วันพุธ, มีนาคม 15, 2566

มีคน ‘ทัก’ ไม่มีเหตุให้อ้างยุบสภา เพราะไม่มีความขัดแย้งในสภา จึงเป็นโมฆะได้ ผู้ใช้อำนาจจะมีความผิด

ตู่ ไม่ตอบจะยุบสภาวันไหน ทำท่ากวนตีนเอามือป้องหูฟังนักข่าวถาม “วันนี้ประชุม ครม.ครั้งสุดท้ายใช่ไหม” ถามกลับ “เขาห้ามเหรอ ไม่ให้ประชุม ครม.ต่อ...ไม่รู้อะไรซักอย่างเหรอ คิดว่านายกฯ ไม่ทราบเหรอ ถ้าทราบก็จบ”

การยักท่าอย่างนี้ แม้จะเล็กๆ น้อยๆ มันมีความได้เปรียบเสียเปรียบพัวพันอยู่ ในฐานะที่คราวนี้ประยุทธ์แยกตัวจากพรรคพลังประชารัฐและ ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไปรับเป็นแคนดิเดทพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งเร่งมือดูด ส.ส.มาเข้าพรรค

ปมเงื่อนในรัฐธรรมนูญที่เขียนดักทางกันเอาไว้ ตีความในชั้นเชิงการเมืองได้ว่า ถึงตอนนี้ถ้าอยากเลือกตั้งเร็วก็ปล่อยให้สภาผู้แทนฯ ครบวาระในวันที่ ๒๓ มีนา จะได้เลือกตั้งในวันที่ ๗ พฤษภา ตามที่ กกต.เคาะเอาไว้ แต่ถ้าขยับไม่ทัน

ก็ใช้กล (ประ) ยุทธ์ ชิงยุบสภาก่อนวันครบวาระ จะเป็นวันใดวันหนึ่งนับแต่วันนี้ พรุ่งนี้ ๑๕-๑๖ มีนา จนถึงวันที่ ๒๒-๒๓ มีนา “จะทำให้กรอบระยะเวลาในการกำหนดวันเลือกตั้ง จะเกินวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖” เลยไปโน่น ๒๓ พฤษภา

แต่ ไอลอว์ บอกว่า ตามธรรมเนียมปฏิบัติ กกต.มักจักต้องกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันอาทิตย์ ฉะนั้นถ้าประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเลือกยุบสภาในช่วง ๗ วันต่อไปนี้ การเลือกตั้งจะไปลงตรงวันที่ ๒๑ พฤษภา ภายในกำหนด

“ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน” ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๐ ยิ่งชีพ (เป๋า) @yingcheep แห่งไอลอว์ถึงกับโพล่งผรุสวาทว่า “เดาไว้แล้วว่าความเหี้ยขนาดนี้เกิดได้” ก็รัดทำนวยเขาเขียนไว้นี่

ถ้าสภาฯ อยู่ครบวาระถึงวันที่ ๒๓ มีนา มาตรา ๑๐๒ กำหนดว่า “พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุด”

โดยที่ กกต.มีเวลาภายใน ๕ วัน ในการกำหนดวันเลือกตั้ง (ตามมาตรา ๑๒ พรป.การเลือกตั้ง) แต่ กกต.ก้เคาะไว้แล้ว ว่าจะประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทันที ในวันที่ ๒๔ มีนา ตานี้มีคน ทักจากการคอมเม้นต์บนเพจไอลอว์ ว่า

ไม่มีเหตุให้อ้างยุบสภาได้ “เพราะไม่มีความขัดแย้งในสภา ดังนั้น การยุบสภาจึงเป็นโมฆะได้ ผู้ใช้อำนาจจะมีความผิดไปด้วย ผู้สมัครจำนวนมากที่ย้ายพรรคยังไม่ครบตาม รธน. จึงกลายเป็นสัมภเวสี ขาดคุณสมบัติทันที”

ไม้ตีพริก @MikTy_PriZe ว่า “น่าสนุกนะครับ ถ้ามีคนร้องเรียน”

(https://www.ilaw.or.th/node/6282)