Land Watch THAI จับตาปัญหาที่ดิน
Yesterday
จากเดิมต้องเสียภาษีในราคา 5 ล้านบาท ก็เหลือเพียง 7 แสนห้าหมื่นบาท จากการปลูกกล้วย 10,000 ต้น
Land Watch THAI จับตาปัญหาที่ดิน
13h
ปลูกกล้วยหลบภาษีที่ดินทิ้งร้าง ? ช่องโหว่ของ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
.
จากกรณี อิมแพ็ค อารีน่า โพสต์ภาพการปลูกต้นกล้วย จำนวน 10,000 ต้นที่ปลูกบนพื้นที่รกร้างริมทะเลสาบเมืองทองธานี เพื่อเป็นวัตถุดิบสนับสนุนครัวอิมแพ็ค และเพิ่มพื้นที่สีเขียวส่งเสริมสภาพแวดล้อม แต่กลับเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนที่เข้าไปแสดงความคิดเห็น ว่าในกรณีลักษณะแบบนี้เป็นการเลี่ยงภาษี พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 หรือไม่ ทีมงาน Land watch Thai จึงอยากชวนมาติดตามกันว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินภายใต้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีปัญหาและช่องโหว่อย่างไร ทำไมที่ดินแปลงใหญ่ๆ ที่เคยรกร้างว่างเปล่าไม่มีคนทำประโยชน์ใจกลางมหานครหลายๆ แปลง อยู่ดีๆ ก็เปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกกล้วยหอม มะนาว มะละกอ
.
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เป็นกฏหมายในการจัดเก็บภาษีที่ดินที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2562 โดยมีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ม.ค. 2563 ซึ่งจะมาแทนที่การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งจะถูกยกเลิกไป ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือขยายเวลาการบังคับใช้ออกไป เช่น เลื่อนการแจ้งประเมินภาษีจากเดือน ก.พ. 2563 เป็นภายในเดือน มิ.ย. 2563 และเลื่อนการชำระภาษีจากเดือน เม.ย. เป็นเดือน ส.ค. 2563 เนื่องจากกฎหมายลำดับรองซึ่งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
.
การออก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีเป้าหมายเพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินแต่ละประเภท โดยมีอัตราภาษีที่ต้องจ่าย คือ ที่ดินเกษตรกรรม 0.01-0.1% ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 0.02-0.1% ที่ดินพาณิชย์กรรมและอุตสาหกรรม 0.3-0.7% ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ 0.3-0.7%
.
แต่ในความเป็นจริง อปท.กลับมีรายได้ลดลงเป็นอย่างมาก ทั้งจากสถานการณ์โควิดและจากการลดภาระภาษีที่ดิน 90% ในช่วงสองปีแรกหลังการบังคับใช้กฎหมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บภาษีได้น้อย คือช่องโหว่ กรณีที่นำที่ดินรกร้างว่างเปล่า ผ่อนปรนไปทำเกษตรกรรม โดยกระทรวงการคลังมีการออกกฏกระทรวงมารองรับ ว่าพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต้องปลูกพืชชนิดใดบ้าง กี่ต้นต่อไร่ ซึ่งเป็นช่องทางในการลดค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินจริงในพื้นที่ เช่น กล้วยหอม 200 ต้น/ไร่ กาแฟ 170 ต้น/ไร่ มะม่วง 20 ต้น/ไร่ เป็นต้น และประเด็นการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินเกษตรและที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ที่ในความเป็นจริง โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัดหาได้ค่อนข้างยากที่มีจะที่ดินที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท
.
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 ในเต็มอัตรา 100 เปอร์เซนต์ ไม่มีการลดหย่อน จึงสร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับผู้ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งหากเป็นที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่าไม่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินจะอยู่ในข่ายเสียภาษีที่ดินในอัตรา 0.3% ซึ่งหากมูลค่าที่ดินราคา 10 ล้านบาทจะต้องเสียสูงถึง 3 หมื่นบาทต่อปี
.
การประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ก่อให้เกิดภาระภาษีแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ มีประชาชนจำนวนมากที่มีรายได้เพื่อยังชีพไม่มาก แต่มีที่ดินเป็นทรัพย์สินเพื่อให้ครอบครัวได้ใช้สอยตามฐานานุรูป เช่น ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นต้น ประชาชนกลุ่มนี้จึงไม่มีความสามารถในการชำระภาษีที่ดินตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมีความเห็นจากนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เสนอให้ลดการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านหลังหลักและที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรมไม่เกิน 5 ล้านบาทจาก 50 ล้านบาท และให้ครอบคลุมที่ดินทุกประเภท ซึ่งจะเป็นการยกเว้นภาษีให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้ได้ไม่มีกำลังใจในการจ่ายภาษี อีกทั้งยังช่วยขยายฐานภาษี ทำให้ อปท. มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย
.
ทั้งนี้ ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย The Analysis of Land and Building Tax Collection in Thailand (หน้า 4-2 4-3 และ 4-5) ชี้ให้เห็นว่า มูลค่าทรัพย์สินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลังหลักตัวอย่างไม่เกินห้าล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๓๙ ของมูลค่าทรัพย์สินรวม และสัดส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สินของที่ดินที่ใช้ประกอบเกษตรกรรมตัวอย่างไม่เกินห้าล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๘๐ ของมูลค่าทรัพย์สินรวม (หากไม่เกินยี่สิบล้าน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๙๙) จะเห็นว่าการจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านหลังหลัก มีผู้ที่ต้องจ่ายภาษีประมาณร้อยละ 18 เท่านั้น ส่วนที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม จะมีผู้ที่ต้องจ่ายภาษีประมาณร้อยละ 40
นอกจากนั้น การจัดเก็บภาษีตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ควรจัดเก็บให้สอดคล้องกับเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินกฎหมายผังเมือง เช่น เขตการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชย์กรรม หรือเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เช่น กรณีริมทะเลสาบเมืองทองธานีที่อยู่ในผังเมืองสีส้ม เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น และพื้นที่สีแดงบางส่วนซึ่งเป็นพื้นที่พาณิชย์กรรม ถ้ามีการใช้ประโยชน์ไม่ตรงกับข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองที่ระบุไว้ต้องถือว่าไม่ได้เกิดการใช้ประโยชน์จริงตามพื้นที่ จะมาปลูกกล้วยเพื่อเลี่ยงภาษีไม่ได้
อ้างอิง
https://www.facebook.com/IMPACTvenue/posts/pfbid02uA53JGDJpZ11Jud3YpDAMtoq3NXPdGyiAih2wEffq9AvM5AFTrpHUyrCK4ooNBt7l
https://www.tcijthai.com/news/2020/7/scoop/10630
https://www.thansettakij.com/property/492603...
https://www.thansettakij.com/property/525286...
https://urbangis.nont-pro.go.th/nontmap/
https://hilight.kapook.com/view/223941
https://brandinside.asia/tax-law-for-agricultural-land.../
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../2563/E/126/T_0020.PDF
https://www.posttoday.com/economy/news/625057
นอกจากรวยแล้วใช้เทคนิคหลบภาษี..จะพากล้วยล้นตลาดพาให้ราคากล้วยเกษตรกรตัวจริงตกต่ำอีก.. pic.twitter.com/TXhdSG8cEj
— แมวเกเร (@Unrulycat2511) May 24, 2022