สังเวียนในสังคม กะเทยแบบไทยๆ ต่อสู้กับอะไร ทำไมเราถึงกลายเป็นยอดนักสู้
มีนาคม 5, 2024
The Isaan Record
ในชีวิตของคนคนหนึ่งนั้น เป็นธรรมดาที่ต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคที่เข้ามาทดสอบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดมาจนถึงจำความได้ แต่ความทรหดอดทนในการเกิดมาเป็นคนร่างชายใจหญิงและคนที่มีเพศหลากหลายนั้น โชคชะตาเหมือนลิขิตไว้ให้พบกับด่านทดสอบมากกว่าคนอื่นๆ ไม่ว่าจะการต่อสู้กับระบอบชายเป็นใหญ่ในครอบครัว บางคนถึงกับต้องตัดขาดจากกันและออกมาหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองและต้องเผชิญกับสังคมที่กดทับอย่างโดดเดี่ยว หากโชคเข้าข้างเจอสังคมของกลุ่มคนเพศหลากหลายก็ได้ช่วยปกป้องกันและช่วยเหลือกันในยามทุกข์เข็ญ
The Isaan Record พาท่องโลกการต่อสู้ของพี่กะเทยไม่ว่าจะเป็นมิติของครอบครัว ศาสนา และกฎหมาย ว่าในสมการเหล่านี้ พี่กะเทยและกลุ่มเพศหลากหลายอยู่ตรงไหนจากวันที่สังคมไม่เปิดรับ จนถึงวันที่ผู้คนเริ่มตระหนักและพยายามจะเรียนรู้มิติทางเพศ
พี่กะเทย ครอบครัวและตัวตนที่ฉันเป็น
เป็นธรรมดาสามัญที่การมีขึ้นของทุกสิ่งอย่างจะต้องมีตำแหน่งแห่งที่ชัดเจน หรือแม้แต่การถูกยอมรับในฐานะสมาชิกพลเมืองโลก การพิสูจน์สร้างตัวตนในฐานะผู้มีชีวิตที่มีความหลากหลายทางเพศของกะเทยจึงเกิดขึ้นเช่นกัน
ย้อนกลับไปในวัยเด็ก ครอบครัวถือเป็นด่านสำคัญด่านแรกที่จะทำให้เขามีชีวิตและตัวตนในด่านต่อไป ในสมาชิกของครอบครัวที่มีพ่อและแม่เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดู ความคาดหวังต่อความสมบูรณ์เพศที่มีต่อลูกก็ทำให้พ่อแม่หลายคนกล้าที่จะปฏิเสธตัวตนที่แท้จริงของลูกเช่นกัน มากไปกว่าความคาดหวังในความสมบูรณ์เพศ นั่นคือความคาดหวังเรื่องทายาทและการธำรงสายสกุล กลายเป็นปัญหาซ่อนเร้นที่ติดอยู่ใต้ร่มของวัฒนธรรมและการแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวในที่สุด
กะเทยหลายคนพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าตนในฐานะบุตรผู้มีความหลากหลายทางเพศ ก็สามารถสร้างครอบครัว สร้างอาชีพ สร้างความมั่นใจให้สมาชิกว่าพวกเขาเองก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างธรรมดาทั่วไป ไม่ผิดแผกอะไรต่างจากชายจริงหญิงแท้
แต่หลายกรณีประตูของบ้านก็ถูกปิดตายในที่สุด เพราะสังคมและวัฒนธรรมบางอย่างที่บีบเค้นให้ครอบครัวต้องมองพวกเขาให้เป็นอื่น เช่น การไล่ออกจากบ้าน การกล่าวหาว่าร้าย หรือแม่แต่การทำร้ายทั้งทางร่ายกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน จนนำไปสู่การจบชีวิตลงในที่สุด
เพศบรรพชิตที่ไม่เป็นมิตรกับเพศสีรุ้ง(?)
“หากกะเทยมีความศรัทธา ในศาสนาทำไมสังคมบางส่วนจึงมองว่าเป็นพระตุ๊ดพระแต๋วแล้วไม่เหมาะสม ความศรัทธาทำไมจึงมีเรื่องเพศที่กำหนดการเข้าถึง มันไม่ควรจะเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่ใช่หรือ”
ข้อความในทวิตเตอร์(X) ของ ส.ส.ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ตั้งคำถามในการบวชของพระตุ๊ดพระแต๋วในปี 2562 ที่ผ่านมา สร้างการถกเถียงเป็นวงกว้างในสังคม บ้างเห็นด้วยและบ้างต่อต้านการบวชให้กับผู้ที่มีรสนิยมชายรักชาย การต่อสู้เรื่องการบวชและเพศสภาพนั้นเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญที่เป็นที่พูดถึงในการเคลื่อนไหวทางสังคมเรื่อยมา จนมาถึงยุคออนไลน์ที่เรื่องนี้ก็ยังคงเป็นที่วิจารณ์ในวงกว้างและยังคงหาข้อสรุปว่า กะเทยสามารถบวชได้หรือไม่
การขานบทสนทนา “A: ปุริโสสิ B: อาม ภณฺเต” หนึ่งในประโยคภาษาบาลีในพิธีบรรพชาอุปสมบท ใจความว่า “A: คุณเป็นผู้ชายหรือไม่ B: ใช่ครับ” เป็นคำกล่าวของพระกรรมวาจาจารย์จะต้องกล่าวกับว่าที่พระนวกะ (ว่าที่พระใหม่) ก่อนที่จะเข้าร่มกาสาวพัตร์ละทิ้งชีวิตคฤหัสถ์และเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนาเต็มตัว โดยมีเงื่อนไขของการบวชว่าจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น
ข้อบัญญัตินี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงเพศกำเนิดของผู้ต้องการบวชมาอย่างยาวนานว่า สรุปแล้วผู้ที่ไม่ได้นิยามตนว่าเป็นผู้ชาย แต่ยังคงมีอวัยวะเพศเป็นชายอย่าง เกย์ กะเทย ฯลฯ พวกเขาเหล่านี้สามารถบวชเข้ามาศึกษาพระธรรมคำสอนได้หรือไม่
ย้อนกลับไปในการบัญญัติเกี่ยวกับการบวชและเพศสภาพ มีหลักฐานที่กล่าวอ้างถึงนิยามของคำว่าบัณเฑาะก์ (แปลตรงตัวว่ากะเทย) ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา หรือคัมภีร์ที่ขยายความของเนื้อหาในวินัยปิฎก จำแนกประเภทบัณฑาะก์ออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
หากสังเกตและสรุปจากอรรถกถาจะสรุปได้ว่าการบวชนั้นขึ้นอยู่กับกายภาพเป็นสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางจิตใจแต่อย่างใด อีกด้านหนึ่งหลายวัดและหลายสำนักก็ยังคงตีความว่า ตามพุทธบัญญัติได้พูดรวมๆ ไปว่าบัณเฑาะก์ทุกประเภทนั้นไม่สามารถบวชได้
อย่างไรก็ตาม การบวชให้กับบัณเฑาะก์ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลยในประวัติศาสตร์ แจ๊ส -สรวีย์ มิสทิฟฟานี่ 2009 ที่ตัดสินใจผ่าตัดหน้าอกและอุปสมบทในปี 2556 โดยได้รับฉายาว่า พระสรวีย์ มหาวิริโย ก่อนจะลาสิกขาในช่วงปี 2558 และบวชใหม่อีกครั้งเพื่อแสวงบุญและปฏิบัติกรรมฐานที่ประเทศอินเดีย ก่อนจะลาสิกขาออกมาและใช้ชีวิตเป็นฆราวาส นับรวมเวลาในร่มกาสาวพัตร์ 9 ปี
เหตุการณ์นี้อาจจะเป็นคำตอบของคำถามที่สังคมกำลังตั้งว่าการมีรสนิยมไม่ตรงกับเพศกำเนิดนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการบวช ปัญหาอาจจะอยู่ที่การทำตามพระวินัยและข้อกำหนดในศาสนา ซึ่งการมองพระตุ๊ดพระแต๋วเป็นปัญหาที่กัดกินและบ่อนทำลายศาสนานั้นอาจจะเกิดจากอคติทางเพศมากกว่าการจะมองข้อกำหนดหรือพุทธบัญญัติเป็นสำคัญ
เกณฑ์ทหาร ความทรมานที่แลกมากับใบจิตเวช
ใบดำ-ใบแดง กระดาษสองสีที่กำลังพาฉากชีวิตฉากใหม่มาให้กะเทยต้องต่อสู้อีกครั้ง ความยุ่งยากของขั้นตอนที่พอจะทำให้พวกเขาหลีกเว้นจากการเป็นทหาร ก็มักจะนำมาซึ่งการสูญเสียทรัพยากรหลายอย่าง โดยเฉพาะ “เงิน” ค่าใช้จ่ายที่ไม่ต่ำกว่าหลักพันบาทสำหรับการขอใบรับรองแพทย์ เพื่อยืนยันตัวตนและจิตใจ
เหตุใดกะเทยจึงไม่อยากเป็นทหาร? คำถามชวนคิดที่พอจะมีคำตอบอยู่บ้างว่าทำไมอาชีพทหารจึงเป็นอาชีพขั้วตรงข้ามของกะเทย
ทหารและค่ายทหารเป็นพื้นที่ของผู้ชาย เหตุนี้จึงทำให้กะเทยเกิดความคาราคาซังว่าตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาจะอยู่ตรงไหน ในขณะเดียวกันที่กะเทยบางคนเคยผ่านเข้าไปใช้ชีวิตภายในนั้น ก็ออกมาเปิดเผยให้ฟังว่า การเป็นกะเทยในค่ายทหาร บ้างก็ถูกปฏิบัติอย่างผู้หญิง บ้างก็กลายเป็นตัวตลก บ้างก็ถูกใช้แรงงาน หรือแม้แต่การถูกทำให้เป็นบ่อนบำเรอกามในแดนชายแท้ ก็มีเช่นกัน
เหตุนี้จึงทำให้กะเทยหลายคนวิตกถึงการใช้ชีวิตในรั้วค่าย และปฏิเสธทุกวิถีทางที่พอจะทำให้พวกเขาไม่ต้องเป็นทหาร ปัจจุบันจึงมีการออกมาเรียกร้องให้การเกณฑ์ทหารเป็นไปตามความสมัครใจเพียงเท่านั้น และไม่ควรบังคับให้ทุกคนต้องเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวทั้งทางตรงและทางอ้อม ขณะเดียวกันที่การตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวก็ยังถูกเมินเฉย กะเทยยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับใบรับรองเพศของตนและต้องเสี่ยงโชควัดดวงกันเช่นเดิม และประเด็นการเกณฑ์ทหารที่ถูกพูดถึงในสภา ก็ยังคงเป็นเรื่องโยนหินถามทางต่อไป
แสงสว่างปลายอุโมงค์ ถึงเวลาโบกธงสีรุ้ง
การอยู่ร่วมกันในฐานะสามีภรรยาหรือคู่ชีวิต ล้วนเป็นปลายทางที่ใฝ่ฝันและเป็นก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชีวิตของคนสองคนที่ตกลงกันจะเป็นเพื่อน พี่ น้องและคนรักด้วยกันจนตราบวันสุดท้าย เมื่อสังคมพัฒนาขึ้น การแต่งงานได้ถูกบรรจุในฐานะของกฎหมายทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ในการสร้างชีวิตคู่ให้สมบูรณ์ สิทธิในการยินยอมการรักษาพยาบาลของชีวิตคู่ หรือแม้แต่การขอสินเชื่อการทำธุรกรรมต่างๆ
สิ่งที่อธิบายมาทั้งหมดด้านบน แน่นอนนั่นคือภาพความเป็นจริงของคู่ชายหญิงในประเทศไทย สำหรับคนพี่กะเทย รวมถึงคนเพศหลากหลายนั้น กฎหมายยังคงไม่อนุญาตให้มีการสมรส การต่อสู้ของกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2544 ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ริเริ่มแนวคิดการออกกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่ได้รับกระแสต่อต้านจากสังคมอย่างรุนแรงทำให้กฎหมายนี้ต้องพับเก็บไป
ในปี 2555 กระแสการเรียกร้องสิทธิในการจดทะเบียนคู่รักเพศหลากหลายได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง และมีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากกระแสโลกตะวันตกมี พ.ร.บ.คู่ชีวิตทำให้การพูดถึงร่างกฎหมายนี้ถูกพูดถึงอย่างจริงจัง แต่ร่างนั้นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ไม่เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง ก่อนจะถูกปัดตกลงเนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2557
ปี 2563 รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กระแสการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนทำให้การพูดถึงความหลากหลายทางเพศและสมรสเท่าเทียมกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในสังคมไทย รวมถึงมีการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จากพรรคก้าวไกล และได้ยื่นร่างฯ วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ได้ผ่านวาระ 1 ไปเป็นที่เรียบร้อย แต่เหตุการณ์สภาล่มทำให้การพิจารณาไม่ครบ 3 วาระ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจึงตกไปตามระเบียบรัฐธรรมนูญ
หลังจากการต่อสู้ของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่ยาวนานถึง 22 ปี ในประเทศไทย แสงสว่างปลายอุโมงค์ก็เริ่มปรากฎขึ้น วันที่ 21 ธันวาคม 2566 สภาฯ ได้รับร่างหลักการ สมรสเท่าเทียมมติ 369 ต่อ 10 เสียง และการพิจารณาในชั้น กมธ. เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และคาดว่ากฎหมายจะเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 20 มีนาคม 2567 นี้ หากร่างฯ ผ่านในวาระ 2 และ 3 แล้วจะต้องรอ 120 วันหลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ หากกฎหมายถูกประกาศใช้ การต่อสู้ครั้งนี้จะนับเป็นชัยชนะของเหล่ากลุ่มคนเพศหลากหลาย และจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นชาติที่ 2 ของเอเชียที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม
นี่เป็นเพียงบางส่วนของการต่อสู้ของพี่กะเทยในสังคมไทย แต่ยังมีอีกหลายปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญ และสร้างความคาราคาซังของบทชีวิตในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
เส้นทางอีกยาวไกล กว่าที่พวกเขา “จะมีที่หยัดยืน จนสามารถสลัดทิ้งโลกขมขื่นที่ล้าหลัง และร่วมยาตราทัพรักเสรีมีพลัง และจุดไฟหวังสร้างโลกใหม่ให้โสภี” จะเป็นการดีอย่างยิ่งหากวันนั้นมาถึง วันที่ทุกคนเข้าใจและยอมรับในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น การต่อสู้กับปัญหาคาราคาซังที่มีมาอย่างยาวนานคงถูกพับลงและกลายเป็นเรื่องราวในอดีตไป
เรื่อง: ธีรศักดิ์ มณีวงษ์ & อาชวิชญ์ อินทร์หา
กรุณาสนับสนุน The Isaan Record เพียงกดลิงค์นี้และบริจาค
ในชีวิตของคนคนหนึ่งนั้น เป็นธรรมดาที่ต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคที่เข้ามาทดสอบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดมาจนถึงจำความได้ แต่ความทรหดอดทนในการเกิดมาเป็นคนร่างชายใจหญิงและคนที่มีเพศหลากหลายนั้น โชคชะตาเหมือนลิขิตไว้ให้พบกับด่านทดสอบมากกว่าคนอื่นๆ ไม่ว่าจะการต่อสู้กับระบอบชายเป็นใหญ่ในครอบครัว บางคนถึงกับต้องตัดขาดจากกันและออกมาหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองและต้องเผชิญกับสังคมที่กดทับอย่างโดดเดี่ยว หากโชคเข้าข้างเจอสังคมของกลุ่มคนเพศหลากหลายก็ได้ช่วยปกป้องกันและช่วยเหลือกันในยามทุกข์เข็ญ
The Isaan Record พาท่องโลกการต่อสู้ของพี่กะเทยไม่ว่าจะเป็นมิติของครอบครัว ศาสนา และกฎหมาย ว่าในสมการเหล่านี้ พี่กะเทยและกลุ่มเพศหลากหลายอยู่ตรงไหนจากวันที่สังคมไม่เปิดรับ จนถึงวันที่ผู้คนเริ่มตระหนักและพยายามจะเรียนรู้มิติทางเพศ
พี่กะเทย ครอบครัวและตัวตนที่ฉันเป็น
เป็นธรรมดาสามัญที่การมีขึ้นของทุกสิ่งอย่างจะต้องมีตำแหน่งแห่งที่ชัดเจน หรือแม้แต่การถูกยอมรับในฐานะสมาชิกพลเมืองโลก การพิสูจน์สร้างตัวตนในฐานะผู้มีชีวิตที่มีความหลากหลายทางเพศของกะเทยจึงเกิดขึ้นเช่นกัน
ย้อนกลับไปในวัยเด็ก ครอบครัวถือเป็นด่านสำคัญด่านแรกที่จะทำให้เขามีชีวิตและตัวตนในด่านต่อไป ในสมาชิกของครอบครัวที่มีพ่อและแม่เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดู ความคาดหวังต่อความสมบูรณ์เพศที่มีต่อลูกก็ทำให้พ่อแม่หลายคนกล้าที่จะปฏิเสธตัวตนที่แท้จริงของลูกเช่นกัน มากไปกว่าความคาดหวังในความสมบูรณ์เพศ นั่นคือความคาดหวังเรื่องทายาทและการธำรงสายสกุล กลายเป็นปัญหาซ่อนเร้นที่ติดอยู่ใต้ร่มของวัฒนธรรมและการแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวในที่สุด
กะเทยหลายคนพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าตนในฐานะบุตรผู้มีความหลากหลายทางเพศ ก็สามารถสร้างครอบครัว สร้างอาชีพ สร้างความมั่นใจให้สมาชิกว่าพวกเขาเองก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างธรรมดาทั่วไป ไม่ผิดแผกอะไรต่างจากชายจริงหญิงแท้
แต่หลายกรณีประตูของบ้านก็ถูกปิดตายในที่สุด เพราะสังคมและวัฒนธรรมบางอย่างที่บีบเค้นให้ครอบครัวต้องมองพวกเขาให้เป็นอื่น เช่น การไล่ออกจากบ้าน การกล่าวหาว่าร้าย หรือแม่แต่การทำร้ายทั้งทางร่ายกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน จนนำไปสู่การจบชีวิตลงในที่สุด
เพศบรรพชิตที่ไม่เป็นมิตรกับเพศสีรุ้ง(?)
“หากกะเทยมีความศรัทธา ในศาสนาทำไมสังคมบางส่วนจึงมองว่าเป็นพระตุ๊ดพระแต๋วแล้วไม่เหมาะสม ความศรัทธาทำไมจึงมีเรื่องเพศที่กำหนดการเข้าถึง มันไม่ควรจะเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่ใช่หรือ”
ข้อความในทวิตเตอร์(X) ของ ส.ส.ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ตั้งคำถามในการบวชของพระตุ๊ดพระแต๋วในปี 2562 ที่ผ่านมา สร้างการถกเถียงเป็นวงกว้างในสังคม บ้างเห็นด้วยและบ้างต่อต้านการบวชให้กับผู้ที่มีรสนิยมชายรักชาย การต่อสู้เรื่องการบวชและเพศสภาพนั้นเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญที่เป็นที่พูดถึงในการเคลื่อนไหวทางสังคมเรื่อยมา จนมาถึงยุคออนไลน์ที่เรื่องนี้ก็ยังคงเป็นที่วิจารณ์ในวงกว้างและยังคงหาข้อสรุปว่า กะเทยสามารถบวชได้หรือไม่
การขานบทสนทนา “A: ปุริโสสิ B: อาม ภณฺเต” หนึ่งในประโยคภาษาบาลีในพิธีบรรพชาอุปสมบท ใจความว่า “A: คุณเป็นผู้ชายหรือไม่ B: ใช่ครับ” เป็นคำกล่าวของพระกรรมวาจาจารย์จะต้องกล่าวกับว่าที่พระนวกะ (ว่าที่พระใหม่) ก่อนที่จะเข้าร่มกาสาวพัตร์ละทิ้งชีวิตคฤหัสถ์และเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนาเต็มตัว โดยมีเงื่อนไขของการบวชว่าจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น
ข้อบัญญัตินี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงเพศกำเนิดของผู้ต้องการบวชมาอย่างยาวนานว่า สรุปแล้วผู้ที่ไม่ได้นิยามตนว่าเป็นผู้ชาย แต่ยังคงมีอวัยวะเพศเป็นชายอย่าง เกย์ กะเทย ฯลฯ พวกเขาเหล่านี้สามารถบวชเข้ามาศึกษาพระธรรมคำสอนได้หรือไม่
ย้อนกลับไปในการบัญญัติเกี่ยวกับการบวชและเพศสภาพ มีหลักฐานที่กล่าวอ้างถึงนิยามของคำว่าบัณเฑาะก์ (แปลตรงตัวว่ากะเทย) ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา หรือคัมภีร์ที่ขยายความของเนื้อหาในวินัยปิฎก จำแนกประเภทบัณฑาะก์ออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
- อาสิตตบัณเฑาะก์ คือ ชายที่อมอวัยวะเพศของชายอื่น
- อุสุยยบัณเฑาะก์ คือ ชายที่ชอบพอใจในการดูกิจกรรมร่วมเพศระหว่างชายกับชาย
- โอปักกมิยบัณเฑาะก์ คือ บุคคลที่ถูกตอน เช่น ขันที และรวมถึงบุคคลที่ผ่าตัดแปลงเพศในปัจจุบัน
- ปักขบัณเฑาะก์ คือเป็นบัณเฑาะก์ในช่วงข้างแรม (มีอารมณ์กำหนัดบางวัน) แต่ช่วงข้างขึ้นไม่เป็น
- นปุงสกัปบัณเฑาะก์ คือ ผู้มีความบกพร่องทางเพศสภาพ ไม่ปรากฏเพศที่แน่ชัด นับเป็นความบกพร่องทางร่างกายแต่กำเนิด
หากสังเกตและสรุปจากอรรถกถาจะสรุปได้ว่าการบวชนั้นขึ้นอยู่กับกายภาพเป็นสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางจิตใจแต่อย่างใด อีกด้านหนึ่งหลายวัดและหลายสำนักก็ยังคงตีความว่า ตามพุทธบัญญัติได้พูดรวมๆ ไปว่าบัณเฑาะก์ทุกประเภทนั้นไม่สามารถบวชได้
อย่างไรก็ตาม การบวชให้กับบัณเฑาะก์ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลยในประวัติศาสตร์ แจ๊ส -สรวีย์ มิสทิฟฟานี่ 2009 ที่ตัดสินใจผ่าตัดหน้าอกและอุปสมบทในปี 2556 โดยได้รับฉายาว่า พระสรวีย์ มหาวิริโย ก่อนจะลาสิกขาในช่วงปี 2558 และบวชใหม่อีกครั้งเพื่อแสวงบุญและปฏิบัติกรรมฐานที่ประเทศอินเดีย ก่อนจะลาสิกขาออกมาและใช้ชีวิตเป็นฆราวาส นับรวมเวลาในร่มกาสาวพัตร์ 9 ปี
เหตุการณ์นี้อาจจะเป็นคำตอบของคำถามที่สังคมกำลังตั้งว่าการมีรสนิยมไม่ตรงกับเพศกำเนิดนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการบวช ปัญหาอาจจะอยู่ที่การทำตามพระวินัยและข้อกำหนดในศาสนา ซึ่งการมองพระตุ๊ดพระแต๋วเป็นปัญหาที่กัดกินและบ่อนทำลายศาสนานั้นอาจจะเกิดจากอคติทางเพศมากกว่าการจะมองข้อกำหนดหรือพุทธบัญญัติเป็นสำคัญ
เกณฑ์ทหาร ความทรมานที่แลกมากับใบจิตเวช
ใบดำ-ใบแดง กระดาษสองสีที่กำลังพาฉากชีวิตฉากใหม่มาให้กะเทยต้องต่อสู้อีกครั้ง ความยุ่งยากของขั้นตอนที่พอจะทำให้พวกเขาหลีกเว้นจากการเป็นทหาร ก็มักจะนำมาซึ่งการสูญเสียทรัพยากรหลายอย่าง โดยเฉพาะ “เงิน” ค่าใช้จ่ายที่ไม่ต่ำกว่าหลักพันบาทสำหรับการขอใบรับรองแพทย์ เพื่อยืนยันตัวตนและจิตใจ
เหตุใดกะเทยจึงไม่อยากเป็นทหาร? คำถามชวนคิดที่พอจะมีคำตอบอยู่บ้างว่าทำไมอาชีพทหารจึงเป็นอาชีพขั้วตรงข้ามของกะเทย
ทหารและค่ายทหารเป็นพื้นที่ของผู้ชาย เหตุนี้จึงทำให้กะเทยเกิดความคาราคาซังว่าตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาจะอยู่ตรงไหน ในขณะเดียวกันที่กะเทยบางคนเคยผ่านเข้าไปใช้ชีวิตภายในนั้น ก็ออกมาเปิดเผยให้ฟังว่า การเป็นกะเทยในค่ายทหาร บ้างก็ถูกปฏิบัติอย่างผู้หญิง บ้างก็กลายเป็นตัวตลก บ้างก็ถูกใช้แรงงาน หรือแม้แต่การถูกทำให้เป็นบ่อนบำเรอกามในแดนชายแท้ ก็มีเช่นกัน
เหตุนี้จึงทำให้กะเทยหลายคนวิตกถึงการใช้ชีวิตในรั้วค่าย และปฏิเสธทุกวิถีทางที่พอจะทำให้พวกเขาไม่ต้องเป็นทหาร ปัจจุบันจึงมีการออกมาเรียกร้องให้การเกณฑ์ทหารเป็นไปตามความสมัครใจเพียงเท่านั้น และไม่ควรบังคับให้ทุกคนต้องเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวทั้งทางตรงและทางอ้อม ขณะเดียวกันที่การตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวก็ยังถูกเมินเฉย กะเทยยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับใบรับรองเพศของตนและต้องเสี่ยงโชควัดดวงกันเช่นเดิม และประเด็นการเกณฑ์ทหารที่ถูกพูดถึงในสภา ก็ยังคงเป็นเรื่องโยนหินถามทางต่อไป
แสงสว่างปลายอุโมงค์ ถึงเวลาโบกธงสีรุ้ง
การอยู่ร่วมกันในฐานะสามีภรรยาหรือคู่ชีวิต ล้วนเป็นปลายทางที่ใฝ่ฝันและเป็นก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชีวิตของคนสองคนที่ตกลงกันจะเป็นเพื่อน พี่ น้องและคนรักด้วยกันจนตราบวันสุดท้าย เมื่อสังคมพัฒนาขึ้น การแต่งงานได้ถูกบรรจุในฐานะของกฎหมายทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ในการสร้างชีวิตคู่ให้สมบูรณ์ สิทธิในการยินยอมการรักษาพยาบาลของชีวิตคู่ หรือแม้แต่การขอสินเชื่อการทำธุรกรรมต่างๆ
สิ่งที่อธิบายมาทั้งหมดด้านบน แน่นอนนั่นคือภาพความเป็นจริงของคู่ชายหญิงในประเทศไทย สำหรับคนพี่กะเทย รวมถึงคนเพศหลากหลายนั้น กฎหมายยังคงไม่อนุญาตให้มีการสมรส การต่อสู้ของกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2544 ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ริเริ่มแนวคิดการออกกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่ได้รับกระแสต่อต้านจากสังคมอย่างรุนแรงทำให้กฎหมายนี้ต้องพับเก็บไป
ในปี 2555 กระแสการเรียกร้องสิทธิในการจดทะเบียนคู่รักเพศหลากหลายได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง และมีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากกระแสโลกตะวันตกมี พ.ร.บ.คู่ชีวิตทำให้การพูดถึงร่างกฎหมายนี้ถูกพูดถึงอย่างจริงจัง แต่ร่างนั้นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ไม่เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง ก่อนจะถูกปัดตกลงเนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2557
ปี 2563 รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กระแสการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนทำให้การพูดถึงความหลากหลายทางเพศและสมรสเท่าเทียมกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในสังคมไทย รวมถึงมีการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จากพรรคก้าวไกล และได้ยื่นร่างฯ วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ได้ผ่านวาระ 1 ไปเป็นที่เรียบร้อย แต่เหตุการณ์สภาล่มทำให้การพิจารณาไม่ครบ 3 วาระ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจึงตกไปตามระเบียบรัฐธรรมนูญ
หลังจากการต่อสู้ของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่ยาวนานถึง 22 ปี ในประเทศไทย แสงสว่างปลายอุโมงค์ก็เริ่มปรากฎขึ้น วันที่ 21 ธันวาคม 2566 สภาฯ ได้รับร่างหลักการ สมรสเท่าเทียมมติ 369 ต่อ 10 เสียง และการพิจารณาในชั้น กมธ. เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และคาดว่ากฎหมายจะเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 20 มีนาคม 2567 นี้ หากร่างฯ ผ่านในวาระ 2 และ 3 แล้วจะต้องรอ 120 วันหลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ หากกฎหมายถูกประกาศใช้ การต่อสู้ครั้งนี้จะนับเป็นชัยชนะของเหล่ากลุ่มคนเพศหลากหลาย และจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นชาติที่ 2 ของเอเชียที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม
นี่เป็นเพียงบางส่วนของการต่อสู้ของพี่กะเทยในสังคมไทย แต่ยังมีอีกหลายปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญ และสร้างความคาราคาซังของบทชีวิตในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
เส้นทางอีกยาวไกล กว่าที่พวกเขา “จะมีที่หยัดยืน จนสามารถสลัดทิ้งโลกขมขื่นที่ล้าหลัง และร่วมยาตราทัพรักเสรีมีพลัง และจุดไฟหวังสร้างโลกใหม่ให้โสภี” จะเป็นการดีอย่างยิ่งหากวันนั้นมาถึง วันที่ทุกคนเข้าใจและยอมรับในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น การต่อสู้กับปัญหาคาราคาซังที่มีมาอย่างยาวนานคงถูกพับลงและกลายเป็นเรื่องราวในอดีตไป
เรื่อง: ธีรศักดิ์ มณีวงษ์ & อาชวิชญ์ อินทร์หา
กรุณาสนับสนุน The Isaan Record เพียงกดลิงค์นี้และบริจาค