วันเสาร์, พฤษภาคม 07, 2565
ศาลประเทศอื่นเค้าทำเพื่อประชาชนให้ได้ความยุติธรรม ศาลประเทศนี้ทำเพื่อพระราชา ทหารก็ของพระราชา นักศึกษา(บาง ม.)ก็ของพระราชา ควรมีการปฎิรูปศาล เห็นด้วย แต่จะทำได้อย่างไร ??
Atukkit Sawangsuk
Yesterday at 1:06 PM ·
อานนท์พูดที่เชียงใหม่ ว่าเติบโตมาจากการเป็นทนายสิทธิ ว่าความให้ชาวบ้าน ทั้งคดีการเมือง คดีสิ่งแวดล้อม คดีที่ถูกรัฐฟ้องหรือฟ้องรัฐ
นี่ชวนให้เปรียบเทียบกับพัฒนาการชีวิตผู้พิพากษาไทย
:
รู้ไหมครับว่า ผู้พิพากษาไทย เมื่อเปรียบเทียบประเทศอื่น แทบจะอายุน้อยที่สุดในโลก
เพราะจบนิติ จบเนติบัณฑิต ก็สอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาตอนอายุ 25 (แล้วอยู่ยาวถึง 65 เป็น พ.อาวุโสถึง 70)
โดยแทบไม่เคยเป็นทนาย ไม่มีประสบการณ์ใช้กฎหมายด้านอื่น
แม้มีข้อกำหนดว่าต้องผ่านประสบการณ์ ว่าความมากี่คดี ส่วนใหญ่ก็แค่ไปร่วมลงชื่อ ได้ทำคดีจริงๆน้อยมาก
:
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงประสบการณ์ทำคดีให้ชาวบ้าน ให้คนจน ให้คนด้อยโอกาส เสียเปรียบ ถูกกลั่นแกล้งรังแก ถูกตำรวจยัดข้อหา ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือนโยบายของรัฐ
ซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจ ถึงเงื่อนไขที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรม ก่อนจะไปนั่งสูงส่งอยู่บนบัลลังก์ พิพากษาในพระปรมาภิไธย
:
นี่กลายเป็นลูกคนชั้นกลาง
(หรือตอนหลังๆ ลูกคนมีเงินด้วยซ้ำ เพราะมีสอบสนามจิ๋ว สำหรับคนจบปริญญาโทเมืองนอก 2 ใบ)
ส่วนใหญ่จบมหาวิทยาลัย แล้วไปเรียนเนติบัณฑิต แล้วก็คร่ำเคร่งอ่านหนังสือสอบผู้ช่วยฯ สอบได้ก็เอาตัวไปอบรมจารีต ปลูกฝังกันในสังคมปิด เพื่อเป็นท่าน เป็นขุนนางเจ้ายศเจ้าอย่าง
เห็นทนายยังดูถูกด้วยซ้ำ พวกตีนโรงตีนศาล ไม่ได้มองเป็นวิชาชีพเดียวกัน ที่แบ่งหน้าที่กันทำ
นี่ไม่ได้พูดถึงคดีการเมืองเลยนะ
เอาแค่เข้าใจสังคม เข้าใจความเหลื่อมล้ำ ที่ทำให้เกิดความอยุติธรรม ก็อาจศูนย์สนิท
:
ในต่างประเทศนั้นต่างกัน เพราะเขาคัดคนอายุสูงกว่า เช่น 30-35 ซึ่งถือว่ามีวุฒิภาวะระดับหนึ่ง ผ่านงานกฎหมายมาระดับหนึ่ง
บางประเทศอย่างอังกฤษ มีองค์กรคัดเลือกคน ซึ่งดูจากผลงาน การทำคดี หรือพฤติกรรม ที่สั่งสมมาพอสมควร ไม่ใช่เอาคนอ่านหนังสือสอบอย่างเดียว (ใครสอบได้ที่หนึ่ง ได้เป็นประธานศาลฎีกา ในอีก 44 ปีข้างหน้า ก่อนเกษียณ)
:
ลองนึกภาพผู้พิพากษาหญิงผิวดำที่ไบเดนเพิ่งตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลสูง
เธอเป็นทนายให้ผู้ถูกคุมขังข้อหาก่อการร้าย ถูกซ้อมทรมานที่กวนตานาโมมาก่อน แล้วจึงมาเป็นผู้พิพากษา ที่ตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน
ศาลจะเรียกความเชื่อถือกลับมาไม่ได้ ถ้าไม่ปฏิรูปทั้งระบบ ทั้งการรับคน การตรวจสอบจากภายนอก และยอมรับคำวิจารณ์