วันจันทร์, พฤศจิกายน 28, 2559

ส่อแววไปไม่รอด!!! สภาอุตสาหกรรมฯชี้เอกชนเมินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล!!!





ส่อแววไปไม่รอด!!! สภาอุตสาหกรรมฯชี้เอกชนเมินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล!!!

BY SARA BAD ON NOVEMBER 26, 2016
ISPACE THAULAND


ดูเหมือนว่าปีแห่งการลงทุนที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจคาดหวังไว้จะไม่เป็นไปตามคาดแล้วจริงๆ เพราะยิ่งใกล้สิ้นปีก็ยิ่งชัดเจนว่าเอกชนยังคงไม่สนใจที่จะลงทุนตามกรอบการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลวางแผนไว้ ล่าสุดประธานสภาอุตสาหกรรมฯก็ออกมาระบุถึงโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ นั้นไม่ได้รับความสนใจจากภาคเอกชน จากปัญหาในหลายด้าน





“คลัสเตอร์” คือ การรวมกลุ่มของธุรกิจและสถาบันที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยมีความร่วมมือ เกื้อหนุน เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างครบวงจร ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) เสริมสร้างศักยภาพด้าน การลงทุนของประเทศไทย และช่วยกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น








ซึ่งรัฐบาลคสช. ได้กำหนดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ หรือเรียกสั้นๆว่า “นโยบายคลัสเตอร์” ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2558 โดยมีการแบ่งรูปแบบคลัสเตอร์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซูปเปอร์คลัสเตอร์ และคลัสเตอร์เป้าหมายอื่นๆ รายละเอียดและสิทธิประโยชน์ดังนี้

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะคณะกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ ให้สัมภาษณ์กับ “น.ส.พ.ฐานเศรษฐกิจ” ว่าแนวนโยบายที่รัฐบาลพยายามเร่งรัดให้เกิดการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ ใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรมคลัสเตอร์





โดยจะได้รับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI แต่จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนกับ BOI ภายในสิ้น2559 และเปิดดำเนินการภายในปี 2560 ซึ่งคณะกรรมการฯได้มีการกำหนดเป้าหมายการลงทุนไว้จะมีไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท โดยเป็นในส่วนของคลัสเตอร์ปิโตรเคมีฯถึง 2.41 แสนล้านบาท





แต่จากการดำเนินงานตลอด 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดการให้สิทธิพิเศษจาก BOI ในสิ้นปีนี้ยังไม่สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยข้อมูลจาก BOI พบว่าในระยะเวลา 9 เดือนของปี 2559 มีนักลงทุนมายื่นขอส่งเสริมการลงทุนเพียง 27 โครงการ เงินลงทุน 2.53 หมื่นล้านบาทและเกือบทั้งหมดเป็นโครงการขนาดเล็กที่มีความพร้อมอยู่แล้ว(ไม่รวมการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย)

ในขณะที่โครงการขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวและก่อสร้างนาน แม้มีความสนใจก็ไม่สามารถขอการสนับสนุนจาก BOIได้ทันตามกำหนด อีกทั้งภาคเอกชนยังมีความกังวลเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ตลาดยังอยู่ในภาวะถดถอย ประกอบกับภาครัฐยังไม่ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการลงทุนในระบบคลัสเตอร์ รวมทั้งเงื่อนไขที่ต้องให้มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่เข้ามาร่วมมือ ซึ่งยากต่อการปฏิบัติของภาคเอกชน

นอกเหนือจากโครงการที่มีการอนุมัติจาก BOI 27 โครงการ ยังมีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไปกว่า 84 โครงการ เงินลงทุนกว่า 5.21 หมื่นล้านบาท แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจาก BOI จึงมองว่านโยบายเร่งรัดลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์นี้ เป็นเพียงแนวคิด นำมาปฏิบัติจริงได้ค่อนข้างน้อย โดยจะมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานหลังสิ้นปีนี้ว่าจะมีการต่อมาตรการ BOI หรือไม่

แปลกความกันง่ายๆว่าจากเป้าหมายการลงทุนแบบคลัสเตอร์ 3 แสนล้านบาท กลับมีการลงทุนจริงเพียงแค่ 2.53 ล้านบาทในระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน แม้ทางสภาอุตสาหกรรมฯจะมีการชี้แจงเหตุผลที่เอกชนไม่สนใจเบื้องต้นไปแล้ว แต่คำถามที่รัฐบาลคสช.ต้องนำไปคิดก็คือ ทำไมเอกชนจึงไม่สนใจลงทุนในโครงการเศรษฐกิจของภาครัฐตามแนวทางปีแห่งการลงทุน ทั้งที่มีการเสนอผลประโยชน์มากกมายเช่นนี้???

จริงอยู่ปัจจัยด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีผลในระดับหนึ่ง แต่ในภูมิภาคอาเซียน หลายประเทศกลับมีอัตราการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของโลก เช่น พม่า เวียดนาม กัมพูชา หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ หรือว่าความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมไปถึงความน่าดึงดูดใจในการลงทุนของไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว???


Reference
http://www.thansettakij.com/2016/11/25/115565