วันอังคาร, พฤศจิกายน 08, 2559

แม่โขงตายช้า ๆ และเงียบเชียบ (The Mekong: Slow Death of a River)





แม่โขงตายช้า ๆ และเงียบเชียบ


21 กรกฏาคม 2016
ที่มา มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ประชาชนนับล้านชีวิตที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญเสียแหล่งอาหารหลักในการดำรงชีวิตเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่งและการผันน้ำจากลำน้ำโขง

แม่โขงคือแม่น้ำที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประชากรราว 60 ถึง 70 ล้านชีวิตต้องพึ่งพิงลำน้ำโขงด้านอาหาร การค้า การชลประทาน การคมนาคม และอุปโภคบริโภค แต่วิกฤตการณ์แม่น้ำโขงที่กำลังเกิดขึ้นช้าๆ กลับไม่ได้รับความสนใจในสื่อกระแสหลักมากนัก

สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลและนักพัฒนาทั้งประเทศจีน ลาว และกัมพูชา ขาดความโปร่งใสเรื่องแผนการสร้างเขื่อนหลายแห่ง ทำให้ยากที่จะหาข้อมูลที่หนักแน่นเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนเหล่านั้นได้ ในขณะที่คณะกรรมการลุ่มน้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) องค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดการและจำกัดภัยคุกคามต่อแม่น้ำ ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าไร้ประสิทธิภาพ เว้นแต่เรื่องการผลิตและเผยแพร่รายงานวิจัย

แน่นอนว่ารายงานวิจัยย่อมมีประโยชน์ในการสร้างความตระหนักในแวดวงผู้เชี่ยวชาญและองค์กรภาคเอกชนที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่คณะกรรมการลุ่มน้ำโขงกลับไม่มีอำนาจในการบังคับให้ประเทศสมาชิกดำเนินการตามคำแนะนำได้

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ (Phnom Penh Post) ประเทศกัมพูชารายงานว่าผู้บริจาคที่ไม่พึงพอใจการดำเนินงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำโขงและหยุดสนับสนุนคณะกรรมการฯ ส่งผลให้ คณะกรรมการฯ “สูญเสียเงินกองทุนและพนักงานกว่าครึ่งหนึ่ง” บทความชิ้นดังกล่าวยังรายงานเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการลุ่มน้ำโขงได้กลายเป็น “องค์กรที่ไม่สำคัญ”

ผลกระทบในลาวและกัมพูชา

เพียงการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่งในมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน ลาวก็สามารถรับรู้ได้ถึงผลกระทบ ชาวประมงชาวลาวเรียกร้องมาหลายปีเรื่องระดับน้ำในลำน้ำโขงที่ต่ำผิดปกติ และจำนวนปลาที่จับได้ลดลงอย่างมาก เพราะปลาไม่สามารถอพยพมาทางตอนใต้ได้เนื่องจากโดนกั้นด้วยกังหันผลิตไฟฟ้าของเขื่อน

นอกจากนี้ การก่อสร้างเขื่อนยังกักตะกอนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในแม่น้ำ ปลายน้ำ และปากแม่น้ำ การก่อสร้างเขื่อนในจีนยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ประเทศลาวอีกด้วย





“โครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำทางตอนบนของแม่น้ำโขงของประเทศจีน แสดงให้เห็นว่าลาวสามารถไม่สนใจเสียงคัดค้านจากประเทศทางตอนใต้เกี่ยวกับผลกระทบทางลบจากการสร้างเขื่อน” Brian Eyler รองผู้จัดการโครงการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ Stimson Center กรุงวิชังตัน ดีซี กล่าว

Brian กล่าวว่านักพัฒนาเขื่อนพลังงานน้ำ “สามารถผ่านกฎหมายสิ่งแวดล้อมได้อย่างง่ายดาย และผลิตรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือ”

Eric Baran นักชีววิทยาทางน้ำประจำสถาบัน WorldFish คาดว่าประชากรในประเทศลาวและกัมพูชาราวร้อยละ 60 พึ่งพาการบริโภคปลาเป็นแหล่งโปรตีนเพียงแหล่งเดียว และเขื่อนกั้นลำน้ำโขงของประเทศลาวจะหยุดยั้งการอพยพของปลากว่า 110 สายพันธุ์

การก่อสร้างเขื่อน Lower Sesan 2 ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชาก็ทำให้ปริมาณปลาที่จับได้ของชุมชนในบริเวณนั้นลดลง นำไปสู่การประท้วงของชุมชนที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่ที่จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำไปเหนือเขื่อน ประชาชนหลายพันคนส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย คาดว่าจะสูญเสียทรัพยากรปลาทั้งหมดที่พวกเขาเคยจับได้ เนื่องจากโดนเขื่อทั้งในลำน้ำโขงและแม่น้ำ Sekong ปิดกั้น

Ian Baird ผู้เชี่ยวชาญด้านผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิล คาดการณ์ว่าประชาชนอย่างน้อย 78,000 คนที่อาศัยอยู่เหนือเขื่อน Lower Sesan 2 จะสูญเสียการเข้าถึงทรัพยากรปลาอพยพ โดย Ian Baird ให้สัมภาษณ์กับ Radio Free Asia ว่ายังมีประชาชนอีกนับแสนคนหรืออาจนับล้านคนในประเทศกัมพูชา เวียดนาม ลาว และไทย ที่จะได้รับผลกระทบเนื่องจากการปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลา

บริษัทจากจีน มาเลเซีย และไทย คือบริษัทรับเหมารายสำคัญในการก่อสร้างเขื่อนในประเทศลาว นอกจากนี้ ธนาคารสัญชาติไทยก็ปล่อยสินเชื่อจำนวนมากแก่โครงการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่ง

สามเหลี่ยมลุ่มน้ำโขง

ผลกระทบจากภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฎการณ์เอลนิโญ และการก่อสร้างเขื่อนเหนือลำน้ำของประเทศจีน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนาข้าวบริเวณปากแม่น้ำโขงที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีประชากรอาศัยกว่า 22 ล้านราย และเป็นพื้นที่ส่งออกข้าวอันดับต้นๆ ของโลก

นโยบายของรัฐบาลเวียดนาม “ข้าวมาก่อน” หรือ “rice first” ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2520 เพื่อสนับสนุนให้ชาวนาปลูกข้าวปีละ 3 รอบ แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม โดยชาวนาได้ให้เหตุผลว่าการก่อสร้างเขื่อนเหนือลำน้ำโขงทำให้ปริมาณตะกอนที่ไหลมาถึงปากแม่น้ำลดลงอย่างมาก

เป็นเวลานับพันปีที่ตะกอนเหล่านี้ค่อยๆ สร้างพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แต่ตะกอนที่ถูกกักไว้เหนือเขื่อนและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้พื้นที่กว่า 60 กิโลเมตรถูกคุกคามโดยน้ำเค็ม ชาวนาบางรายเลือกที่จะรับมือโดยเปลี่ยนนาข้าวเป็นนากุ้ง แต่ปริมาณข้าวส่งออกที่ลดลงย่อมหมายถึงรายได้ที่น้อยลงของหลายครอบครัว

แม่โขง ในอนาคต ?

Richard Cronin และ Courtney Weatherby กล่าวในแง่ดีว่า อย่างน้อยที่สุดหลายๆ ปัจจัยรวมกันก็อาจส่งผลให้การก่อสร้างเขื่อนน้อยลง ปัจจัยเหล่านั้นประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเมืองและทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานของโลก และความสนใจของสถาบันหรือรัฐบาลที่สนับสนุนเงินทุนในการหาทางเลือกอื่นทดแทนการก่อสร้างเขื่อนกระแสหลักที่มีผลกระทบรุนแรง

“มีความเป็นไปได้ที่เขื่อนตามแผนจะไม่ถูกสร้าง ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศลาวทบทวนแผนการก่อสร้างเขื่อนทั้ง 9 แห่งในแม่น้ำโขงสายหลัก” รายงานของ Stimson Center ระบุ

รัฐบาลลาวต้องการใช้การผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำเพื่อส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปให้ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” แต่การศึกษาเบื้องต้นของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) พบว่าหากลาวตัดสินใจปรับปรุงเขื่อนในลำน้ำสายย่อยของแม่โขงให้ทันสมัยและเชื่อมต่อการผลิตไฟฟ้าเข้ากับกริดของประเทศ ทางเลือกนี้ก็เพียงพอที่จะเป็นรายได้ในระยะสั้นที่ประเทศลาวต้องการโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง

รายงานของ Stimson Center ยังระบุอีกว่า “อีกประเด็นหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับประเทศจีน ซึ่งทำให้เกิดคำถามถึงความเป็นไปได้ของการก่อสร้างเขื่อนทั้งในลำน้ำโขงสายหลักและสายรองว่าในอนาคตจะมีน้ำเพียงพอที่จะเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าหรือไม่”

จุดเริ่มต้นของลำน้ำโขงอยู่ที่ทิเบต “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้น้ำแข็งบนยอดเขาหิมาลัยละลาย และอาจทำให้ลักษณะการไหลตามธรรมชาติของลำน้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเขื่อนที่สร้างจะสามารถพึ่งพิงการไหลตามธรรมชาติได้หรือไม่ในฤดูแล้ง” รายงานระบุ “หากประเทศต้นน้ำอย่างจีนเลือกที่จะใช้น้ำเพื่อการอื่นนอกจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างก็อาจไม่มีน้ำเพียงพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วง 3 – 4 เดือนที่แห้งแล้งที่สุดของปี”

ชื่อเรื่องดัดแปลงจาก เรื่องสั้น “ภูเขาตายช้าๆ และเงียบเชียบ” โดย แดนอรัญ แสงทอง

ถอดบทความจาก “The Mekong: Slow Death of a River” โดย Dan Southerland เข้าถึงได้ที่ http://www.rfa.org/english/commentaries/river-07082016162730.html
ถอดความโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์

ooo

The Mekong: Slow Death of a River




Map showing the course of the Mekong River through Southeast Asia.


A commentary by Dan Southerland
Source: Radio Free Asia

2016-07-08


Millions of people living along the Mekong River face a possibly irreversible depletion of key food supplies resulting from dam building and other diversions of its waters.

Deforestation upstream along the riverbanks and poor land and water use practices in Vietnam’s downstream Mekong Delta have added to what can only be called a looming crisis.

The Mekong is Southeast Asia’s longest river, with 60 to 70 million people depending on it for food, commerce, irrigation, transportation, and drinking water.

But the river’s slowly developing crisis rarely gains much attention from mainstream Western media.

This is partly because of a lack of transparency from regional governments and developers over plans by China, Laos, and Cambodia to build more dams. It’s not easy to obtain hard data on the dam projects.

And the Mekong River Commission (MRC), a regionally based international body which is supposed to help manage and contain threats to the river, has proven to be ineffective except when it comes to producing research reports.

The reports have been useful in raising awareness among experts and nongovernmental organizations focused on protecting the environment.

But the MRC has no authority to enforce its recommendations.

In late May, the Cambodia-based Phnom Penh Post reported that frustrated donors are turning away from the commission, with the MRC “losing more than half its funds and employees.”

The MRC is “becoming all but irrelevant,” the paper’s correspondent reported.

Impact in Laos and Cambodia

Just to the south of China’s Yunnan Province dams, Laos is already feeling the dams’ impact.

Laotian fishermen have been complaining for several years about lower water levels in the Mekong and a drop in their fish catch.

This is partly due to the loss of fish moving south that are blocked and ground up by the dams’ turbines. The dams also block adult fish trying to migrate upstream, and stop larvae and juveniles trying to swim downstream.

And dams trap sediment needed to enrich the soil in the riverbed and downstream lakes and tributaries.

When it comes to Laos, China’s example has not been helpful.

“China’s construction of hydropower projects on the upper Mekong River…has shown Laos that it can ignore protests from downstream countries about the negative effects of its dams,” says Brian Eyler, deputy director of the Southeast Asia program at the Stimson Center in Washington, D.C.

Eyler says that hydropower developers “can easily skirt environmental laws and produce misleading environmental impact assessments.”

Eric Baran, a marine biologist based in Phnom Penh for the WorldFish Institute, estimates that some 60 percent of the population in Laos and Cambodia rely on fish for their entire daily protein consumption.

The Mekong dams in Laos could cut off natural migratory patterns of more than 110 fish species, Baran says.

In northeastern Cambodia, the Lower Sesan 2 dam, still under construction, has already reduced the fish catch of villagers in the area.

This has triggered widespread protests from villagers who are being displaced due to the inundation of villages upstream from the dam.

Thousands of people, many of them from ethnic minority groups, are expected to lose most of their fish resources because of the dam’s blocking of fish migrating from the Mekong and Sekong Rivers.

Ian Baird, an expert on the impact of dams in Southeast Asia at the University of Wisconsin, estimates that at least 78,000 people living above the Sesan 2 dam site will lose their access to migratory fish.

Baird told Radio Free Asia that on a broader scale “hundreds of thousands of people, or even millions, stand to be impacted in Cambodia and Vietnam as well as in Laos and Thailand, since fish migrations will be affected there.”

The role of Thailand is sometimes overlooked in the development of the Mekong River dams.

Chinese, Malaysian, and Thai companies are leading developers of the dams in Laos. And Thai banks finance some of the projects.

The Mekong Delta

In Vietnam’s Mekong Delta, a combination of drought, climate change, the effects of the El Nino phenomenon, and the impact of upstream Chinese dams is devastating rice crops.

The Delta, home to some 18 million people, is one of the world’s leading rice exporters.

A Vietnamese government “rice first” policy dating back to the mid-1970s that has encouraged farmers to grow three crops of rice per year has turned out to be counterproductive.

Farmers complain, meanwhile, that the dams have greatly reduced the amount of silt, or sediment, that once reached the Delta.

Silt helped to form the Mekong Delta over thousands of years. The loss of silt and rising sea levels have now resulted in salt water reaching nearly 40 miles into the Delta.

Some farmers have coped by raising shrimp in the briny water.

But a reduction in rice exports now means a drop of income for many.

What's next for the Mekong?

On a more positive note, Richard Cronin and Courtney Weatherby argued in a Stimson Center report in October last year that a combination of factors could lead to less dam building.

These factors would include “rising political and financial risks and changing global energy prices” as well as a “new interest from donor governments and institutions in identifying alternatives to destructive mainstream dams…”

“The possibility that not all of the planned dams may go forward,” the authors of the report say, “opens up a new opportunity for Laos to reconsider its current commitment to all nine of its planned Mekong dams.”

The Lao government wants to use its hydropower for electric power exports to other countries, such as neighboring Thailand. Its aim is to become the “battery of Southeast Asia.”

But a preliminary study by the Asian Development Bank (ADB) found that if Laos can upgrade older dams on tributaries of the Mekong and link them with a national grid, this will give Laos the short-term revenues it seeks without further disrupting the river.

“Another China-related factor that may be critical to the viability of dams on the mainstream and major tributaries is the question of future water availability,” says the Stimson report.

The Mekong has its origins in Tibet. “As climate change melts Himalayan glaciers and changes patterns, scientists are questioning the long-term utility of dams that depend on regular flows to operate during the dry season,” the report says.

“Should increasingly water-stressed China prioritize other uses of water in the Upper Mekong over electricity production," the report adds, "the planned mainstream dams in the Lower Mekong might not receive enough water to operate during the driest three or four months of the year."

This is when flows from China are the region's most important source of water, the report says.

Dan Southerland is RFA's executive editor.