วันจันทร์, ตุลาคม 15, 2561
ฉิบหายแระ ถ้า'ยุทธศาสตร์ คสช.' โซ่ล่ามคอประชาชน ไปจนถึงปี 2580 เรียนจากทหารพม่า
'ยุทธศาสตร์ คสช.' โซ่ล่ามคอประชาชน ไปจนถึงปี 2580
ทหารพม่าผู้ปกครองที่อ้างรัฐธรรมนูญมาประชุมสุมหัวกัน
และตั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขึ้นเมื่อปี 2506 ที่มีชื่อว่า
The Long Tern Economic Policies of Burma Socialist Programme
เอกสารนี้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของพม่า
โดยยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของธุรกิจได้มากขึ้น
และรัฐบาลทหารสัญญาว่าจะไม่ยึดมาเป็นของรัฐ
จากนั้นก็ให้ความสำคัญต่อการผลิตทางการเกษตร การประมง
ปศุสัตว์ และป่าไม้เป็นอันดับหนึ่ง
อันดับสองคือการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ
อันดับสามคือเหมืองแร่
โดยท่านนายพลเนวิน บอกประชาชน พม่าว่า
เราจะพัฒนาประเทศของเราไม่ให้เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
เป้าหมายของเราครบ 20 ปีเมื่อใด เราจะเป็นรัฐสังคมนิยม
อุตสาหกรรมก้าวหน้า
ผลกระทบของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีความรุนแรงต่อวิถี
ชีวิตชาวพม่ามีหลายรูปแบบ
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจพม่ามีมากมาย
ปีพ. ศ. 2506 พม่าซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสำคัญ
รวมถึงการค้าส่งออกข้าวธนาคารการทำเหมืองแร่ ไม้สัก
และยางพารา บริษัท เอกชนประมาณ 15,000 แห่งตกเป็นของ
รัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่ขาดทุนปิดกิจการในเวลาต่อมา
รัฐบาลยึดกิจการบริษัทน้ำมันเป็นของรัฐ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1963
รัฐบาลกลางเข้าควบคุมห้างสรรพสินค้าคลังสินค้าและร้านขายส่ง
นำร้านขายของถูก (ร้านธงฟ้า) แต่ไม่มีสินค้าขายถูกนำมาใช้ด้วย
นอกจากนี้ มีการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก
สื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศถูกห้าม หนังสือพิมพ์ที่ต่อต้านรัฐถูกปิด
นักข่าวถูกจับ เพื่อความมั่นคงของประเทศพม่า
ตลาดมืด กลายเป็นตัวจักรที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ
โดยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 80% ของเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากนี้ความแตกต่างของรายได้กลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ
และสังคมที่สำคัญ
ตลอดปี 1960 ของพม่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ลดลงเรื่อย ๆ
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
การส่งออกข้าวลดลงจาก 1,840,000 ตันในปี 2504
เป็น 350,000 ตันในปี พ.ศ. 2510 อันเป็นผลมาจาก
นโยบายสังคมนิยม ลดพื้นที่ผลิตข้าว
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นำมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนพม่า
กลับไปที่ระดับก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ปีพ. ศ. 2531 หนี้สินจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 พันล้านดอลลาร์
ประมาณ 3 ใน 4 ของ GDP ของประเทศ
Narin Sanguansap