เมื่อเดือนก.ย.2557 กลุ่มกปปส.ได้ยื่นฟ้องศาลแพ่ง เพื่อให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมิชอบและยังไม่มีเหตุจำเป็น โดยศาลแพ่งพิพากษาว่ากฎหมายให้อำนาจฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด จึงไม่มีการเพิกถอน แต่ศาลได้มีคำสั่งห้ามรัฐบาลในฐานะจำเลย 9 ข้อด้วยกัน ประกอบด้วย
1.ห้ามจำเลย มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม
2. ห้ามจำเลยยึดอายัด สินค้า อุปโภค บริโภค ที่ใช้ในการสนับสนุนการชุมนุม ของโจทก์ และผู้ชุมนุม
3.ห้ามจำเลย ตรวจค้น รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ของผู้ชุมนุม
4.ห้ามจำเลย ห้าม ผู้ชุมนุมซื้อขายสิค้า เครื่องอุปโภค บริโภคที่ใช้ในการชุมนุม
4.ห้ามจำเลย ห้าม ผู้ชุมนุมซื้อขายสิค้า เครื่องอุปโภค บริโภคที่ใช้ในการชุมนุม
5.ห้ามจำเลย ปิดการจราจรเส้นทางคมนาคม
6.ห้ามจำเลย สั่งห้ามชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
7.ห้ามจำเลย สั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ตามที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ
7.ห้ามจำเลย สั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ตามที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ
8.ห้ามจำเลย สั่งผู้ชุมนุมห้ามใช้อาคาร
9.ห้ามจำเลย มีคำสั่งห้ามบุคคล เข้า และ ออก พื้นที่การชุมนุม
ที่มา
เปิดบรรทัดฐาน ‘ศาลแพ่ง’ ประกาศพ.ร.ก.ได้ แต่ห้ามสลายม็อบ
กรุงเทพธุรกิจ
.....
iLaw
17h ·
ศาลแพ่ง "ไม่คุ้มครอง" ม็อบ #NoNpoBill จากการบังคับใช้ข้อกำหนดควบคุมโรคตาม #พรกฉุกเฉิน ศาลรับรองว่า โจทก์มีเสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุม แต่การคุ้มครองจะไม่ได้สัดส่วน และไม่มีเหตุอันสมควร
.
27 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายคัดค้านพ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชนชุมนุมปักหลักบริเวณหน้าอาคารสหประชาชาติ เข้าสู่วันที่ 5 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของภาคประชาสังคม และถูกกดดันจากตำรวจให้ย้ายที่ชุมนุม โดยในช่วงเวลาที่ชุมนุมมีกฎหมายที่ให้อำนาจตำรวจสั่งห้ามหรือสลายการชุมนุมได้ คือ ข้อกำหนดที่ออกมาเพื่อควบคุมโรคโควิด ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น
ตัวแทนของผู้ชุมนุมจึงไปฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้ยกเลิกข้อกำหนดที่สั่งห้ามชุมนุมตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยเห็นว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิดสามารถควบคุมได้ และเตรียมการให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น การห้ามชุมนุมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อขัดขวางการการแสดงออก ของประชาชนยิ่งกว่าการป้องกันโรคตามกฎหมาย และขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้ตำรวจบังคับใช้ข้อกำหนดนี้ เพื่อให้ประชาชนชุมนุมได้
ชวนดูสรุปคำฟ้องคดีนี้ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6151
ชวนดูสรุปร่างพ.ร.บ.ที่ผู้ชุมนุมคัดค้าน ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6112
.
27 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 น. ศาลแพ่งนัดอ่านคำสั่งชั้นขอคุ้มครองชั่วคราว ให้ยกคำร้อง ดังนี้
พิเคราะห์คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสามนำเข้าไต่สวนแล้ว เห็นว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมในนามกลุ่มคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน ทำกิจกรรมคัดค้านและเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากการพิจารณา ร่างกฏหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นซึ่งถือเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออก หรือจัดกิจกรรมต่างๆได้ตามรัฐธรรมนูญ
แต่การชุมนุมเป็นวิธีการแสดงออกประการหนึ่งในหลายประการที่โจทก์ทั้งสามสามารถกระทำได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม การที่โจทก์ทั้งสามขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยฉุกเฉิน โดยขอให้ระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 15 ข้อ 3 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ฉบับที่ 37 ข้อ 2 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ของจำเลยที่ 1 และประกาศฉบับที่ 14 ของจำเลยที่ 2 โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนดฉบับที่ 10 ห้าข้อสามฉบับที่สาม 17 ข้อสองฉบับที่ 14 และห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และเจ้าพนักงานภายใต้บังคับบัญชาในสังกัดของจำเลยที่หกนำมาตรการ คำสั่ง หรือการกระทำใดใดตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ทั้งสามและประชาชน รวมถึงการห้ามกีดขวางและนำอุปกรณ์สิ่งของที่ไม่ได้กำหนดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 มากีดขวางการใช้เสรีภาพในการชุมนุมไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เห็นว่าข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวนั้น ใช้บังคับโดยทั่วไปต่อพลเมืองในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร หากมีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้โดยเฉพาะ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามชุมนุมคัดค้านและเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีถอนร่างกฎหมายจากการพิจารณา นอกจากนี้ตามประกาศฉบับที่ 14 ของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ห้ามการชุมนุมโดยเด็ดขาด เพียงจะต้องยื่นขออนุญาตดังนี้ เมื่อเปรียบเทียบแล้วยังไม่ได้สัดส่วนกับข้ออ้างในการชุมนุมของโจทก์ทั้งสาม กรณียังไม่มีเหตุฉุกเฉินทั้งไม่มีเหตุสมควรที่แท้จริงที่จะระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวในระหว่างพิจารณา
จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ที่มา
เปิดบรรทัดฐาน ‘ศาลแพ่ง’ ประกาศพ.ร.ก.ได้ แต่ห้ามสลายม็อบ
กรุงเทพธุรกิจ
.....
iLaw
17h ·
ศาลแพ่ง "ไม่คุ้มครอง" ม็อบ #NoNpoBill จากการบังคับใช้ข้อกำหนดควบคุมโรคตาม #พรกฉุกเฉิน ศาลรับรองว่า โจทก์มีเสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุม แต่การคุ้มครองจะไม่ได้สัดส่วน และไม่มีเหตุอันสมควร
.
27 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายคัดค้านพ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชนชุมนุมปักหลักบริเวณหน้าอาคารสหประชาชาติ เข้าสู่วันที่ 5 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของภาคประชาสังคม และถูกกดดันจากตำรวจให้ย้ายที่ชุมนุม โดยในช่วงเวลาที่ชุมนุมมีกฎหมายที่ให้อำนาจตำรวจสั่งห้ามหรือสลายการชุมนุมได้ คือ ข้อกำหนดที่ออกมาเพื่อควบคุมโรคโควิด ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น
ตัวแทนของผู้ชุมนุมจึงไปฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้ยกเลิกข้อกำหนดที่สั่งห้ามชุมนุมตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยเห็นว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิดสามารถควบคุมได้ และเตรียมการให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น การห้ามชุมนุมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อขัดขวางการการแสดงออก ของประชาชนยิ่งกว่าการป้องกันโรคตามกฎหมาย และขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้ตำรวจบังคับใช้ข้อกำหนดนี้ เพื่อให้ประชาชนชุมนุมได้
ชวนดูสรุปคำฟ้องคดีนี้ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6151
ชวนดูสรุปร่างพ.ร.บ.ที่ผู้ชุมนุมคัดค้าน ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6112
.
27 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 น. ศาลแพ่งนัดอ่านคำสั่งชั้นขอคุ้มครองชั่วคราว ให้ยกคำร้อง ดังนี้
พิเคราะห์คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสามนำเข้าไต่สวนแล้ว เห็นว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมในนามกลุ่มคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน ทำกิจกรรมคัดค้านและเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากการพิจารณา ร่างกฏหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นซึ่งถือเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออก หรือจัดกิจกรรมต่างๆได้ตามรัฐธรรมนูญ
แต่การชุมนุมเป็นวิธีการแสดงออกประการหนึ่งในหลายประการที่โจทก์ทั้งสามสามารถกระทำได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม การที่โจทก์ทั้งสามขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยฉุกเฉิน โดยขอให้ระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 15 ข้อ 3 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ฉบับที่ 37 ข้อ 2 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ของจำเลยที่ 1 และประกาศฉบับที่ 14 ของจำเลยที่ 2 โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนดฉบับที่ 10 ห้าข้อสามฉบับที่สาม 17 ข้อสองฉบับที่ 14 และห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และเจ้าพนักงานภายใต้บังคับบัญชาในสังกัดของจำเลยที่หกนำมาตรการ คำสั่ง หรือการกระทำใดใดตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ทั้งสามและประชาชน รวมถึงการห้ามกีดขวางและนำอุปกรณ์สิ่งของที่ไม่ได้กำหนดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 มากีดขวางการใช้เสรีภาพในการชุมนุมไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เห็นว่าข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวนั้น ใช้บังคับโดยทั่วไปต่อพลเมืองในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร หากมีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้โดยเฉพาะ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามชุมนุมคัดค้านและเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีถอนร่างกฎหมายจากการพิจารณา นอกจากนี้ตามประกาศฉบับที่ 14 ของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ห้ามการชุมนุมโดยเด็ดขาด เพียงจะต้องยื่นขออนุญาตดังนี้ เมื่อเปรียบเทียบแล้วยังไม่ได้สัดส่วนกับข้ออ้างในการชุมนุมของโจทก์ทั้งสาม กรณียังไม่มีเหตุฉุกเฉินทั้งไม่มีเหตุสมควรที่แท้จริงที่จะระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวในระหว่างพิจารณา
จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ