิดจริง ส.ส.ที่ย้ายพรรค 80 % อาจจะสอบตก แน่นอนว่าพรรคที่เดือดร้อนมากที่สุดคือพรรคพลังประชารัฐนั่นเอง

2. ภูมิทัศน์การเมืองได้เปลี่ยนไปอย่างมากหลังการเลือกตั้ง 2554 โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 2557 ไม่เพียงแต่คนที่เลือกตั้งครั้งแรก 5 ล้านเสียงที่ยังไม่แน่ใจว่าจะออกมาใช้สิทธิ์มากน้อยเพียงใด และจะเลือกใคร ก็อาจจะเป็นตัวแปรได้ รวมทั้งคนที่เคยความหวังกับพรรคการเมืองที่สนับสนุนรับประหารแล้ว "เสียของ" นั้นก็มีไม่น้อย

3. พรรคประชาธิปัตย์แตก เป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปี หลังจากการเกิดขึ้นของกลุ่ม 10 มกราในปี 2530 ซึ่งผลจากการแตกของพรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเสียงต่ำ 100

ในปี 2529 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 99 เสีนง แต่เมื่อเกิดกลุ่ม 10 มกราในปี 2530 ทำให้การเลือกตั้ง 2531 พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียง 48 เสียง ลดลงไปถึง 48.18 %
ในปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 159 เสียง ถ้าได้ต่ำ 100 หมายความว่าจะมีอีก 59 เก้าอี้ให้แย่งกัน

4. การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่จะลงสนามการเมืองครั้งแรก แบ่งเป็น 2 ปี คือยืนตรงข้าม คสช. เช่น พรรคประชาชาติ พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย ฯลฯ กับพรรคยืนฝ่ายเดียวกับ คสช. มีแนวโน้มว่าพรรคยืนฝ่ายเดียวกับ คสช. จะไปดึงคะแนนจากพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าเพื่อไทย ซึ่งเท่ากับว่าความแข็งแกร่งของเพื่อไทยไม่ลดลง ชณะที่พรรคที่ยืนตรงข้าม คสช. ก็มีแนวโน้มที่จะไปดึงคะแนนจากพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่่อไทยเช่นกัน

5.การเติบโตของโซเซียลมีเดีย (พร้อม ๆ กับการลดอิทธิพลลงของสื่อหลัก)

ปัจจุบัน ประชากรไทย มีผู้ใช้อินเตอร์เต 57 ล้านคน
ผู้ใช้มือถือ 55.56 ล้านคน โดยเป็น Active Users สำหรับมือถือ 46 ล้านคน และมีบัญชีเฟสบุค 50.6 ล้านคน ไลน์ 42 ล้านคน ทวิตเตอร์ 12 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2554 ซึ่งผมไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดแต่คิดว่าเฉพาะเฟซบุคซึ่งเป็นสื่อโซเชียล มีเดียหลัก น่าจะเพิ่ม 8-10 เท่า

นี่จะเป็นช่องทางสื่อสารใหม่ที่จะปรากฎผลออกมาที่ผลการเลือกตั้ง

6.นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังสิ้นสุดยุคสมัยอันยาวนานภายใต้ "ภูมิพล คอนเซนซัส" ซึ่งอาจจะเป็นอย่างที่ชาญวิทย์ เกษตรศิริเคยกล่าวไว้ว่า

"อะไรที่ไม่เคยเห็นก็จะได้เห็น อะไรที่เคยเห็นก็อาจจะไม่เห็นอีกต่อไป"


Thanapol Eawsakul

...