วันจันทร์, กรกฎาคม 10, 2566

นัยยะสำคัญต่อการโหวตนายกฯ ๑๓ ก.ค.นี้ อยู่ในจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ ๒ ของ สว.วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์

จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ ๒ ของ สว.วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ที่ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว เอามาขยาย แล้ว ธนาพล อิ๋วสกุล ช่วยกระจาย มีนัยยะสำคัญต่อการโหวตนายกฯ ๑๓ ก.ค.นี้ ตรงที่

สว.ท่านนี้นำเอา พระราชดำรัสรัชกาลที่ ๑๐ ในวันเปิดประชุมรัฐสภาเมื่อ ๓ กรกฎา มาอ้างให้ สมาชิกผู้ทรงเกียรติ“พึงต้องตระหนักในเกียรติภูมิแห่งความเป็นสมาชิกรัฐสภา และพึงต้องระมัดระวังไม่กระทำการใดๆ ที่อาจเป็นการสุ่มเสี่ยง

ต่อการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๑๓ ว่าด้วย สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่ หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใด ๆ หรือ มาตรา ๑๑๔...ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ”

เหล่านั้นมิได้เป็นเพียงแค่หลักการลอยๆ สว.ผู้นี้พาดพิงถึงเหตุอันเป็นที่มาจนต้องย้ำเตือนให้ตระหนักกัน ว่ามี “ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหา กันอย่างรุนแรงและกว้างขวาง เกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคคลบางคน” โดยมีลักษณะรณรงค์ต่อต้าน

ขัดขวางการขึ้นสู่ตำแหน่งของบุคคลบางคน ด้วยการสร้างมายาคติบนความอคติ โดยก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น ไม่น่าจะเป็นการกระทำที่เหมาะควรอย่างยิ่ง” แล้วจากนั้นเขาก็ยืนยัน “ให้การสนับสนุนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ในบัญชีพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด ได้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี” เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งความสมานฉันท์ในบ้านเมือง “ตลอดจน เพื่อความสอดคล้องกับฉันทามติของมหาชน ที่ไปใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง”

พระราชดำรัสตอนที่ถูกอ้างถึง ว่า “...ประเทศชาติจะมีความเจริญเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ และความสุจริตบริสุทธิ์ของท่าน ที่จะปฏิบัติหน้าที่ทั้งปวง โดยยึดถือประโยชน์ของ ประเทศชาติและประชาชน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด”

ท่อนเน้นเรื่อง ประเทศชาติและประชาชน นั่นคงจำกันได้ว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้นำไปใช้ในการตอบคำถามส่อเสียดจากผู้สื่อข่าวสำนัก กินเยี่ยวแล้วว่าจะนำพระราชดำรัสนั้นไป “ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน”

(https://www.facebook.com/sorrayuth9115/posts/45xcZTsT)