The most unequal countries for which Credit Suisse's estimates were available. By comparison, in the UK 23.9% of wealth is controlled by the top 1% while the most equal - Hungary - was at 17.6% Statista/Independent
All the world's most unequal countries revealed in one chart
Britain was the biggest loser in the Global Wealth Report 2016 - by a long way
Source: The Independent
23 November 2016
The global economic recovery since the 2008 crash has failed to reach all levels of society and inequality continues to grow, according to a major report.
Credit Suisse’s Global Wealth Report 2016 identified Russia as the world’s most unequal country, with a staggering 74.5 per cent of the nation’s wealth controlled by the richest 1 per cent of people.
In India and Thailand, the top 1 per cent own nearly 60 per cent of the wealth, while the figure was around 50 per cent for Indonesia and Brazil.
Credit Suisse said the world had been growing more equal from the start of the century until 2008. “The trend reversed after the financial crisis”, its report notes however, and while the most recent data is only provisional it looks set to continue to get more unequal.
Overall, it said wealth inequality was a major issue “in almost every part of the world”. “Our estimates suggest that the lower half of the global population collectively owns less than 1 per cent of global wealth, while the richest 10 per cent of adults own 89 per cent of all wealth, with the top 1 per cent accounting for half of all global assets,” the report notes.
Since its report last year, Credit Suisse identified the US and Japan as the biggest earners in the world in terms of improving household wealth, while Switzerland was once again named the richest country per capita.
And the biggest loser? Thanks to the Brexit vote and the subsequent crash in value of the pound, the UK was ranked as suffering the worst losses in household wealth in the world in the last year.
Credit Suisse estimates that the decision to leave the EU wiped £1.5 trillion from Britain’s collective wealth, and saw the number of US dollar millionaires in the country fall by 406,000. The next biggest loser on this metric, Switzerland, was down just 58,000.
ooo
ไทยติดอันดับ 3 เหลื่อมล้ำสูงสุด จากรายงานประจำปี 2559 ธ.เครดิตสวิส
Mon, 2016-11-28 13:25
ที่มา ประชาไท
จากรายงานความมั่งคั่งโลกปี 2559 โดยธนาคารเครดิตสวิสจัดลำดับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้มากที่สุดโดยวัดจากอัตราความมั่งคั่งที่ถือครองโดยกลุ่มประชากรที่ร่ำรวยที่สุดร้อยละ 1 โดยประเทศที่ติดอันดับ 1 คือรัสเซีย รองลงมาคืออินเดียและไทย ตามอันดับ
28 พ.ย. 2559 รายงานของเครดิตสวิสระบุว่ารัสเซียมีผู้มั่งคั่งส่วนบนสุดร้อยละ 1 ของประเทศถือครองทรัพย์สินมากถึงร้อยละ 74.5 รองลงมาคือประเทศอินเดีย คนร่ำรวยส่วนบนสุดร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินของประเทศร้อยละ 58.4 ตามมาด้วยไทยที่คนร่ำรวยร้อยละ 1 ของประเทศถือครองทรัพย์สินร้อยละ 58
เครดิตสวิสระบุว่าโลกฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 แล้ว แต่แม้จะพ้นจากปัญหาเดิมแต่ก็ยังมีปัญหาใหม่ๆ รออยู่ จากที่ช่วงกลางปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวลงและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นก็อาจจะทำให้อนาคตของอสังหาริมทรัพย์ไม่ขยายตัว
ในแง่การสำรวจอัตราความมั่งคั่งครัวเรือนช่วงปี 2558-2559 พบว่ามีอยู่สองภูมิภาคที่สูงขึ้นคือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่นับรวมจีนมีอัตราความมั่งคั่งครัวเรือนสูงขึ้นร้อยละ 8.3 กับภูมิภาคอเมริกาเหนือสูงขึ้นร้อยละ 2 ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ลดลงรวมถึงจีนที่ลดลงร้อยละ 2.8 โดยเฉลี่ยแล้วทั่วโลกมีอัตราความมั่งคั่งครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.4
เครดิตสวิสระบุว่าโลกเริ่มมีความเท่าเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงราวปี 2543 จนกระทั่งถึงปี 2551 อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าความร่ำรวยมีแนวโน้มจะกระจุกตัวทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ และโดยรวมแล้วปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจถือเป็นปัญหาหลักๆ ในแทบทุกพื้นที่ของโลก
เครดิตสวิสระบุอีกว่าประเทศที่มีความมั่งคั่งโดยรวมเพิ่มขึ้นสูงสุดคือญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยสหรัฐฯ อยู่ที่ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนจีนมีความมั่งคั่งโดยรวมลดลง 680,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อังกฤษเกิดภาวะค่าเงินปอนด์ลดลงหลังจากการโหวตลงประชามติออกจากสหภาพยุโรปทำให้สูญเสียความมั่งคั่ง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในแง่ความมั่งคั่งครัวเรือนอังกฤษก็ลดลงมากที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้คนที่ถูกนับเป็นเศรษฐีในอังกฤษยังมีจำนวนลดลงถึง 406,000 ราย ตามมาด้วยสวิตเซอร์แลนด์ 58,000 ราย และจีน 43,000 ราย
นอกจากนี้ในตารางเกี่ยวกับจำนวนผู้มีรายได้ต่ำระดับล่างสุดยังเปิดเผยให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ที่มีรายได้ต่ำอยู่จำนวนมากในระดับใกล้เคียงกับอียิปต์ และปากีสถาน โดยที่รายงานของเครดิตสวิสระบุเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาว่าคนร่ำรวยระดับสูงสุดร้อยละ 1 ในปัจจุบันมีมูลค่าความมั่งคั่งในครัวเรือนรวมกันครึ่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้คนรวยที่สุดในอัตราส่วนร้อยละ 10 ของโลกมีความมั่งคั่งรวมกันถึงร้อยละ 89 ของความมั่งคั่งทั้งหมด
สำหรับกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ เครดิตสวิสระบุว่าสิงคโปร์ชะลอตัวลงในแง่ความมั่งคั่งนับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาแต่ก็ยังคงความมั่งคั่งโดยรวมไว้ได้ดีอยู่ ขณะที่อินโดนีเซียมีอัตราการเติบโตด้านความมั่งคั่งมากขึ้นอย่างราบรื่นมาตั้งแต่ปี 2551 แม้ค่าเงินของประเทศจะลดลงอย่างมาก
ประเทศอื่นๆ ที่มีการเติบโตดีได้แก่ ชิลี ที่เครดิตสวิสระบุว่ามีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในละตินอเมริกาเทียบกับอาร์เจนตินาและบราซิล โดยวัดจากจีดีพีเติบโตเร็ว อัตราเงินเฟ้อต่ำ และตลาดหุ้นเป็นไปด้วยดี อีกทั้งความมั่งคั่งครัวเรือนก็ดีกว่าอาร์เจนตินาและบราซิล อีกประเทศหนึ่งที่มีแนวโน้มในทางดีถูกระบุว่าเป็น "เสือเอเชีย" คือไต้หวัน เป็นประเทศไม่ได้รับผลกระทบเลยในช่วงวิกฤตการเงินถึงแม้ว่าจะเกิดค่าเงินลดลงหลายปีหลังปี 2553 อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2543-2559 อัตราความมั่งคั่งต่อประชากรวัยผู้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 59 เมื่อวัดจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 95 เมื่อวัดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบคงตัว
เรียบเรียงจาก
All the world's most unequal countries revealed in one chart, The Independent, 23-11-2016
http://www.independent.co.uk/news/world/politics/credit-suisse-global-wealth-world-most-unequal-countries-revealed-a7434431.html
รายงานความมั่งคั่งโลกปี 2559 โดย ธนาคารเครดิตสวิส
http://publications.credit-suisse.com/tasks/render/file/index.cfm?fileid=AD783798-ED07-E8C2-4405996B5B02A32E
.....
มันแสดงว่าระบบการบริหารของประเทศนี้ สุดยอดๆๆๆๆทั้งตัวบุคคลและระบบ
มิตรสหายท่านหนึ่ง