ศาลรัฐธรรมนูญถูกนะครับ
Atukkit Sawangsuk
7h ·
ว่าตามหลักกฎหมายเป๊ะๆ
ศาลรัฐธรรมนูญถูกนะครับ
ถ้ายึดตามหลักอำนาจอธิปไตย
ไม่สามารถเอาคำพิพากษาประเทศอื่นมาใช้บังคับ ยกเว้นเป็นกรณีมีสนธิสัญญา ส่งตัว จำคุกต่อ ฯลฯ ทางอาญา
ยิ่งเอามาใช้กับรัฐธรรมนูญยิ่งไม่ใช่
อันนี้เป็นหลักสากลทั่วโลก
:
ลองนึกดูว่า ถ้าเป็นประเทศอารยะ คนของเขาถูกตัดสินยาเสพติดในประเทศเผด็จการล้าหลัง เขาก็จะไม่ยอมรับ สงสัยว่ายัดยาหรือเปล่า
แม้ต้องติดคุกในประเทศนั้น แต่ก็จะไม่เอาไปเป็นประวัติ ไม่เอาไปมีผลต่อหน้าที่การงาน
แม้เราบอกว่ากลับกัน ออสเตรเลียน่าเชื่อถือกว่าไทย
แต่มันก็เป็นหลักสากลทั่วโลกไง ทุกประเทศจะยึดหลักอย่างนี้
:
เพียงแต่เวลาศาลตัดสินอะไรถูกๆ มักไปถูกกับพวกรัฐบาล
แล้วมันก็มี “สองมาตรฐาน” เปรียบเทียบ
เช่นธนาธร แค่ถือหุ้นสื่อที่ปิดตัวเองไปแล้ว โดนตัดสิทธิ
นี่ถูกจำคุกขนแป้ง ลอยหน้าลอยตาเป็นรัฐมนตรี
มันจึงเป็นวิบัติกฎหมาย วิบัติการใช้กฎหมาย
:
ฉะนั้น ในทางกฎหมายแม้ครั้งนี้ศาลยืนยันว่าถูก
แต่ในทางการเมืองเลี่ยงไม่ได้หรอกที่จะถูกถล่ม
ศาลยืนยันว่าถูกอย่างไร ก็ไม่มีประโยชน์
เพราะระบบมันเสื่อมหมดแล้ว
ไม่เหลือความเชื่อถือไว้วางใจ
ไม่มีใครเชื่อกฎหมาย เชื่อว่าทุกอย่างอยู่ที่อำนาจ
ต้องโค่นอำนาจก่อน จึงจะกลับมายอมรับระบบกฎหมาย
...
ไม่เห็นด้วย
เมื่ออาชญากรกลับบ้าน จงต้อนรับเขาดั่งผู้บริสุทธิ์ เหรอ...ติดคุกจริง
Puangthong Pawakapan
1h ·
เราไม่เห็นด้วยกับการอธิบายว่าเพราะอำนาจอธิปไตยทำให้ไทยไม่สามารถยอมรับอำนาจของศาลอื่นได้ ดังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่า
"หลักการปกครองของประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์มีหลักการสำคัญคือ ไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และไม่ถูกประเทศอื่นแทรกแซงกิจการภายในของตนโดยไม่มีการทำข้อตกลงยินยอม ดังนั้นการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศก็ดี การตีความให้คำพิพากษาของต่างประเทศมีสถานะที่ทางกฎหมายเช่นเดียวกับศาลไทย จึงไม่สอดคล้องกับหลักดังกล่าว"
พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ A ไม่เกี่ยวกับประเทศ B ประเทศ B ไม่มีอำนาจตัดสิน และไม่ต้องสนใจ
เมื่ออาชญากรกลับบ้าน จงต้อนรับเขาดั่งผู้บริสุทธิ์
ในความเป็นจริง หลักการนี้ถูกทำให้ยืดหยุ่นไปมากแล้ว โดยเฉพาะกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีลักษณะข้ามรัฐมากขึ้น เช่น สหรัฐฯมีกฎหมายเอาผิดกับคนอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเพศกับผู้เยาว์ เช่น พวกหนีไปเที่ยวต่างประเทศเพื่อหวังซื้อเซ็กซ์กับผู้เยาว์ เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมค้ามนุษย์ พอกลับประเทศก็ถูก FBI รวบตัว พวกนี้โดนมาเยอะแล้ว
สหรัฐฯ มีกฎหมายเอาผิดกับคนของอเมริกันที่เกี่ยวกับข้องกับการฟอกเงิน ติดสินบนข้าราชการประเทศอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเอง ... คงจำคดีผู้ว่าการ ททท. กับลูกสาวที่ติดคุกได้ กรณีนี้ก็เริ่มจากสหรัฐฯ ดำเนินคดีกับคนอเมริกันในคดีนี้ก่อน แล้วพอเป็นข่าวดัง เจ้าหน้าที่ในไทยจึงดำเนินคดีกับผู้ว่า ททท. กับลูกสาว
สหรัฐฯ ยังมีกฎหมายที่เอาผิดกับคนอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในต่างประเทศด้วย
ในกฎหมายระหว่างประเทศ เหตุการณ์ที่นำมาสู่การจับกุมเผด็จการออกัสโต ปิโนเช่ แห่งชิลีเมื่อปี 1988 ในระหว่างที่เขาเดินทางไปรักษาตัวที่ลอนดอนนั้น มาจากการที่ผู้พิพากษา Baltasar Garzón แห่งสเปน ออกหมายจับปิโนเช่ ในข้อหาสังหารและทรมานชาวสเปนในชิลีในช่วงปิโนเช่มีอำนาจอย่างน้อย 95 คน พอ Baltasar Garzón รู้ว่าปิโนเช่เดินทางมาอังกฤษ จึงแจ้งไปที่อังกฤษให้จับกุมปิโนเช่ไว้
ปิโนเช่ร้องว่าตนเองมีเอกสิทธิ์คุ้มครองในฐานะประมุขของรัฐ ไม่พึงถูกคุมขัง แต่คณะกรรมการอังกฤษที่พิจารณาในคดีนี้โต้ว่าอาชญากรรมที่ร้ายแรง เช่น torture ไม่ให้เอกสิทธิ์คุ้มครองกับประมุขของรัฐ (แต่ในที่สุด อังกฤษก็ส่งปิโนเช่กับชิลี และไปถูกดำเนินคดีที่ชิลี)
นี่หมายความว่าศาลสเปนสามารถเอาผิดกับอาชญากรรมที่เกิดกับชาวสเปนที่อยู่ในชิลีได้ด้วย ความผิดของปิโนเช่ร้ายแรงระดับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
นี่เป็นตัวอย่างบางส่วนเท่านั้นที่เห็นว่ากฎหมายของโลกยุคใหม่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลง เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือ บ่อยครั้งกระบวนการยุติธรรมของประเทศที่เกิดอาชญากรรม ก็อ่อนแอเสียจนปล่อยใ้ห้คนผิดลอยนวล (ตอนจับธรรมนัสได้ ออสเตรเลียคงคิดแบบนี้กับไทยแหละ) ขณะเดียวกัน อาชญากรรมเหล่านี้สร้างผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ทั้งยาเสพติด การค้ามนุษย์ การสังหารหมู่ประชาชน รัฐที่ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้จึงเห็นความจำเป็นต้องขยายขอบเขตอำนาจศาลของตนให้ครอบคลุมอาชญากรรมที่เกิดนอกดินแดนของตน แต่กระนั้น เขาจัดการเมื่อคนเหล่านี้กลับเข้ามาในประเทศแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ล่วงล้ำเข้าไปจัดการในดินแดนของประเทศอื่น
ฉะนั้น ก็รู้กันดีว่าการค้ายาเสพติดเป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษยชาติอย่างไร มันเป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะข้ามประเทศมานานแล้ว แต่ศาลไทยก็ยังทำตาใส อ้างหลักอธิปไตยของชาติอย่างไร้สติ
ขอบคุณนกหวีด สลิ่ม กปปส.ที่มอบรัฐบาล รัฐมนตรีที่ใสสะอาด ดุจแป้งตราสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ให้กับคนไทย
เพิ่มเติม - กรณีที่ยกมาเทียบเคียงอาจไม่เหมือนกับกรณีธรรมนัสเสียทีเดียว แต่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วยหลักการอำนาจอธิปไตยแบบแข็งทื่อตายตัว เป็นข้ออ้างหรือฐานคิดที่นำมาสู่การตัดสินเมื่อวานนี้ ซึ่งมันโคตรจะไดโนเสาร์ ถ้าทุบฐานคิดที่ว่านี้ได้ คำวินิจฉัยคดีธรรมนัสจะไม่มีความชอบธรรมใดๆ เหลือเลย
.....
Srin Pukdeerasd
ไม่คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินถูกนะคะ
การใช้คำพิพากษาศาลต่างประเทศตัดสิทธิ์ฯ อาจมีปัญหาให้ถกเถียงได้อย่างที่ว่า
แต่อย่าลืมว่าประเด็นหลักกรณีนี้ คือ คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ( รมต.) ซึ่งรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์กลั่นกรองเป็นพิเศษ ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้
ดังนั้น การติดคุกด้วยข้อหาค้ายาในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ซี้ซั้ว จึงมีน้ำหนักในประเด็นคุณธรรม จริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งฯ
Burapa Lekluanngarm
การใช้คำพิพากษาศาลต่างประเทศ มาตัดสิทธิรมต.ของไทย ก็ไม่ได้ทำให้เสียอธิปไตยตรงไหน
คดีนี้ควรยึดตามเจตนารมย์ของรธน. คือห้ามคนส่งออกนาเสพติด เป็นรมต. เขาส่งยาจากไทยไปออสเตรเลีย บังเอิญถูกจับที่ออสเตรเลีย ก็ต้องขึ้นศาลออสเตรเลีย แต่มันก็เกี่ยวกับไทยเพราะนำยาออกไปจากไทย
กรณีนี้ต่างจากฐานความผิดค้ายาเสพติดเฉย ๆ เพราะถ้าซื้อขายกันที่ออสเตรเลีย ไม่เกี่ยวกับ ก็อาจจะถือว่าไม่ขัดรธน.
Pakinai Chomsinsubmun ·
เห็น อจ สิริพรรณ ยกข้อกำหนดด้านจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ระบุเอาไว้เป็นกฎหมาย ตั้งข้อสังเกตว่าศาลไม่พิจารณาตรงนี้เลย ทั้งๆที่เกี่ยวพันกับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของธรรมนัส
ผมคิดว่าจุดนี้คือจุดบอดของคำพิพากษาวันนี้ครับ เพราะถ้าเป็นฝ่ายตรงข้าม ศาลใช้ข้อนี้เล่นงานถอดถอนแน่นอน
Siripan Nogsuan Sawasdee
9h ·
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องความเป็นรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
(ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 51 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย)
คำวินิจฉัย ยืนยันหลักอธิปไตยของรัฐ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
"คำพิพากษาของศาลรัฐใด ก็จะมีผลในดินแดนของรัฐนั้น"
ข้อสังเกตคือ
1. คำวินิจฉัยนี้ ไม่ได้ปฏิเสธว่าการกระทำผิดในต่างแดน ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
2. คำวินิจฉัย ไม่นำคุณสมบัติของรัฐมนตรี ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) มาพิจารณาด้วย
มาตรา 160 รัฐมนตรี ต้อง
(4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
(5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
(7) ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
จึงเรียนมายังสาธารณชน เพื่อพิจารณา
ประธานคณะก้าวหน้า ตั้ง 2 ข้อสังเกตหลังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 'ธรรมนัส' พูดไม่จริงเรื่องแป้งและค้ายาเสพติด - สร้างบรรทัดฐานใหม่ อดีตนักโทษต่างแดนเป็น รมว.ไทย ได้ บอกไม่แปลกใจคนไทยอยากย้ายประเทศ#VoiceOnlinehttps://t.co/PBLlpFv0Hm
— Voice TV (@VoiceTVOfficial) May 5, 2021