วันศุกร์, มีนาคม 03, 2566

โลกสมัยใหม่ คำพิพากษาของศาล ถูกตรวจสอบในที่สาธารณะ


.....
Pat Niyomsilp
13h ·
ปิดเว็บ No.112 คือ การปิดกั้นกระบวนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
คดีนี้ ผมไปนั่งรอเบิกความเห็นทางวิชาการตาม General Comment 34 - Right of Access to Information และความสัมพันธ์ระหว่าง เสรีภาพในการแสดงออกกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง (GC34 para 20)
รายละเอียด: https://www2.ohchr.org/english/bodies/hrc/docs/gc34.pdf
ปรากฎศาลไม่ให้เข้าสืบ ประเด็นข้อกฎหมายศาลตัดสินเองได้
ข้อน่าสังเกตในกรณีปิดเว็บล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายยกเลิก ป.อ. 112 คือ ศาลจะต้องบอกได้ว่า "ข้อความ" อะไรที่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และการปิดเว็บที่รับรายชื่อทั้งเว็บเพื่อ censor ข้อความดังกล่าว สอดคล้องกับหลักความจำเป็นและความได้สัดส่วนอย่างไร
ส่วนตัว ลำพังคำว่า "สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมือง" ไม่อาจเป็นข้อความที่ก่อให้เกิดความจำเป็น ถึงขนาดต้องปิดเว็บที่ประชาชนเปิดขึ้นเพื่อเข้าชื่อใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
ที่แน่ ๆ เป็นสถาบันทางการเมืองหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ศาลตัดสิน เป็นหน้าที่ของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ต่างหากในการคิดวิเคราะห์
หน้าที่ศาลในคดีนี้คือพิเคราะห์ว่า เจ้าหน้าที่รัฐจะปิดเว็บนี้ได้ มีเหตุผล ความจำเป็น เพียงพอหรือไม่ ใช้อำนาจรัฐได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ เพราะศาลต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบและสร้างสมดุล (check and balance) การใช้อำนาจรัฐ
แม้สมมติว่าบนเว็บมีข้อความที่ผิดกฎหมาย ผมยังเห็นว่าการปิดเฉพาะบางส่วนหรือถมดำบางคำ น่าจะเป็นวิธีที่ได้สัดส่วนมากกว่าปิดเว็บ การปิดเว็บทั้งเว็บที่รวบรวมรายชื่อมีผลไม่ต่างกับการปิดสำนักพิมพ์เลยทีเดียว


iLaw
1d
ศาลอาญา ชี้ถ้อยคำ "...สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมือง..." บิดเบือนข้อเท็จจริงและกฎหมาย ยืนยันปิดเว็บลงชื่อ ยกเลิก112
.
1 มีนาคม 2566 ศาลอาญามีคำสั่ง ยืนยันคำสั่งระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ no.112.org ที่คณะราษฎรยกเลิก 112 (ครย.112) ใช้เป็นช่องทางออนไลน์ในการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะเข้าชื่อให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยให้เหตุผลว่าถ้อยคำที่อธิบายเหตุผลของการยกเลิกว่า "สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมือง" ที่ปรากฎในส่วนเหตุผลของร่างกฎหมายซึ่งอยู่บนเว็บไซต์ เข้าข่ายเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและกฎหมาย
.
เบื้องต้นศาลนัดอ่านคำสั่งที่ห้องพิจารณาคดี 910 ซึ่งเป็นห้องที่ใช้ดำเนินการไต่สวนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ในวันนี้ศาลนัดพิจารณาคดีอื่นพร้อมกันหลายคดีทำให้มีคนที่ต้องเข้าห้องพิจารณาคดีพร้อมกันจำนวนมาก จึงให้ย้ายไปอ่านคำสั่งที่ห้องพิจารณาคดี 915 ซึ่งเป็นห้องขนาดใหญ่
.
ในเวลา 14.00 น. ศาลอ่านคำสั่งโดยสรุปได้ว่า
.
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 20 (ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลหรือลบข้อมูล) มุ่งระงับการแพร่หลายหรือลบข้อมูลเพื่อป้องกันความเสียหายเป็นวงกว้างและรวดเร็ว การไต่สวนฝ่ายเดียวที่ทำไปก่อนหน้านี้แล้วจึงทำได้ เพื่อให้รวดเร็วสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ประกอบกับไม่มีกฎหมายห้ามศาลให้ไต่สวนฝ่ายเดียว
.
ประเด็นการเสนอแก้ไขกฎหมายโดยประชาชน แม้จะทำได้ แต่หลักการและเหตุผลในการแก้ไขต้องอยู่บนพื้นฐานความสุจริตและชอบธรรม คำว่า "สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมือง" เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติ ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมือง ข้อความดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ยกคำคัดค้าน
.
ทนายความที่ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ที่เดินทางไปฟังคำสั่งที่ศาลอาญาให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำสั่งออกมาในวันนี้ ทนายความนำคำแถลงปิดคดีของคดีนี้มายื่นต่อศาลในช่วงบ่ายวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีสาระสำคัญคือ
.
การเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามการแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เอาไว้ เนื้อหาที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้มีเพียงร่างกฎหมาย และแบบฟอร์มให้ลงลายมือชื่อ ไม่มีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ไม่มีข้อความใดเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น นอกจากนั้นการตีความข้อกฎหมายยังต้องทำโดยไม่ให้กระทบสาระสำคัญของการใช้สิทธิเสรีภาพจนส่งผลให้ไม่สามารถใช้เสรีภาพได้ ทนายความยังแถลงโต้แย้งกรณีที่ศาลให้ตัดพยานผู้เชี่ยวชาญด้วยว่าไม่ชอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
.
แต่ปรากฎว่าเอกสารติดค้างอยู่กับส่วนงานที่รับเอกสาร เมื่อถึงเวลานัดอ่านคำสั่ง ศาลสอบถามทนายความว่าไม่ได้ยื่นคำแถลงปิดคดีใช่หรือไม่ เพราะศาลยังไม่ได้รับ ทนายความจึงแถลงว่า ได้ยื่นคำแถลงแล้วตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ศาลจึงให้เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ติดตามเอกสารขึ้นมาส่งและนั่งอ่านคำแถลงของทนายความเสียก่อน เมื่ออ่านจบจึงได้กล่าวกับทนายความทำนองว่า พิจารณาแล้วคำแถลงไม่ได้มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จากนั้นศาลจึงอ่านคำสั่งยกคำร้องต่อไป
.
ทั้งนี้การระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ no112.org เป็นที่รับทราบโดยสาธารณะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หลังมีผู้ประสงค์ลงชื่อบางส่วนพยายามเข้าถึงเว็บไซต์และพบว่ามีข้อความว่าเว็บไซต์ถูกระงับการเผยแพร่ตามคำสั่งศาล ทางครย.112 จึงได้ไปยื่นหนังสือทวงถามที่กระทรวงดีอีในเดือนสิงหาคม 2565 จนได้ทราบว่ากระทรวงดีอีเป็นผู้ยื่นคำร้องให้ศาลระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ โดยในขั้นตอนดังกล่าวศาลไม่ได้เรียกผู้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ no.112.org ไป เข้ารับการไต่สวนชี้แจงข้อเท็จจริง
.
ทนายอานนท์ นำภา ในฐานะผู้ริเริ่มการเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้ยกเลิกมาตรา 112 แจึงได้มอบอำนาจให้ทนายความดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาล มีการไต่สวนคำร้องคัดค้านสำสั่งระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 จนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านออกมาในวันนี้ ส่งผลให้เว็บไซต์ no112.org ถูกระงับการเข้าถึงต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>> https://freedom.ilaw.or.th/node/1181
ดูข้อมูลการระงับการเข้าถึงเว็บไซต์โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ >>>https://ilaw.or.th/node/5742