วันพฤหัสบดี, มีนาคม 21, 2567

อีกหนึ่งนางฟ้า เธอคือแสงสว่างท่ามกลางความมืดมิด เธอคือตัวจริงของ ‘นางฟ้าแห่งเอาชวิตซ์’ ทั่วโลกยอมรับ


BrandThink Cinema
17h·

เธอคือแสงสว่างท่ามกลางความมืดมิด
ทำความรู้จักตัวจริงของ ‘นางฟ้าแห่งเอาชวิตซ์’
หญิงสาวผู้ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อแบ่งปันอาหารให้ชาวยิว
.
หลายคนที่ได้รับชม ‘The Zone of Interest’ คงกำลังสงสัยว่า ซีนเนกาทีฟที่เห็นภาพมุมกลับของเด็กสาวที่ขี่จักรยานเพื่อแอบนำผลไม้ไปวางไว้ในจุดต่างๆ ของค่ายกักกันเชลยชาวยิวนั้นกำลังสื่อถึงอะไร
.
แน่นอนว่าไม่ใช่เพียงพวกเราที่สงสัย แต่นักดูหนังทั้งโลกต่างก็งงว่าซีนนี้กำลังบอกอะไร และทำไมถึงต้องใช้ภาพในลักษณะนั้น จนเราไปค้นหาข้อมูล แล้วพบว่าหญิงสาวที่ปรากฏในซีนนั้นอ้างอิงจากบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เธอผู้นี้มีชื่อว่า อเล็กซานดรา บิสตรอน-โคเจก (Aleksandra Bystroń-Kołodziejczyk) เธอเกิดและเติบโตในเมืองบรีเชสเจอ (Brzeszcze) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ห่างจากออชเวนจิม (Oświęcim) และค่ายเอาชวิตซ์ (Auschwitz) เพียงไม่กี่กิโลเมตร
.
สิ่งที่เธอพบเห็นในช่วงที่เธอยังเป็นเด็กสาววัยรุ่น คือความหิวโหยของเชลยสงครามที่ถูกลงโทษเฆี่ยนตีและอดอาหาร ภาพที่น่าสะเทือนใจที่สุดของเธอคือการได้เห็นนักโทษบางรายจำต้องแทะไม้เพื่อประทังชีวิต
.
ปฏิบัติการลับของเธอจึงเกิดขึ้น เธอทำการช่วยเหลือนักโทษด้วยการเข้าร่วมสหภาพกองทัพใต้ดินในชื่อ Home Army เพื่อหาทางช่วยเหลือเชลยชาวยิวให้หลุดพ้นจากขุมนรก อีกวิธีคือการซ่อนผลไม้ไว้ตามจุดต่างๆ ในยามค่ำคืน เพื่อช่วยประทังชีวิตของเหล่านักโทษให้ท้องอิ่ม พร้อมจดหมายลับถึงเหล่ายิว
.
ความกล้าหาญนี้ส่งต่อเรื่องราวจนได้รับการกล่าวขานว่าเธอคือ ‘นางฟ้าแห่งเอาชวิตซ์’ บางคนก็เรียกเธอว่า ‘Juden Tante’ หรือ คุณป้าของชาวยิว
.
ความบังเอิญนี้ส่งผลมาถึงเกลเซอร์โดยที่เขาไม่ได้ตั้งใจ เมื่อเขาและทีมงานเดินทางสำรวจบ้านของครอบครัวเฮิส แต่กลับพบกับความทรุดโทรมจนยากที่จะฟื้นฟู กระทั่งเขาได้สำรวจบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น และพบบ้านของโคเจกเข้าโดยบังเอิญที่ยังคงสภาพเดิมไว้ และเขาได้พบกับเรื่องมหัศจรรย์ว่า เขากำลังได้พบหญิงสาวแห่งหน้าประวัติศาสตร์คนนี้ที่ยังมีชีวิต และเป็นประจักษ์พยานสำคัญแห่งการบอกเล่าเรื่องราวอันโหดร้ายนี้ให้เขาฟังกับหู
.
จักรยานในหนังรวมไปถึงเสื้อผ้าของนักแสดงที่รับบทนั้น คือเสื้อผ้าและจักรยานจริงๆ ที่เธอใช้ในปฏิบัติการอันสุ่มเสี่ยงนี้อีกด้วย
.
ส่วนเหตุผลที่ซีนนี้ต้องใช้โหมด Night Vision ผู้กำกับโจนาธาน เกลเซอร์ ได้กล่าวถึงซีนนี้ในช่วง Q&A หลังหนังจบในเทศกาลภาพยนตร์ BFI London Film Festival ไว้ว่า
.
“ถึงจะดูเป็นอารยะขัดขืน แต่การกระทำเพียงเล็กน้อยนี้ กลับยิ่งใหญ่และมีความสำคัญอย่างยิ่งให้กับประวัติศาสตร์โลก แต่ในระหว่างที่ถ่ายทำ เราพบอุปสรรคสำคัญคือความมืดในโลเคชันที่เราไม่อาจจะถ่ายทำได้ (เกลเซอร์เลือกจะถ่ายทำโดยใช้แสงธรรมชาติ โดยไม่พยายามปรุงแต่งแสงด้วยสปอตไลต์ใดๆ) ผมจึงโทรหาเจมส์ (James Wilson โปรดิวเซอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้) บอกว่า ‘ไม่ไหวแล้ว ผมถ่ายไม่ได้ มันมืดเกินไป’ แต่เมื่อผมลองสำรวจหาแสง สิ่งที่ผมเห็นคือแสงสว่างในตัวเด็กสาว เธอคือพลังแห่งความดีงามในยามค่ำคืนโดยแท้”
.
เกลเซอร์จึงทดลองถ่ายในโหมด Night Vision หรือการถ่ายในโหมดกลางคืนที่ทำให้เห็นภาพในเงามืดได้อย่างชัดเจน ผ่านการตรวจจับความร้อน ซึ่งโหมดกลางคืนนี้สะท้อนภาพมุมกลับของซีนสว่างอันแสนอบอุ่นได้อย่างเหลือเชื่อ
.
น่าเสียดายที่เมื่อถ่ายทำได้ไม่นานโคเจก (Aleksandra Bystroń-Kołodziejczyk) ก็เสียชีวิตในบ้านหลังนั้น ในปี 2016 แต่ในช่วงเวลาที่เกลเซอร์ขึ้นรับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม เขาก็ได้อุทิศรางวัลนี้ให้กับเธอ
.
“อเล็กซานดรา บิสตรอน-โคเจก เด็กสาวผู้เปล่งประกาย…ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้กับความทรงจำ และความอุตสาหะของเธอ”
.
‘The Zone of Interest - วิมานนาซี’ ยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย ในโรงภาพยนตร์
.
.
#TheZoneofInterest #วิมานนาซี
#Oscars2024
#A24 #smaltpictures
#BrandThinkCinema