Jom Petchpradab
May 27
“ผู้พิพากษาคดี 112 “ ทำลายอนาคต-ทำลายศรัทธากระบวนการยุติธรรมไทย..หรือไม่?
แม้ว่า “น้องตะวัน” ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวออกมาแล้ว หลังจากอดอาหารมาเป็นเวลาเดือนกว่า เพื่อประท้วงที่ศาลไม่ยอมปล่อยตัวชั่วคราวในคดี 112
แต่ยังมีน้อง ๆ อีกหลายคนที่ยังถูกขุมขังในคดีเดียวกันโดยที่ศาลไม่ยอมปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อออกมาสู้คดี เป็นการคุมขังซึ่งเท่ากับได้ลงโทษไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่ามีความผิด แม้โดยหลักการในกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องเชื่อไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธ์หากศาลยังไม่ตัดสินจนถึงที่สุด
แต่กระนั้นผูพิพากษาในศาลหลายคนก็ไม่ใส่ใจต่อหลักการนี้ ยึดเพียงเป็นคดีสำคัญที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าคดีฆ่าคนตาย หรือแม้แต่การข่มขืนกระทำชำเลาหญิงเป็นสิบๆ คน ทั้งที่ ๆ ผลเสียหายหรือความเสียหายอย่างชัดเจนจริงในคดี 112 ไม่เห็นชัดด้วยซ้ำ ขณะที่ฆ่าคนตายหรือข่มขืนกระทำชำเรามีผู้เสียหายแล้วเป็นจำนวนมาก
นี่คือหลักแห่งความเบี่ยงเบนขององค์กรตุลาการ ข้าราชการตุลาการ ผู้พิพากษาที่ไม่ยึดมั่นอยู่ในหลักความยุติธรรมอย่างแท้จริง จนทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยไม่เชื่อมั่นศรัทธาของคนไทยและชาวโลกในขณะนี้
ผู้ต้องหาคดี 112 ส่วนใหญ่แล้วเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่าศาลจะไม่อนุญาตให้ประกันตัว จนเกิดกระแสเรียกร้องกดดันไปยังองค์กรศาล หรือองค์กรตุลาการ โดยการเปิดเผยชื่อผู้พิพากษาในโลกโซเชี่ยล และมีการวิจารณ์รวมทั้งกล่าวโจมตีผู้พิพากษาเป็นรายบุคคล
ข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ในเอกสารของบางคดีที่เกี่ยวข้องกับ ม.112 ศาลเลือกที่จะไม่ระบุเชื่อผู้พิพากษาไว้ท้ายคำสั่ง เช่น กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ สมยศ พฤกษาเกษมสุข และหมอลำแบงค์ -ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 นั้นคำสั่งปรากฎเพียงลายเซ็น แต่ไม่ได้พิมพ์ชื่อตัวบรรจงผู้พิพากษาที่ลงคำสั่งกำกับไว้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ 19 เมษายน 2565 พริษฐ์ ปิยะนราธร ผู้พิพากษาในคดีไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันตัวของ ลูกเกด-ชลธิชา แจ้งเร็ว ได้กล่าวถึงกรณีผู้พากษาถูกเผยแพร่ชื่อบนโลกออนไลน์ในช่วงท้ายการไต่สวนว่า การกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้พิพากษาตกเป็นเป้าโจมตีของสาธารณชน พร้อมตักเตือนในกรณีที่นายความเป็นผู้โพสต์ จะทำเรื่องแจ้งสภาทนายความให้รับทราบ ส่วนกรณีที่ประชาชนเป็นผู้กระทำ จะมอบหมายไปยังสำนักงาของศาลให้ดำเนินคดีต่อไป
ประเด็นการไม่ลงชื่อผู้พิพากษาเคยถูกหยิบยกมาตั้งคำถามโดยภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่านการส่งหนังสือถึงอธิบดีศาลอุทรณ์ โดยระบุถึงกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว พริษฐ์ ชิวารักษ์ ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งไม่ปรากฎชื่อผู้พิพากษาท้ายคำสั่งว่า การกระทำดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.10 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปที่บัญญัติว่า ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำ สำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวนต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น
และสำนวนที่ระชื่อผู้พิพากษา ระบุชื่อศาล สถานที่ วันเดือนปีที่จดดังกล่าวก็สามารถเผยแพร่ต่อสถาธารณชน และสามารถเผยแพร่ชื่อผู้พิพากษาแต่ละคนได้ด้วย
ดังนั้นจึงขอสรุปข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กรณี ผู้พิพากษาจำนวน 6 คนที่ลงนามคัดค้านการประกันตัว ไม่ให้ประกันตัว และถอนการประกันตัวผู้ต้องหาในคดี 112 ตั้งแต่ปี 2564 – 2565 ในแต่ละคดีมีดังต่อไปนี้
อรรถการ ฟูเจริญ.
1 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว 3 สมาชิกทะลุฟ้า
1 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว ไพทูรย์ - สุขสันต์
4 พ.ย. 64 ไม่ให้ประกันตัว 15 ผู้ต้องขังทางการเมือง
9 ธ.ค. 64 ไม่ให้ประกัน 4 ผู้ชุมนุม
22 ม.ค. 65 ถอนประกัน 6 สมาชิกทะลุฟ้า
22 ม.ค. 65 ไม่ให้ประกันตัวชายภูเก็ตข้อหา ม.112
22 ก.พ. 65 ไม่ให้ประกันตัว ไพทูรย์ - สุขสันต์
2 มี.ค. 65 ไม่ให้ประกันตัว จิตรกร
18 เม.ย. 65 ยกคำร้องขอปรันตัวเวหา
เทวัญ รอดเจริญ
9 ก.พ.64 ไม่ให้ประกันตัว 4 ราษฎร
24 มี.ค.64 ไม่ให้ประกันตัวเพนกวิน
29 เม.ย.64 ไม่ให้ประกันตัว 7 ราษฎร
31 ส.ค.64 ยกคำร้องขอย้ายตัวเพื่อรักษาอาการของเพนกวิน
สันติ ชูกิจทรัพย์โพศาล
15 พ.ย.64 ไม่ให้ประกันตัว ปนัสยา
15 มี.ค 65 ยกคำร้อง รวิสรา ที่ขอออกนอกประเทศไปเรียนต่อ
29 มี.ค.65 ยกคำร้องรวิสรา ขอออกนอประเทศไปเรียนต่อ
ชาญชัย ณ พิกุล
21 ต.ค.64 ไม่ให้ประกันตัว ยาใจ ทะลุฟ้า
14 ธ.ค.64 ไม่ให้ประกันตัว อาทิตย์ ทะลุฟ้า - จิตรกร
11 มี.ค.65 ไม่ให้ประกันตัว เวลา
พริษฐ์ ปิยะนราธร
8 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัวขจรศักดิ์ คเชนทร์
19 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว อานนท์
22 พ.ย. 64 ถอนประกันตัว ปนัสยา
25 ธ.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว 4 ราษฎร
20 เม.ย.65 ถอนประกันตัว ทานตะวัน
เนตรดาว มโนธรรมกิจ
29 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว เบนจา
8 พ.ย. 64 ไม่ให้ประกันตัว เบนจา
19 พ.ย. 64 ไม่ให้ประกันตัว พิชัย นฤเบศร์ ทะลุแก๊ซ
7 ธ.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัวเบนจา 2 คดี
21 มี.ค.65 ยกคำร้อง รวิสรา ที่ขอออกนอกประเทศไปเรียนต่อ ( ท้ายสุดอนุญาตหลังจากขอไป 7 ครั้ง )
นี่ไม่ใช่การประนาม หรือการโจมตี แต่เป็นเพียงให้ผู้พิพากษาเหล่านี้มีความกล้าหาญยอมรับในสิ่งที่ได้กระทำลงไป หากท่านยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนหลักความยุติธรรมอย่างแท้จริงแก่ผู้ต้องหาก็กล้าพอที่จะเปิดเผยตัวตนให้สาธารณชนได้รับรู้ไม่ควรใช้กฎหมายมาข่มขู่ว่ากระทำไม่ได้ และขู่จะเอาผิดกับคนที่เผยแพร่ชื่อเหล่านี้
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้พิพากษาทั้งหลายได้ทราบว่าทุกการกระทำของท่านเป็นไปเพื่อรักษาดำรงความยุติธรรมให้มั่นคงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมไทยหรือไม่...ประชาชนไทยรู้ดี.