วันเสาร์, มีนาคม 11, 2566

"ขุนแผน-มานี" นอกจากไม่ขัดขืนแล้ว เขายังไลฟ์หน้าศาลฎีกาแทบทุกวัน หลบหนีห่าอะไรวะ



ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
13h
เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 เวลาประมาณ 16.00 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งกรณีของ เชน ชีวอบัญชา สื่ออิสระเพจ “ขุนแผน แสนสะท้าน” วัย 55 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าจับกุมระหว่างปักหลักที่หน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก ก่อนนำตัวไปดำเนินคดีที่ สน.ยานนาวา ต่อมายังมีการจับกุมเงินตา คำแสน หรือ “มานี” หนึ่งในผู้ชุมนุมอิสระวัย 43 ปี ในคดีเดียวกันอีกด้วย
.
การจับกุมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้แสดงหมายจับที่ออกโดยศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 24 ม.ค. 2566 มี พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร รองผู้กำกับการสอบสวน สน.ยานนาวา เป็นผู้ร้องขอออกหมาย ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี, ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเชนไม่เคยได้รับหมายเรียกใดๆ มาก่อน
.
เจ้าหน้าที่ได้นำตัวเชนขึ้นรถตำรวจ ไปยัง สน.พหลโยธิน ซึ่งเป็นท้องที่จับกุมก่อน จากนั้นจึงนำตัวไปยัง สน.ยานนาวา ซึ่งเป็นสถานีตำรวจเจ้าของคดี โดยไปถึงสถานีในเวลาประมาณ 16.45 น.
.
ในบันทึกจับกุม เจ้าหน้าที่ระบุชุดจับกุมว่ามีทั้งตำรวจจาก สน.ยานนาวา และ สน.พหลโยธิน รวมกัน 9 นาย โดยระบุว่าตำรวจชุดจับกุมได้สืบทราบว่าเชนได้มาปรากฏตัวอยู่บริเวณประตูหน้าศาลอาญา จึงเดินทางไปตรวจสอบ
.
ทั้งนี้เชนได้ร่วมปักหลักไลฟ์สดกิจกรรมทั้งที่หน้าศาลอาญาและศาลฎีกาในรอบเดือนที่ผ่านมาโดยตลอด แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เข้าจับกุมตามหมายที่ออกตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
.
ขณะเดียวกัน ระหว่างที่เชนถูกควบคุมตัวอยู่ภายใน สน.ยานนาวา เวลาประมาณ 18.25 น. มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้เข้าจับกุม “มานี” เงินตา คำแสน ที่เดินทางติดตามมาให้กำลังใจเชนที่หน้า สน.ยานนาวา โดยมีการแสดงหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ออกเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 และระบุข้อหาเช่นเดียวกันกับเชน ทั้งเงินตาก็ไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อนเช่นกัน
.
เงินตาได้ถูกตำรวจควบคุมตัวเข้าไปทำบันทึกจับกุมภายใน สน.ยานนาวา เช่นกัน โดยชุดจับกุมนอกจากตำรวจ สน.ยานนาวา แล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการตํารวจนครบาล 6 ร่วมด้วย
.
.
หลังทนายความเดินทางติดตามไปที่ สน.ยานนาวา พ.ต.ท.ฐิติวัชร์ พรศิวัฒน์ และ พ.ต.ท.อินศร อุดติ๊บ คณะพนักงานสอบสวนได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาต่อเชนและเงินตา ใน 4 ข้อกล่าวหาที่ระบุตามหมายจับของทั้งสองคน
.
พฤติการณ์ในคดีระบุว่ามี สำนักงานศาลยุติธรรม โดยนายสุรศักดิ์ กิจชาลารัตน์ เป็นผู้รับมอบอำนาจกล่าวหาในคดีนี้ โดยระบุว่าเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 เวลาประมาณ 17.00-18.20 น. ผู้ต้องหาทั้งสองคน กับพวก ได้จัดกิจกรรม “ยืนบอกเจ้าว่าเราโดนรังแก” บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยมีการปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันชูป้ายและติดป้ายข้อความอันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ซึ่งเกี่ยวข้องหรือมุ่งหมายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย ได้แก่ “ใบปอ” และ “บุ้ง” ในขณะนั้น
.
นอกจากนี้แล้ว จากการตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ พบว่าผู้ต้องหาทั้งสองกับพวก ได้เปิดเพลงและร่วมกันร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ที่มีเนื้อหาเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ โดยข้อกล่าวหาได้ยกเนื้อร้องของเพลงดังกล่าวมาประกอบ
.
เชนและเงินตาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่ได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ ขณะเดียวกันยังไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนนี้ ระบุว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง และผู้ต้องหามีพฤติการณ์ในการกระทำผิดชัดเจน จึงคัดค้านการประกันตัว และจะนำตัวทั้งสองคนไปขอฝากขังต่อศาลในวันรุ่งขึ้น ทำให้ทั้งสองคนถูกควบคุมตัวไว้ที่ สน.ยานนาวา ในคืนที่ผ่านมา
.
.
จนวันที่ 10 มี.ค. 2566 เวลาประมาณ 9.00 น. พนักงานสอบสวนได้นำตัวทั้งสองคนไปยื่นขอฝากขังที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ขณะที่ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง ศาลจึงให้มีการไต่สวนการฝากขัง
.
จนเวลา 15.20 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองคน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการจับกุมโดยชอบ พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิและแจ้งข้อกล่าวหาโดยชอบแล้ว พนักงานสอบสวนยังเบิกความยืนยันว่ามีความจำเป็นต้องสอบปากคำพยานและส่งตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหา อีกทั้งคดีมีอัตราโทษสูง และการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น จึงเห็นว่าพนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหา และมีตัวผู้ต้องหาไว้ในวันฟ้อง เว้นแต่มีการปล่อยชั่วคราว
.
ต่อมาทนายความได้ยื่นขอประกันตัวทั้งสองคน ก่อนที่เวลา 16.15 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน โดยระบุว่าพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน ประกอบกับคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าพฤติกรรมของผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นเรื่องร้ายแรง คดีมีอัตราโทษสูง ดังนั้นหากปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ลงนามคำสั่งโดยนายไพบูลย์ ทองน่วม
.
ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้เชนจะถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเงินตาถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง โดยเป็นการถูกคุมขังครั้งที่ 2 ของเงินตา หลังเคยถูกคุมขังในคดีดูหมิ่นศาลเป็นเวลา 9 วันเมื่อปี 2565
.
ทั้งนี้น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้มีคดีที่มีประชาชนถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 เกี่ยวกับการร้องหรือเปิดเพลง #โชคดีที่มีคนไทย ของวงไฟเย็น มาแล้วอย่างน้อย 4 คดี ทั้งคดีของวรัณยา, คดีของวรินทร์ทิพย์, คดีของโชคดี 2 คดี ทั้งหมดศาลอนุญาตให้ประกันตัว
.
ในส่วนทั้งเชนและเงินตาถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีแรก สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นับตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมา มีสถิติเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 236 คน ในจำนวน 256 คดี
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/54209