วันพฤหัสบดี, มีนาคม 21, 2567

Update การแปล #จดหมายเหตุปรีดี ว่าไปถึงไหนแล้ว จาก จรรยา ยิ้มประเสริฐ


Junya Yimprasert
March 16 ·

มีคนถามถึงการแปล #จดหมายเหตุปรีดี ว่าไปถึงไหนแล้ว
จดหมายเหตุปรีดี ในเล่มที่ 215 ที่เปิดหอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศของฟรั่งเศส เปิดให้สาธารณชนได้เข้าถึงตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 นั้น

ทางเรา จรัล จอม ไฟเย็น จรรยา และ Yan และนักเรียนไทยในฟรั่งเศส ได้ไปนำไฟล์เอกสารมา แล้วก็ทำงานร่วมกับอาสาสมัครกว่า 10 คน เพื่อทำการถอดความภาษา และทำการแปลทางดิจิตอล หลังจากนั้นพวกเราได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จาก อาจารย์โคทม อารียา ในการแปล และตรวจทาน จากฉบับแปลดิจิตอลอีกที จนได้เอกสารที่อ่านได้อย่างถูกต้องและราบรื่น

เรารับทราบว่า สถาบันปรีดี พนมยงค์ จะเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุปรีดี ทางจรรยา จึงได้ส่งทั้งชุด 134 หน้า ไปให้แล้ว

หวังว่า ทาง #สถาบันปรีดี จะเผยแพร่เอกสารชุดนี้ในเวลาไม่ช้า เพื่อให้สาธารณชนชาวไทย ได้อ่านเรื่องราวของหนึ่งในผู้ก่อการคนสำคัญที่สุดแห่งคณะราษฎร ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย

แต่คณะราษฎร พยายามวางรากฐานประชาธิปไตย ท่ามกลางวิกฤติสงครามโลกครั้งที่ที่ 2 ได้เพียง 15 ปี ก็ถูกฝ่ายเจ้าทำรัฐประหารโค่นล้มค่ายประชาธิปไตย ในปี 2490 ซึ่งกลายเป็นต้นแบบการทำรัฐประหาร "#อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข" ในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ทหาร เจ้า และทุน ร่วมมือกันจนประสบความสำเร็จมาถึง 13 ครั้ง

ความสำเร็จของขั้วอำนาจนำในประเทศไทย (ทุน ทหาร เจ้า) นำมาสู่ต้นแบบการนิรโทษกรรมทางการเมืองให้กับคณะรัฐประหารและผู้เกี่ยวข้อง ด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญจนมี 20 ฉบับในปัจจุบัน

การต่อสู้ของปรีดีเพื่อขอลี้ภัยจากจีนมาฝรั่งเศส (2506 - 2511) (เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นถูกดึงให้เป็นหมากทางการเมืองสงครามเย็นระหว่างค่ายจีนกับสหรัฐ)

กว่าจะมาถึงฝรั่งเศสได้ก็ใช้เวลาเจรจาไปมาระหว่างปารีส กรุงเทพ กวางตุ้ง กว่า 5 ปี

เมื่อมาถึงฝรั่งเศส ปรีดีก็ต้องต่อสู้ทางคดีเพื่อยืนยันในความบริสุทธิ์จากการถูกกล่าวหาว่า "#ปรีดีฆ่าในหลวง" ที่ใช้เป็นข้ออ้างทำลายคณะราษฎร

กรณีการเกี่ยวข้องของปรีดีกับการสังหารกษัตริย์ ร 8 มีการเอ่ยถึงในฐานะเป็นเงื่อนไขทางการเมืองต้านไม่ให้ฝรั่งเศสรับปรีดีในเอกสารฉบับ 147 และการต่อสู้ทางคดีของปรีดีกับคึกฤทธิ์ ในเอกสารฉบับ 215 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ถูกเก็บไว้ในจดหมายเหตุของฝรั่งเศส ทั้ง2 ฉบับ และอยู่ในเอกสาร 134 หน้านี้ด้วยเช่นกัน

สำหรับผู้คนที่สนใจจะดูเหนือหาทั้ง 134 หน้า เพื่อติดตามความยากลำบากของการลี้ภัยของ #ปรีดีพนมยงศ์ ท่ามกลางการเมืองสงครามเย็น และการเมืองหวาดกลัวว่าอิทธิพลของปรีดี จะสั่นคลอนระบอบพ่อขุนเผด็จการ ก็คงต้องรอดูว่าสถาบันปรีดีจะเผยแพร่เอกสารชุดนี้เมื่อไร

สำหรับจรรยา การได้อ่านเอกสารทั้งชุด 147 (ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้ชุด 215) และชุด 215 ทำให้เราซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องลี้ภัยการเมื่องอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เราได้เรียนรู้และรู้สึกร่วมในความยากลำบากของชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองไทย ที่ต้องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแม้ในยามต้องดิ้นรนต่อสู้และใช้ชีวิตในต่างแดน

ในวาระที่ผู้ลี้ภัยการเมืองบางคนต้องยอมแลกทุกอย่าง รวมทั้งศักดิ์ศรีเพื่อให้ได้กลับบ้าน ยังมีผู้ลี้ภัยการเมืองอีกมากมาย ที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยไม่ยอมก้มหัวให้กับระบอบที่กดขี่ขูดรีดประชาชน

เราชอบระบอบสาธารณรัฐที่ผู้บริหารประเทศทุกคนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ก็ขอตอบคำถามผู้คนที่สนใจอยากทราบความคืบหน้าเรื่องจดหมายเหตุปรีดี มา ณ ที่นี้

#คาราวะปรีดีพนมยงค์
#ขอบคุณครอบครัวพนมยงค์ที่มีกระดูกสันหลัง
#สู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน