ดูเหมือนทีมประยุทธ์จะดีดถูกคีย์ ‘hits
the right cords’ ขณะเดินสายสร้าง Profile หรือคุณค่าส่วนตัวผู้นำในการเจรจาความเมืองกับต่างประเทศ
ระหว่างการประชุมผู้นำเอเซีย-ยุโรปที่กรุงบรัสเซล เบลเยี่ยม ข้อหนึ่งก็คือ
“สนใจเรียนรู้จากเนเธอร์แลนด์ ในด้านการวางแผนระยะยาวในการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเป็นระบบ
รวมถึงการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อป้องกันปัญหาน้ําท่วม” เป็นประเด็นน่าสนใจจากการพบปะแบบทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีของประเทศเดอะเนเธอร์แลนด์
เพราะว่าภายในประเทศสถานการณ์น้ำเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยไม่สามารถจัดการได้
(อย่างน้อยให้ทันท่วงที) อย่าว่าแต่การวางระบบป้องกันภัย ทั้ง ‘น้ำล้น’ และ ‘น้ำแล้ง’ ได้เลยในตลอด ๕ ปีที่ผ่านมา
เมื่อวาน (๑๙ ตุลา) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเพิ่งแถลงถึงสถานการณ์
‘ภัยแล้ง’ ว่าขณะนี้ครอบคลุมบริเวณ
๑๔ อำเภอ ซึ่งมีพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายแล้วราว ๗ แสนไร่
ก่อนหน้านี้สามวันมีประกาศของโครงการส่งน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์เพื่อการเพาะปลูกออกมาว่า
“ขอแจ้งงดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
เพราะปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนอุบลรัตน์มีน้อยไม่เพียงพอ”
ทั้งนี้เพื่อสงวนน้ำไว้ใช้เฉพาะการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ให้เพียงพอตลอดฤดูแล้งเท่านั้น
“จึงขอประกาศแจ้งเตือนให้งดการเตรียมเมล็ดพันธุ์
ลูกปลาหรือลูกกุ้ง ที่จะนำมาใช้ในฤดูแล้งเพื่อป้องกันความเสียหาย
เนื่องจากขาดแคลนน้ำ”
นั่นคือปัจจุบัน “ปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนอุบลรัตน์น้อยกว่าเกณฑ์ปกติค่อนข้างมาก
ทำให้สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ปัจจุบันมีน้ำปริมาณ ๘๔๔.๙๔ ล้าน ลบ.เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๔.๗๕ ของความจุที่ระดับเก็บกัก”
(https://www.matichon.co.th/region/news_1180463, http://www.thaich8.com/news_detail/73785 และ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/816134?fbclid=IwAR2_TfX4h-HzfBbjcGeVverlPCcSiio7GH9P6eIc6htWF6kw_ew6fnNLe4o)
ถ้าความจำไม่สั้น เราเพิ่งผ่านอุทกภัยมาหมาดๆ
ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ ทีมประยุทธ์อ้างกับเนเธอร์แลนด์ว่า
“ต่างเผชิญปัญหาความท้าทายที่ใกล้เคียงกันจากการเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ”
แล้วชวนเขามาร่วมนโยบาย Thailand +1 เอย
ACMECS บ้างละ Thailand 4.0 และ/หรือ EEC งี้ ล้วนเป็นการพล่ามตามเพลงเอาเมื่อสายไปแล้ว ๕ ปี
การที่จะพึ่ง “ความเชี่ยวชาญด้านการชลประทานและการบริหารจัดการน้ําระดับโลกของเนเธอร์แลนด์
โดยมีวิศวกรรมบริหารจัดการน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ดังคำเยินยอที่ใช้ป้อเป็นพิธีการ
นั้นควรจะทำตั้งแต่สามสี่ปีที่แล้ว ที่ไทยก็เผชิญปัญหาน้ำท่วม น้ำไม่พอ
เช่นนี้เสมอมา
อีกสิ่งหนึ่งซึ่งจะต้องเริ่มทำตั้งแต่ริอ่านสร้างโครงการไทยแลนด์
๔.๐ ก็คือการผลิต ‘ทรัพยากรมนุษย์’ อันเป็นข้อเสนอแนะที่ธนาคารโลกชี้ไว้นานนมแล้วและเพิ่งมาตอกย้ำอีกครั้งอาทิตย์ที่แล้ว
เมื่อมีการแถลงรายงาน ‘ดัชนีทุนมนุษย์’
ว่าคุณภาพการศึกษาของไทยยังไม่ได้มาตรฐาน เด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษา
๑๒.๔ ปี จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปีนั้น มีคุณภาพการเรียนรู้เท่ากับการศึกษาเพียง ๘.๖
ปีเท่านั้นเอง
มิใยที่รายงานธนาคารโลกจะระบุว่ารัฐบาลประยุทธ์พยายามให้ความสำคัญในเรื่องนี้
แต่ก็ยังทำไม่พอ หรือทำไม่จริง เพราะ “สำหรับประเทศไทยนั้น
เด็กที่เกิดในวันนี้ จะมีผลิตภาพเพียงร้อยละ ๖๐ ของศักยภาพที่พวกเขาควรจะมี” อยู่ดี
จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมผู้มีอาชีพนักบินจึงหวงแหนสิทธิพิเศษในการได้ที่นั่ง
‘ชั้นหนึ่ง’ เหนือการให้เกียรติ
‘courtesy’ ลูกค้าที่แม้ว่าจ่ายค่าโดยสารชั้นธุรกิจ
แต่ได้รับการเลื่อนขั้นไปนั่งชั้นหนึ่งโดยเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินของสายการบินนั้นเอง
ไม่ว่าจะเป็นกฏระเบียบที่นักบินของสายการบินไทยได้รับมากว่า
๒๑ ปี ดังที่นักบินคนหนึ่งอ้างในโพสต์ของเขาที่ก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างอื้อฉาว
หรือเป็นความจำเป็นที่นักบินสำรอง (ซึ่งดูเหมือนจะไม่ใช่กรณีนี้) จะต้องนอนราบ ๑๘๐
องศา (ในที่นั่งชั้นหนึ่ง) ให้ครบตามชั่วโมงกำหนด “ตามกฏอีกอย่าง เค้าต้องมีการพักผ่อนที่เพียงพอ”
ดังมีคนอ้าง
ไม่ใช่เรื่องที่นักบินของเที่ยวบิน ทีจี
๙๗๑ จากซูริคถึงกรุงเทพฯ ดังกล่าวจะประท้วงไม่ยอมนำเครื่องออกเดินทาง จนผู้โดยสารอื่นๆ
๓๐๐ คนต้องเสียเวลาล่าช้าไปกว่าสองชั่วโมง
และอาจมากกว่านั้นถ้าสองสามีภรรยาที่ได้รับการ ‘อัพเกรด’ ไปนั่งชั้นหนึ่งไม่ยินยอมสละที่นั่งของตน
(อ่านรายละเอียดต่างๆ ได้จาก https://www.thairath.co.th/content/1399796,
https://www.matichon.co.th/politics/news_1186895 และ https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1187322)
นั่นจะเรียกว่าเป็นการฉ้อราษฎร์ หรือ corruption
ในเรื่องของสิทธิก็ว่าได้ ในเมื่อสิทธิ ‘พิเศษ’
ย่อมเอาเปรียบสิทธิพื้นฐานเสมอไป โดยไม่มีลักษณะแห่งความเท่าเทียมใดยืนยันได้
มิใย “ผลสำรวจดัชนีคอร์รัปชันไทยเดือนธันวาคม
๒๕๖๐ ที่ผ่านมา พบว่าความรุนแรงของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในยุครัฐบาล คสช.
เพิ่มขึ้นถึง ๓๗% สูงสุดในรอบ ๓ ปี”
ดังที่คอลัมน์ ‘ลมเปลี่ยนทิศ’
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเอ่ยถึง
โดยที่มูลเหตุแห่งการคอรัปชั่นที่ถูกอ้าง อยู่ในระบบการปกครองและทางปฏิบัติที่คณะรัฐประหารกำหนด
ทว่าวัฒนธรรมแห่ง ‘อำนาจนิยม’ ที่อ้างอิงกฎหมาย ซึ่งไม่ได้มาจากกระบวนการยอมรับและอิงกับประชาชน