Timeline ทะลุฝ้า : ปี 63 ที่เพดานแห่งการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ถูกดันจนทะลุฟ้า
2021-01-06
ทีมข่าวการเมือง : เรื่อง กิตติยา
อรอินทร์ : ภาพ
ป้าย 'เราก็หมดศรัทธาแล้ว' หายภายในไม่ถึงชั่วโมง หลังโผล่สะพานลอย มธ.รังสิต
ผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกจับเข้าจิตเวชแล้ว
คุมตัวคนโพสต์รูปทิวากรใส่เสื้อหมดศรัทธาฯ ไปโรงพัก ตร. ไม่แจ้งข้อกล่าวหา รอวังฯ พิจารณาก่อน
'ทิวากร' ได้รับการปล่อยตัวจาก รพ.จิตเวช
นศ.ถูกตร.ตามถึงบ้าน หลังแชร์ข่าวทิวากร-ซุ้มเฉลิมฯ ให้เซ็น MOU ไม่โพสต์เรื่องสถาบันกษัตริย์อีก
บุคคลแห่งปี 2020 : ‘ทิวากร วิถีตน’ ผู้สวมเสื้อ ‘เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว’
5. 19 มิ.ย. 2563 : ทนายอานนท์ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ตรวจสอบและชี้แจงงบฯ เกี่ยวกับกษัตริย์
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา อานนท์ นำภา ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการใช้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากก่อนหน้านั้น อานนท์โพสต์รายงานงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาทที่ประชาไทนำเสนอแล้วมีคนไปฟ้องร้องอานนท์ว่านําเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
โดยล่าสุด 14 ธ.ค. อานนท์ โพสต์หนังสือตอบกลับจากสำนักปลัดนายกฯ หลังจากอานนท์ยื่นเรื่องดังกล่าว โดยหนังสือระบุว่าได้ประสานส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบกรณีที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกฯ ดังกล่าว เพื่อรับทราบข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่เเละอำนาจต่อไปเเล้ว
สำนักปลัดนายกฯ โยนสำนักงบฯ กรมบัญชีกลาง ตอบ 'ทนายอานนท์' ปมงบฯ สถาบันกษัตริย์
เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท
6. 18 ก.ค. 2563 : แฟลชม็อบใหญ่ครั้งแรก สัญญาณการแสดงออกเรื่องสถาบันฯ ของสาธารณะ
ประชาชนหลักพันทยอยกันไปชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตามนัดหมายของกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free YOUTH Movement) จนสามารถปิดถนนและฟุตบาธรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยฯ ได้ถึงครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการรวมตัวชุมนุมใหญ่ครั้งแรกในปีนี้หลังจากการล็อกดาวน์ประเทศ ผู้ชุมนุมแสดงออกซึ่งไม่พอใจปัจจัยการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านทั้งการปราศรัย ป้ายข้อความ และการตะโกนด่า แม้ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาของสถาบันกษัตริย์โดยตรงอย่างเป็นกิจลักษณะ แต่การปราศรัย ป้ายข้อความและสัญลักษณ์หลายอย่างก็มีการเชื่อมโยงและพูดถึงอยู่บ้าง มีผู้ชุมนุมที่ชูป้ายเกี่ยวกับเรื่องสถาบันฯ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบพยายามนำตัวออกไปจากที่ชุมนุมในช่วงหัวค่ำ แต่ทางผู้ชุมนุมช่วยดึงให้กลับเข้ามาในพื้นที่ได้
ประมวล ‘เยาวชนปลดแอก-สนท.’ ชุมนุมร้องยุบสภา หยุดคุกคาม ปชช. ร่าง รธน.ใหม่
7. 3 ส.ค. 2563 : อานนท์ นำภา พ่อมดน้อยแฮร์รี “ผู้เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย” ตัวเปิดการพูดเรื่องปฏิรูปสถาบัน
ในการชุมนุมคอสเพลย์ผู้ใช้เวทมนตร์ ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย’ หน้าร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชนปราศรัยเรียกร้องให้ยกเลิกและแก้ไขกฎหมายที่มีผลเป็นการขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่อาจกระทบกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และต้องรับฟังเสียงของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
การปราศรัยครั้งนี้ถือเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาในการปราศรัยสาธารณะ สร้างความตกตะลึงให้กับผู้รับสาร สังเกตได้จากความเงียบในการนั่งฟังในที่ชุมนุมวันนั้น รวมถึงความอิหลักอิเหลื่อของสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวแบบอ้อมโลก หรือไม่ก็ไม่กล่าวถึง ต่อมาการปราศรัยเรื่องสถาบันกษัตริย์ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติของการชุมนุมและการรายงานข่าวมากขึ้น จนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
ชุมนุมธีมแฮรี่พอตเตอร์ ร้องยกเลิก-แก้กฎหมายขยายพระราชอำนาจฯ และฟังเสียงนักศึกษา-ประชาชน
8. ช่วง 10 ส.ค. 2563- 19 ก.ย. 2563
10 ส.ค. 2563 : การชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของการชุมนุม
ที่การชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน “เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ” โดยนักกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากกิจกรรมแสง สี เสียง ที่มีการล้อเลียนความเป็นราชสำนัก และการปราศรัยเรื่องสถาบันกษัตริย์ของอานนท์ นำภาแล้ว ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง นักศึกษา มธ. จากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ขึ้นอ่านแถลงการณ์ที่มีข้อเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ การมีข้อเสนอที่ชัดเจน นำมาซึ่งแรงกระเพื่อมในสังคมเป็นวงกว้าง แม้จะมีความโกรธเกรี้ยวต่อข้อเสนอและการล้อเลียนสถาบันจนมองการชุมนุมเป็นภัยคุกคาม แต่ก็มีสัญญาณของความรู้สึกว่าเรื่องนี้สามารถอภิปรายได้มีให้เห็นในสาธารณะ แวดวงวิชาการไปจนถึงนักการเมือง หลังการมีข้อเสนอนี้ คำว่า “ข้อเสนอ 10 ข้อ” หรือ “ปฏิรูปสถาบัน” เริ่มปรากฏในหน้าสื่อกระแสหลัก แม้ไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดมากนักหรือไม่มีเลยก็ตาม
สำหรับ 10 ข้อเรียกร้องประกอบด้วย
1. ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ แล้วเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร
2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน
3. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 และให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน
4. ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
5. ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรี ให้ยกเลิก
6. ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
7. ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
8. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด
9. สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความเกี่ยวข้องใด ๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
10. ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก
ประมวลชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน 'เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ'
16 ส.ค. 2563 : ชุมนุมอนุสาวรีย์ ปชต. 3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน ปฏิรูปสถาบันฯ เริ่มติดปาก
การชุมนุมที่นัดหมายโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก นับเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งถัดมานับจากที่ มธ. เมื่อ 10 ส.ค. โดยมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมเรือนหมื่น การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ถูกผนวกรวมเป็น “ความฝัน” ไม่ว่าการพูดถึงการปฏิรูปสถาบันฯ แบบนี้จะถูกมองเป็นการลดทอนรายละเอียดของข้อเสนอ หรือเป็นคุณต่อการดึงมวลชนให้มีแรงสนับสนุนมากขึ้นก็เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไป แต่ข้อเรียกร้องในลักษณะสโลแกนนี้ ต่อมาถูกตีความให้หดเหลือ 3 ข้อเรียกร้องในเวลาต่อมา ซึ่งประกอบด้วย 1. รัฐธรรมนูญใหม่ 2. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพวกต้องลาออก 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมประชาชนปลดแอก #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ
19-20 ก.ย. 2563 : ครั้งแรกของการเอ่ยชื่อ วชิราลงกรณ์ “ทวงคืนอำนาจราษฎร” ย้ำข้อเสนอ 10 ข้อปฏิรูป ปักหมุดคณะราษฎร์
ในการชุมนุมที่เริ่มต้นจากภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก่อนปักหลักค้างคืนที่สนามหลวง ปนัสยา สิทธจิรวัฒนกุล หรือ ‘รุ้ง’ อ่านจดหมายจากประชาชนถึงพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.10) โดยกล่าวถึงความจำเป็นและความสำคัญของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก่อนที่ในเช้าวันต่อมา แกนนำผู้ชุมนุมจะฝังหมุดคณะราษฎรที่ 2 ที่สนามหลวงและส่งรุ้งไปเป็นตัวแทนยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อประธานองคมนตรี โดย พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. เป็นผู้รับข้อเรียกร้องจากตัวแทนผู้ชุมนุม โดยรับปากว่าจะยื่นไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นขั้นตอน
ประมวลเหตุการณ์ช่วงค่ำ ชุมนุม 19 ก.ย. แน่นสนามหลวง ตั้งเวทีปราศรัยตลอดคืน
9. 14 ต.ค. 2563 : นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เดินขบวนไปทำเนียบ ก่อนโดนสลายเมื่อช่วงเช้า 15 ต.ค.
การประกาศชุมนุมค้างคืนของกลุ่ม “คณะราษฎร 2563” การรวมตัวเฉพาะกิจของกลุ่มแกนนำหลายกลุ่ม เริ่มตนตั้งแต่ 13 ต.ค. เมื่อกลุ่มนักกิจกรรมถูกจับตัวเข้ากองบัญชาการ ตชด. ภาค 1 หลังไปปักหลักตั้งเต็นท์แถวอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นทางผ่านขบวนเสด็จฯ จากนั้นการชุมนุมจริงเริ่มต้นขึ้นที่อนุสาวรีย์ในวันต่อมาและเคลื่อนขบวนฝ่าแนวป้องกันของตำรวจไปปักหลักที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเย็นมีเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมไปพบกับขบวนเสด็จฯ ที่แยกนางเลิ้ง การชุมนุมถูกตำรวจเข้าสลายในช่วงเช้ามืดหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศสภาวะฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่ กทม. โดยอ้างเรื่องการรักษาความสงบและเหตุการณ์ขบวนเสด็จฯ ช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค. โดยผุ้ชุมนุมได้ถอยร่นไปรวมตัวชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในช่วงเย็นวันต่อมา
ประมวลช่วงค่ำ #ม็อบ14ตุลา คณะราษฎรถึงทำเนียบฯ
10. 16 ต.ค. 2563 : สลายกลุ่มผู้ชุมนุมแยกปทุมวัน
การชุมนุมที่เดิมมีการนัดหมายที่แยกราชประสงค์มีการเปลี่ยนสถานที่ไปยังแยกปทุมวันที่ห่างไปราว 2 กม. หลังจากพื้นที่แยกราชประสงค์ถูกตำรวจปิดกั้นอย่างหนาแน่นแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในระยะการชุมนุมตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา หลังการชุมนุมเริ่มไปได้ราว 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนพลจากแยกราชประสงค์เข้าสลายการชุมนุม โดยเป็นครั้งแรกที่ผู้ชุมนุมได้เจอกับการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงและน้ำผสมแก๊สน้ำตานับตั้งแต่เริ่มชุมนุมในเดือน ก.ค. มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 50 คน รวมถึงกิตติ พันธภาค อดีตผู้สื่อข่าวประชาไทที่ทำข่าวอยู่ในพื้นที่
#16ตุลาไปแยกปทุมวัน ตำรวจสลายการชุมนุม ฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม
11. 17 ต.ค. 2563 : ชุมนุม 3 จุดใหญ่ แยกลาดพร้าว-อุดมสุข-วงเวียนใหญ่
การประกาศสภาวะฉุกเฉินร้ายแรงและการสลายการชุมนุมสายฟ้าแลบไม่ได้ทำให้ประชาชนหยุดออกมาลงถนนแต่อย่างใด มีการนัดหมายออนไลน์แบบดาวกระจายตามหลายพื้นที่ทั่ว กทม. โดยมีผู้ชุมนุมเข้าร่วมจำนวนมาก การชุมนุมลักษณะนี้มีขึ้นทุกวันจนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ประกาศว่าจะยกเลิกสภาวะฉุกเฉินร้ายแรงเมื่อ 21 ต.ค. วันเดียวกับที่ผู้ชุมนุมจำนวนมากรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก่อนเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งแนวป้องกันอยู่ไม่สามารถหยุดยั้งได้
ประมวลสถานการณ์ชุมนุม #ม็อบ17ตุลา
12. 26 ต.ค. 2563 : ยื่นหนังสือสถานทูตเยอรมัน ตรวจสอบการใช้พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์เหนือดินแดนเยอรมนี
26 ต.ค. 2563 การชุมนุมที่นัดหมายโดยกลุ่มประชาชนปลดแอกที่แยกสามย่าน เดินขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย สาทร กรุงเทพฯ อ่านแถลงการณ์เป็นภาษาไทย อังกฤษ และเยอรมัน และยื่นหนังสือถาม 4 ข้อสงสัยที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมคนไทยทุกคนต้องร่วมเดินขบวน ทวงถามความชัดเจนที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ เกี่ยวกับการประทับในเยอรมนีของกษัตริย์ไทย การชุมนุมนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมในธีมหลักที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการประทับในเยอรมนีของกษัตริย์ไทย
ประมวล #ม็อบ26ตุลา ถาม 4 ข้อสงสัยต่อสถานทูตเยอรมันเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
13. #ม็อบ29ตุลา แคตวอล์กราษฎร ถนนสีลม วิจารณ์การใช้ภาษีประชาชนไปจัดแฟชั่นโชว์
กิจกรรมแคตวอล์กราษฎร หน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเป็นผู้นัดจัดกิจกรรม โดยกิจกรรมสืบเนื่องรายงานในเว็บไซต์ประชาไทเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มีส่วนหนึ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายโดยตรงของกระทรวงต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 13 ล้านบาท ภายใต้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับโครงการจัดแสดงสินค้าแนวใหม่ในต่างประเทศสำหรับแบรนด์ “Sirivannavari” นำไปสู่การจัดกิจกรรมเดินแบบและจัดแสดงศิลปะของประชาชน และเพื่อแสดงออกถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของผู้ชุมนุม
#ม็อบ29ตุลา แคตวอล์กราษฎร เดินแฟชั่นโชว์หน้าวัดแขกสีลม
14. ม็อบ 8 พ.ย. : ส่งราษฎรสาส์นถึง วชิราลงกรณ์
ผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 รวมตัวกันและปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินขบวนไปเขียนจดหมายส่งถึงในหลวงที่หน้าวัดพระแก้ว โดยมีแถลงการณ์แสดงความหวังให้เกิดการปฏิรูปสถาบันฯ ในช่วงก่อนเริ่มการชุมนุม มีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองมาชุมนุมสังเกตการณ์ แต่ประกาศแยกย้ายไปก่อน
ประมวลสถานการณ์ ม็อบ #มันจบแล้วชนชั้นนำ ส่งราษฎรสาส์น ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
15. 17 พ.ย. : ชุมนุมหน้ารัฐสภา สภาคว่ำร่าง รธน. ฉบับ iLaw-การเลื่อนยศของ “พลเรือเอกเป่าแล้วฟูฟู”
ระหว่างการปภิปรายของรัฐสภาในญัตติการแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และร่างรัฐธรรมนูญที่เข้าชื่อโดยคนกว่า 1 แสนคน ที่ริเริ่มการเข้าชื่อโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แบริเออร์คอนกรีต รถเมล์ ลวดหนามหีบเพลงปิดกั้นพื้นที่ทางเข้ารัฐสภา โดยระบุว่าเป็นพื้นที่ห้ามชุมนุมตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ แต่การกีดขวางนั้นกระทำอย่างเลือกปฏิบัติ เพราะตำรวจยังให้ผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองที่สนับสนุนรัฐบาลเข้าไปชุมนุมได้อยู่ ขณะที่ผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรที่จะเข้าไปชุมนุมกลับถูกสลายการรวมตัวด้วยแก๊สน้ำตาและรถฉีดน้ำแรงดันสูง ท้ายที่สุด ตำรวจก็ล่าถอยออกไปในช่วงค่ำ
อีกเหตุการณ์ในวันนั้นที่น่าจะเป็นที่จดจำของใครหลายคน คือ การที่เจ้าเป็ดเหลืองยางเดิมทีถูกนำร่วมขบวนมาประท้วงหน้ารัฐสภา ได้กลายเป็นอุปกรณ์จำเป็น ใช้ป้องกันน้ำแรงดันสูงจากฝั่งทางการ ทำให้ผู้ชุมนุมในวันนั้นร่วมกันให้ “เจ้าเป็ดเหลือง” เป็นแมสคอตของการประท้วง และมีการตั้งมีมให้อีกมากมายตามมา เช่น การเลื่อนยศเจ้าเป็ดเหลืองเป็น “พลเรือเอกเป่าแล้วฟูฟู” เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของเป็ดยางเหลืองในวันนั้น
16. ม็อบ18พฤศจิกา : จากราชประสงค์ถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หลังจากค่ำวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่หน้ารัฐสภา การชุมนุมของกลุ่มราษฎรเพื่อติดตามและเรียกร้องให้สภารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับล่ารายชื่อของประชาชนยุติลง แกนนำประกาศนัดหมายชุมนุมวันที่ 18 พ.ย. ช่วงเย็นที่แยกราชประสงค์และหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
การชุมนุมวันนั้น มีการผลัดกันขึ้นปราศรัยของกลุ่มคณะราษฎร มีกิจกรรมการแจกปืนฉีดน้ำให้ยิงเข้าไปใน สตช. แจกถังสีสาดใส่ป้ายตำรวจ เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจในประเด็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงในการสกัดกั้นทั้งรถฉีดน้ำแรงดันสูง และแก๊ซน้ำตา กับผู้ชุมนุมเมื่อวาน
นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมบางคนนำสีสเปรย์ และสีชอล์ก มาเขียนข้อความตามทรัพย์สินสาธารณะ ป้ายรถเมล์ ฟุตบาธ ถนน และอื่น ๆ เพื่อระบายความคับแค้นใจต่อสถานการณ์ทางการเมือง บางข้อความมีการต่อว่าพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์
คุยกับคนมา #ม็อบ18พฤศจิกา ความผิดหวังที่ 'สภาไม่เห็นหัวเรา' และความหวังสร้างพื้นที่ปลอดภัย
#ม็อบ18พฤศจิกา : กลุ่มราษฎรมาตามนัดเต็มราชประสงค์ - สตช.ป้องกันแน่น
17. 25 พ.ย. : การชุมนุมหน้า SCB ที่ทำให้การพูดเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลายเป็นเรื่อง mass
#ม็อบ25พฤศจิกาไปSCB การชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ถนนรัชดาภิเษก ตามที่ได้นัดหมายโดยคณะราษฎร เพื่อแสดงการไม่ยอมรับ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 มีผลทำให้ทรัพย์สินฝ่ายกษัตริย์ใดที่เดิมเป็นชื่อของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่น การมีชื่อในผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (เช่น SCB) ต้องเปลี่ยนเป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรืออีกนัยหนึ่งคือ พ.ร.บ.นี้ทำให้ทรัพย์สมบัติแผ่นดินที่เคยอยู่ในชื่อสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกโอนมาให้พระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว
ทั้งนี้ การชุมนุมหน้า SCB ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมโดยรวม ให้หันมาสนใจและตั้งคำถามถึงการออก พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่ อย่างไร
ประมวลสถานการณ์ชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB
18. 29 พ.ย. : ชุมนุมหน้าราบ 11 ประท้วง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ ย้ายบางส่วนของกองทัพเป็นของพระมหากษัตริย์
การชุมนุม #29พฤศจิกาไปราบ11 ผู้ชุมนุมเดิมกำหนดนัดหมายชุมนุมที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนย้ายมาเป็น กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุที่ต้องเป็นสองหน่วยงานข้างต้น สืบเนื่องจากปัญหา พ.ร.ก. โอนถ่าย อัตรากําลังพลทหารและงบประมาณของกรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราชที่ 11 จากต้นสังกัดเดิมคือกองทัพบก กองทัพไทย และกระทรวงกลาโหม ไปสังกัดหน่วยถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระมหากษัตริย์ การณ์เช่นนี้นับเป็นการขยายพระราชอํานาจเกินควร และเป็นการบ่อนทำลายประชาธิปไตย
ในวันนั้น แกนนำอ่านแถลงการณ์หน้าราบ 11 เรียกร้องให้มีการโอนถ่ายกําลังพลดังกล่าวคืนสู่ต้นสังกัดเดิม ผ่านการยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากําลังพลฯ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ไทยไม่มีส่วน ก้าวก่ายแทรกแซงการทํางานของรัฐบาลราษฎร และสามารถดํารงตนอย่างสง่างามภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
'ราบ 11' ส่วนราชการในพระองค์ ตามพระราชอัธยาศัย และ 'ที่ดินสาธารณสมบัติฯ' สู่ 'เขตพระราชฐาน' ?
ประมวล #29พฤศจิกาไปราบ11 : ขบวนเป็ดถึงราบ 11 ย้ำ 'กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว'
19. #ม็อบ2ธันวา : ประท้วงศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ประยุทธ์รอดปมบ้านพักทหาร
การชุมนุมวันที่ 2 ธ.ค. นัดหมายโดยกลุ่มคณะราษฎร บริเวณห้าแยกลาดพร้าว หลังศาลรัฐธรรมนูญให้ “ประยุทธ์” รอดปมบ้านพักทหาร ยังเป็นนายกฯ ต่อ มีการจำลองเวทีหลักเป็นบัลลังก์ศาลวิจารณ์ความหลายมาตรฐาน และยืนยันเรียกร้อง 3 ข้อต่อ
เวทีปราศรัยของวันนั้น เรียกว่าวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการทุบศาลของอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ การปราศรัยของพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน ซัดศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้สองมาตรฐาน แต่ไร้มาตรฐาน พร้อมเผารูปและตำราเรียนเขียนโดยนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปราศรัยของอานนท์ นำภา วิจารณ์คำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ และการละเลยข้อปฏิบัติตามหลัก “ปกเกล้าไม่ปกครอง” และไม่เป็นกลางทางการเมืองของกษัตริย์ไทย
#ม็อบ2ธันวา ชุมนุมวิจารณ์ศาล รธน.ให้ 'ประยุทธ์ ยังเป็นนายกฯ ต่อ ปมบ้านพักทหาร
20. 10 ธ.ค. 2563 : ยื่นหนังสือยกเลิก ม.112 หน้า UN จนถึงอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
10 ธ.ค. มวลชนหลายกลุ่มนัดชุมนุม 2 จุดใหญ่ใน กทม. เพื่อรณรงค์ยกเลิก ม.112 โดยจุดแรกช่วงเช้า กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นัดยื่นหนังสือที่องค์การสหประชาชาติ เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พร้อมร้องนานาชาติจับตาดูสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย
ขณะที่จุดที่สองคืออนุสรณ์สถาน 14 ตุลา งาน “ยกเลิก 112 สิ แล้วเราจะเล่าให้ฟัง” จัดโดย แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และม็อบเฟส
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะล่วงเลยจากวันที่ 10 ธ.ค.ไปแล้ว แต่การรณรงค์ยกเลิก ม.112 ยังมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยระดับโรงเรียน มีกรณีที่เป็นคลิปไวรัลในโลกออนไลน์ คือนักเรียนมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ รณรงค์ยกเลิก ม. 112 ในงานกีฬาสีโรงเรียน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ในวันที่ 17 ธ.ค. กลุ่ม “DemHope” แขวนป้ายรณรงค์ข้อความ “ยกเลิกมาตรา112” “ห้างสินค้าราคาแพงแรงงานราคาถูก” และ “แก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน” กลางห้างดัง “สยามพารากอน” และหลังจากนั้น ยังสามารถพบเห็นป้ายผ้า “ยกเลิก ม.112” กระจายอีกหลายจุดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ การรณรงค์ยกเลิก ม.112 เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลนำ ม.112 กลับมาใช้อีกครั้งตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ย.เป็นต้นมา ข้อมูลของประชาไทระบุว่าในช่วงครึ่งปีหลัง มีผู้ถูกกล่าวหาด้วย ม.112 ทั้งสิ้น 40 คน โดยผู้ที่ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่คือนักเรียน-นักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมือง
#ม็อบ10ธันวา ยื่นหนังสือยกเลิก ม.112 ตร.วางคอนเทนเนอร์-ลวดหนามปิดถนน
ม็อบเฟสและแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมรณรงค์ยกเลิก 112 - ที่จัดงานถูกปาระเบิดกลางดึก
เสวนา ม.112 : คดีนโยบายตามใจผู้มีอำนาจ
จนท.ขอรายชื่อนักเรียนที่รณรงค์ยกเลิก 112 ในงานกีฬาสีโรงเรียน จ.แพร่
#จากโรงงานสู่ห้างนายทุน กลุ่ม 'DemHope' แขวนป้ายรณรงค์สิทธิแรงงาน-ยกเลิก ม.112 กลางห้าง
ป้าย 'ยกเลิก 112' ปรากฎ กทม. อยุธยา เชียงใหม่ - เยาวชน 17 ปี เขียนป้าย ถูกตร.สน.ปทุมวันคุมตัวทำประวัติ
ประชาไท
1. 19 ก.พ. 2563 : ผู้ใช้ทวิตเตอร์แอ็กเคานต์ “นิรนาม_” ถูกจับกุมด้วยข้อหา พ.ร.บ. คอมฯ
เมื่อ 19 ก.พ. 2563 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ ‘นิรนาม_’ ซึ่งระบุว่า ตำรวจเข้าค้นห้องพักของตน และพาตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา โดยไม่มีการออกหมายจับ ต่อมาศูนย์ทนายฯ ระบุว่า นิรนาม_ ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จากการทวิตภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 โดยเขาถูกนำตัวฝากขังต่อศาลพัทยา โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว จากนั้น 24 ก.พ. 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ประกัน #นิรนาม @ssj_2475 โดยให้วางหลักทรัพย์ 2 แสนบาท
โดยระหว่างนั้นในทวิตเตอร์มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง แฮชแท็ก #saveนิรนาม #Freeนิรนาม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ประเทศไทย เนื้อหาเป็นการเรียกร้องการให้ประกันตัว หรือยุติการดำเนินคดี รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์สถานบันกษัตริย์ด้วย
สำหรับ ทวิตเตอร์ ‘นิรนาม_’ หรือ @ssj_2475 นั้น มักทวีตข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มีการติดตามราว 149.5K แอ็กเคานต์
2. 16 เม.ย. 2563 : อุบัติการณ์รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส กลุ่มเฟซบุ๊กที่ทำให้เรื่องสถาบันกษัตริย์ไทยเป็นเรื่องที่สมควรถูกพูดคุยได้บนพื้นที่สาธารณะ
รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส เป็นกลุ่มปิดบนเฟซบุ๊กที่เปิดให้ทุกคนสามารถพูดคุยและแลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องสถาบันกษัตริย์ไทยได้บนพื้นที่สาธารณะ โดยมี ปวิน ชัชวาลย์พงษ์พันธ์ นักวิชาการไทย เป็นผู้ก่อตั้งและแอดมินเพจ มีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน แต่เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 24 ส.ค. 2563 รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสถูกปิดกั้นการเข้าถึงในประเทศไทย ซึ่งภายหลังเฟซบุ๊กออกมาเปิดเผยว่าถูกรัฐบาลไทยบังคับจำกัดการเข้าถึงกลุ่มดังกล่าว
หลังการปิดกั้น ปวินจึงเปิดกลุ่มเฟซบุ๊กใหม่ชื่อว่า “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลซ-ตลาดหลวง” ขึ้นมาแทนกลุ่มเดิม สร้างตำนานมีสมาชิกทะลุ 1 ล้านโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ และปัจจุบันมีสมาชิกมากถึง 2.1 ล้านคน
3. 4 มิ.ย. 2563 : การบังคับสูญหายของวันเฉลิม ชนวนที่ทำให้สังคมพูดถึงความอยุติธรรมที่กระทำต่อผู้ลี้ภัยต่างแดนอย่างกว้างขวาง
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2563 วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือต้าร์ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง อายุ 37 ปี ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ใช้อาวุธบังคับขึ้นรถยนต์ และหายไปอย่างไร้ร่องรอยจากหน้าคอนโดที่เขาอาศัยอยู่ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จนบัดนี้เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ยังไม่มีใครทราบข่าวคราวของวันเฉลิมอีกเลย
ในคืนวันเดียวกับที่วันเฉลิมหายไป เกิดปรากฏการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเขาบนสื่อสังคมออนไลน์ “ทวิตเตอร์” โดยชาวทวิตเตอร์พร้อมใจกันทวิตข้อความติดแฮชแท็ก “#saveวันเฉลิม” จนติดอันดับเทรนด์ที่มีคนพูดถึงมากที่สุดในห้วงเวลานั้น
นอกจากนี้ กรณีดังกล่าวทำให้สังคมหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวกับผู้ถูกบังคับสูญหายขึ้นมาพูดกันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ตาม โดยสังเกตุได้จากกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ และการชุมนุมที่ติดตามมา บ่อยครั้งจะมีการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับกลุ่มคนที่ถูกบังคับสูญหาย และการปราศรัยที่คอยตอกย้ำไม่ให้สังคมลืมความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำต่อคนเหล่านี้
รายงานวาระครบรอบ 6 ปี รัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัดทำโดยศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่านับตั้งแต่ คสช. เข้ามากุมอำนาจบริหารประเทศ มีผู้ถูกผลักดันลี้ภัยในต่างแดน จำนวนทั้งสิ้น 104 ราย
ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ.2561 มีผู้ถูกบังคับสูญหายในต่างแดนอย่างน้อย 9 ราย โดย 2 รายถูกพบเป็นศพลอยตามแม่น้ำโขง โดยสภาพถูกกระทำอย่างทารุณ และปัจจุบัน ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพวกเขา
4. 16 มิ.ย. 2563 : ตัวเปิดแห่งปี ทิวากร วิถีตน ผู้สวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์”
ทิวากร วิถีตน ชายวัย 45 ปี ได้ใส่เสื้อ “เราหมดศรัทธา ในสถาบันกษัตริย์แล้ว” และโพสต์ภาพพร้อมข้อความดังกล่าวลงบนเฟซบุ๊กของเขา “Tiwagorn Withiton” สิ่งที่เขาทำเป็นการตั้งคำถามต่อสังคมถึงขอบเขตในการแสดงทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาเป็นครั้งแรก
9 ก.ค. 2563 โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ได้สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าทำการจับกุมตัวทิวากร และนำไปควบคุมบังคับรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจอยากได้ยึดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และเสื้อที่มีข้อความดังกล่าวไปจากเขาด้วย
การคุกคามไม่ได้หยุดอยู่ที่ทิวากรเพียงเท่านั้น แต่ยังมีนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจำนวนหนึ่ง ที่แชร์หรือโพสต์ภาพและข้อความของทิวากร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายแดน ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ติดตาม ควบคุมตัว และบังคับให้เซ็น MOU ว่าจะไม่โพสต์หรือแสดงความเห็นในประเด็นของทิวากร และเสื้อ “เราหมดศรัทธาในสถาบันกษัตริย์แล้ว” อีก
การจับกุมตัวทิวากร ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งในระดับท้องถิ่น ในส่วนกลาง และในระดับสากล เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทิวากร ควบคู่กับกรณีบังคับสาบสูญ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ลี้ภัยทางการเมืองคนอื่น ๆ อย่างนักศึกษาในภาคอีสานทำแคมเปญรณรงค์เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทิวากร หน้าโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2563 ทิวากรได้รับการปล่อยตัวอย่าเงียบ ๆ จากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น หลังถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 14 วัน และถึงแม้ว่าผู้ที่ใส่เสื้อรณรงค์ “เราหมดศรัทธาในสถาบันกษัตริย์แล้ว” จะได้รับการปล่อยตัว แต่กระบวนการในการควบคุมตัว และบทบาทและการมีอยู่ของสถาบันกษัตริย์ ก็ยังถูกตั้งคำถามถึงความถูกต้องในเวลาต่อมา นอกจากนั้น ยังได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รวมถึงมีข้อเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ชัดเจนยิ่งขึ้น
1. 19 ก.พ. 2563 : ผู้ใช้ทวิตเตอร์แอ็กเคานต์ “นิรนาม_” ถูกจับกุมด้วยข้อหา พ.ร.บ. คอมฯ
เมื่อ 19 ก.พ. 2563 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ ‘นิรนาม_’ ซึ่งระบุว่า ตำรวจเข้าค้นห้องพักของตน และพาตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา โดยไม่มีการออกหมายจับ ต่อมาศูนย์ทนายฯ ระบุว่า นิรนาม_ ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จากการทวิตภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 โดยเขาถูกนำตัวฝากขังต่อศาลพัทยา โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว จากนั้น 24 ก.พ. 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ประกัน #นิรนาม @ssj_2475 โดยให้วางหลักทรัพย์ 2 แสนบาท
โดยระหว่างนั้นในทวิตเตอร์มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง แฮชแท็ก #saveนิรนาม #Freeนิรนาม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ประเทศไทย เนื้อหาเป็นการเรียกร้องการให้ประกันตัว หรือยุติการดำเนินคดี รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์สถานบันกษัตริย์ด้วย
สำหรับ ทวิตเตอร์ ‘นิรนาม_’ หรือ @ssj_2475 นั้น มักทวีตข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มีการติดตามราว 149.5K แอ็กเคานต์
2. 16 เม.ย. 2563 : อุบัติการณ์รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส กลุ่มเฟซบุ๊กที่ทำให้เรื่องสถาบันกษัตริย์ไทยเป็นเรื่องที่สมควรถูกพูดคุยได้บนพื้นที่สาธารณะ
รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส เป็นกลุ่มปิดบนเฟซบุ๊กที่เปิดให้ทุกคนสามารถพูดคุยและแลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องสถาบันกษัตริย์ไทยได้บนพื้นที่สาธารณะ โดยมี ปวิน ชัชวาลย์พงษ์พันธ์ นักวิชาการไทย เป็นผู้ก่อตั้งและแอดมินเพจ มีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน แต่เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 24 ส.ค. 2563 รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสถูกปิดกั้นการเข้าถึงในประเทศไทย ซึ่งภายหลังเฟซบุ๊กออกมาเปิดเผยว่าถูกรัฐบาลไทยบังคับจำกัดการเข้าถึงกลุ่มดังกล่าว
หลังการปิดกั้น ปวินจึงเปิดกลุ่มเฟซบุ๊กใหม่ชื่อว่า “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลซ-ตลาดหลวง” ขึ้นมาแทนกลุ่มเดิม สร้างตำนานมีสมาชิกทะลุ 1 ล้านโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ และปัจจุบันมีสมาชิกมากถึง 2.1 ล้านคน
3. 4 มิ.ย. 2563 : การบังคับสูญหายของวันเฉลิม ชนวนที่ทำให้สังคมพูดถึงความอยุติธรรมที่กระทำต่อผู้ลี้ภัยต่างแดนอย่างกว้างขวาง
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2563 วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือต้าร์ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง อายุ 37 ปี ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ใช้อาวุธบังคับขึ้นรถยนต์ และหายไปอย่างไร้ร่องรอยจากหน้าคอนโดที่เขาอาศัยอยู่ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จนบัดนี้เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ยังไม่มีใครทราบข่าวคราวของวันเฉลิมอีกเลย
ในคืนวันเดียวกับที่วันเฉลิมหายไป เกิดปรากฏการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเขาบนสื่อสังคมออนไลน์ “ทวิตเตอร์” โดยชาวทวิตเตอร์พร้อมใจกันทวิตข้อความติดแฮชแท็ก “#saveวันเฉลิม” จนติดอันดับเทรนด์ที่มีคนพูดถึงมากที่สุดในห้วงเวลานั้น
นอกจากนี้ กรณีดังกล่าวทำให้สังคมหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวกับผู้ถูกบังคับสูญหายขึ้นมาพูดกันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ตาม โดยสังเกตุได้จากกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ และการชุมนุมที่ติดตามมา บ่อยครั้งจะมีการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับกลุ่มคนที่ถูกบังคับสูญหาย และการปราศรัยที่คอยตอกย้ำไม่ให้สังคมลืมความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำต่อคนเหล่านี้
รายงานวาระครบรอบ 6 ปี รัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัดทำโดยศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่านับตั้งแต่ คสช. เข้ามากุมอำนาจบริหารประเทศ มีผู้ถูกผลักดันลี้ภัยในต่างแดน จำนวนทั้งสิ้น 104 ราย
ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ.2561 มีผู้ถูกบังคับสูญหายในต่างแดนอย่างน้อย 9 ราย โดย 2 รายถูกพบเป็นศพลอยตามแม่น้ำโขง โดยสภาพถูกกระทำอย่างทารุณ และปัจจุบัน ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพวกเขา
4. 16 มิ.ย. 2563 : ตัวเปิดแห่งปี ทิวากร วิถีตน ผู้สวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์”
ทิวากร วิถีตน ชายวัย 45 ปี ได้ใส่เสื้อ “เราหมดศรัทธา ในสถาบันกษัตริย์แล้ว” และโพสต์ภาพพร้อมข้อความดังกล่าวลงบนเฟซบุ๊กของเขา “Tiwagorn Withiton” สิ่งที่เขาทำเป็นการตั้งคำถามต่อสังคมถึงขอบเขตในการแสดงทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาเป็นครั้งแรก
9 ก.ค. 2563 โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ได้สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าทำการจับกุมตัวทิวากร และนำไปควบคุมบังคับรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจอยากได้ยึดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และเสื้อที่มีข้อความดังกล่าวไปจากเขาด้วย
การคุกคามไม่ได้หยุดอยู่ที่ทิวากรเพียงเท่านั้น แต่ยังมีนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจำนวนหนึ่ง ที่แชร์หรือโพสต์ภาพและข้อความของทิวากร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายแดน ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ติดตาม ควบคุมตัว และบังคับให้เซ็น MOU ว่าจะไม่โพสต์หรือแสดงความเห็นในประเด็นของทิวากร และเสื้อ “เราหมดศรัทธาในสถาบันกษัตริย์แล้ว” อีก
การจับกุมตัวทิวากร ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งในระดับท้องถิ่น ในส่วนกลาง และในระดับสากล เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทิวากร ควบคู่กับกรณีบังคับสาบสูญ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ลี้ภัยทางการเมืองคนอื่น ๆ อย่างนักศึกษาในภาคอีสานทำแคมเปญรณรงค์เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทิวากร หน้าโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2563 ทิวากรได้รับการปล่อยตัวอย่าเงียบ ๆ จากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น หลังถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 14 วัน และถึงแม้ว่าผู้ที่ใส่เสื้อรณรงค์ “เราหมดศรัทธาในสถาบันกษัตริย์แล้ว” จะได้รับการปล่อยตัว แต่กระบวนการในการควบคุมตัว และบทบาทและการมีอยู่ของสถาบันกษัตริย์ ก็ยังถูกตั้งคำถามถึงความถูกต้องในเวลาต่อมา นอกจากนั้น ยังได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รวมถึงมีข้อเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ชัดเจนยิ่งขึ้น
ป้าย 'เราก็หมดศรัทธาแล้ว' หายภายในไม่ถึงชั่วโมง หลังโผล่สะพานลอย มธ.รังสิต
ผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกจับเข้าจิตเวชแล้ว
คุมตัวคนโพสต์รูปทิวากรใส่เสื้อหมดศรัทธาฯ ไปโรงพัก ตร. ไม่แจ้งข้อกล่าวหา รอวังฯ พิจารณาก่อน
'ทิวากร' ได้รับการปล่อยตัวจาก รพ.จิตเวช
นศ.ถูกตร.ตามถึงบ้าน หลังแชร์ข่าวทิวากร-ซุ้มเฉลิมฯ ให้เซ็น MOU ไม่โพสต์เรื่องสถาบันกษัตริย์อีก
บุคคลแห่งปี 2020 : ‘ทิวากร วิถีตน’ ผู้สวมเสื้อ ‘เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว’
5. 19 มิ.ย. 2563 : ทนายอานนท์ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ตรวจสอบและชี้แจงงบฯ เกี่ยวกับกษัตริย์
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา อานนท์ นำภา ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการใช้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากก่อนหน้านั้น อานนท์โพสต์รายงานงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาทที่ประชาไทนำเสนอแล้วมีคนไปฟ้องร้องอานนท์ว่านําเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
โดยล่าสุด 14 ธ.ค. อานนท์ โพสต์หนังสือตอบกลับจากสำนักปลัดนายกฯ หลังจากอานนท์ยื่นเรื่องดังกล่าว โดยหนังสือระบุว่าได้ประสานส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบกรณีที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกฯ ดังกล่าว เพื่อรับทราบข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่เเละอำนาจต่อไปเเล้ว
สำนักปลัดนายกฯ โยนสำนักงบฯ กรมบัญชีกลาง ตอบ 'ทนายอานนท์' ปมงบฯ สถาบันกษัตริย์
เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท
6. 18 ก.ค. 2563 : แฟลชม็อบใหญ่ครั้งแรก สัญญาณการแสดงออกเรื่องสถาบันฯ ของสาธารณะ
ประชาชนหลักพันทยอยกันไปชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตามนัดหมายของกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free YOUTH Movement) จนสามารถปิดถนนและฟุตบาธรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยฯ ได้ถึงครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการรวมตัวชุมนุมใหญ่ครั้งแรกในปีนี้หลังจากการล็อกดาวน์ประเทศ ผู้ชุมนุมแสดงออกซึ่งไม่พอใจปัจจัยการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านทั้งการปราศรัย ป้ายข้อความ และการตะโกนด่า แม้ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาของสถาบันกษัตริย์โดยตรงอย่างเป็นกิจลักษณะ แต่การปราศรัย ป้ายข้อความและสัญลักษณ์หลายอย่างก็มีการเชื่อมโยงและพูดถึงอยู่บ้าง มีผู้ชุมนุมที่ชูป้ายเกี่ยวกับเรื่องสถาบันฯ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบพยายามนำตัวออกไปจากที่ชุมนุมในช่วงหัวค่ำ แต่ทางผู้ชุมนุมช่วยดึงให้กลับเข้ามาในพื้นที่ได้
ประมวล ‘เยาวชนปลดแอก-สนท.’ ชุมนุมร้องยุบสภา หยุดคุกคาม ปชช. ร่าง รธน.ใหม่
7. 3 ส.ค. 2563 : อานนท์ นำภา พ่อมดน้อยแฮร์รี “ผู้เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย” ตัวเปิดการพูดเรื่องปฏิรูปสถาบัน
ในการชุมนุมคอสเพลย์ผู้ใช้เวทมนตร์ ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย’ หน้าร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชนปราศรัยเรียกร้องให้ยกเลิกและแก้ไขกฎหมายที่มีผลเป็นการขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่อาจกระทบกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และต้องรับฟังเสียงของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
การปราศรัยครั้งนี้ถือเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาในการปราศรัยสาธารณะ สร้างความตกตะลึงให้กับผู้รับสาร สังเกตได้จากความเงียบในการนั่งฟังในที่ชุมนุมวันนั้น รวมถึงความอิหลักอิเหลื่อของสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวแบบอ้อมโลก หรือไม่ก็ไม่กล่าวถึง ต่อมาการปราศรัยเรื่องสถาบันกษัตริย์ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติของการชุมนุมและการรายงานข่าวมากขึ้น จนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
ชุมนุมธีมแฮรี่พอตเตอร์ ร้องยกเลิก-แก้กฎหมายขยายพระราชอำนาจฯ และฟังเสียงนักศึกษา-ประชาชน
8. ช่วง 10 ส.ค. 2563- 19 ก.ย. 2563
10 ส.ค. 2563 : การชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของการชุมนุม
ที่การชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน “เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ” โดยนักกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากกิจกรรมแสง สี เสียง ที่มีการล้อเลียนความเป็นราชสำนัก และการปราศรัยเรื่องสถาบันกษัตริย์ของอานนท์ นำภาแล้ว ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง นักศึกษา มธ. จากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ขึ้นอ่านแถลงการณ์ที่มีข้อเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ การมีข้อเสนอที่ชัดเจน นำมาซึ่งแรงกระเพื่อมในสังคมเป็นวงกว้าง แม้จะมีความโกรธเกรี้ยวต่อข้อเสนอและการล้อเลียนสถาบันจนมองการชุมนุมเป็นภัยคุกคาม แต่ก็มีสัญญาณของความรู้สึกว่าเรื่องนี้สามารถอภิปรายได้มีให้เห็นในสาธารณะ แวดวงวิชาการไปจนถึงนักการเมือง หลังการมีข้อเสนอนี้ คำว่า “ข้อเสนอ 10 ข้อ” หรือ “ปฏิรูปสถาบัน” เริ่มปรากฏในหน้าสื่อกระแสหลัก แม้ไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดมากนักหรือไม่มีเลยก็ตาม
สำหรับ 10 ข้อเรียกร้องประกอบด้วย
1. ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ แล้วเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร
2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน
3. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 และให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน
4. ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
5. ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรี ให้ยกเลิก
6. ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
7. ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
8. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด
9. สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความเกี่ยวข้องใด ๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
10. ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก
ประมวลชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน 'เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ'
16 ส.ค. 2563 : ชุมนุมอนุสาวรีย์ ปชต. 3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน ปฏิรูปสถาบันฯ เริ่มติดปาก
การชุมนุมที่นัดหมายโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก นับเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งถัดมานับจากที่ มธ. เมื่อ 10 ส.ค. โดยมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมเรือนหมื่น การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ถูกผนวกรวมเป็น “ความฝัน” ไม่ว่าการพูดถึงการปฏิรูปสถาบันฯ แบบนี้จะถูกมองเป็นการลดทอนรายละเอียดของข้อเสนอ หรือเป็นคุณต่อการดึงมวลชนให้มีแรงสนับสนุนมากขึ้นก็เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไป แต่ข้อเรียกร้องในลักษณะสโลแกนนี้ ต่อมาถูกตีความให้หดเหลือ 3 ข้อเรียกร้องในเวลาต่อมา ซึ่งประกอบด้วย 1. รัฐธรรมนูญใหม่ 2. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพวกต้องลาออก 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
ประมวลสถานการณ์การชุมนุมประชาชนปลดแอก #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ
19-20 ก.ย. 2563 : ครั้งแรกของการเอ่ยชื่อ วชิราลงกรณ์ “ทวงคืนอำนาจราษฎร” ย้ำข้อเสนอ 10 ข้อปฏิรูป ปักหมุดคณะราษฎร์
ในการชุมนุมที่เริ่มต้นจากภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก่อนปักหลักค้างคืนที่สนามหลวง ปนัสยา สิทธจิรวัฒนกุล หรือ ‘รุ้ง’ อ่านจดหมายจากประชาชนถึงพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.10) โดยกล่าวถึงความจำเป็นและความสำคัญของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก่อนที่ในเช้าวันต่อมา แกนนำผู้ชุมนุมจะฝังหมุดคณะราษฎรที่ 2 ที่สนามหลวงและส่งรุ้งไปเป็นตัวแทนยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อประธานองคมนตรี โดย พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. เป็นผู้รับข้อเรียกร้องจากตัวแทนผู้ชุมนุม โดยรับปากว่าจะยื่นไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นขั้นตอน
ประมวลเหตุการณ์ช่วงค่ำ ชุมนุม 19 ก.ย. แน่นสนามหลวง ตั้งเวทีปราศรัยตลอดคืน
9. 14 ต.ค. 2563 : นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เดินขบวนไปทำเนียบ ก่อนโดนสลายเมื่อช่วงเช้า 15 ต.ค.
การประกาศชุมนุมค้างคืนของกลุ่ม “คณะราษฎร 2563” การรวมตัวเฉพาะกิจของกลุ่มแกนนำหลายกลุ่ม เริ่มตนตั้งแต่ 13 ต.ค. เมื่อกลุ่มนักกิจกรรมถูกจับตัวเข้ากองบัญชาการ ตชด. ภาค 1 หลังไปปักหลักตั้งเต็นท์แถวอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นทางผ่านขบวนเสด็จฯ จากนั้นการชุมนุมจริงเริ่มต้นขึ้นที่อนุสาวรีย์ในวันต่อมาและเคลื่อนขบวนฝ่าแนวป้องกันของตำรวจไปปักหลักที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเย็นมีเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมไปพบกับขบวนเสด็จฯ ที่แยกนางเลิ้ง การชุมนุมถูกตำรวจเข้าสลายในช่วงเช้ามืดหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศสภาวะฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่ กทม. โดยอ้างเรื่องการรักษาความสงบและเหตุการณ์ขบวนเสด็จฯ ช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค. โดยผุ้ชุมนุมได้ถอยร่นไปรวมตัวชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในช่วงเย็นวันต่อมา
ประมวลช่วงค่ำ #ม็อบ14ตุลา คณะราษฎรถึงทำเนียบฯ
10. 16 ต.ค. 2563 : สลายกลุ่มผู้ชุมนุมแยกปทุมวัน
การชุมนุมที่เดิมมีการนัดหมายที่แยกราชประสงค์มีการเปลี่ยนสถานที่ไปยังแยกปทุมวันที่ห่างไปราว 2 กม. หลังจากพื้นที่แยกราชประสงค์ถูกตำรวจปิดกั้นอย่างหนาแน่นแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในระยะการชุมนุมตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา หลังการชุมนุมเริ่มไปได้ราว 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนพลจากแยกราชประสงค์เข้าสลายการชุมนุม โดยเป็นครั้งแรกที่ผู้ชุมนุมได้เจอกับการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงและน้ำผสมแก๊สน้ำตานับตั้งแต่เริ่มชุมนุมในเดือน ก.ค. มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 50 คน รวมถึงกิตติ พันธภาค อดีตผู้สื่อข่าวประชาไทที่ทำข่าวอยู่ในพื้นที่
#16ตุลาไปแยกปทุมวัน ตำรวจสลายการชุมนุม ฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม
11. 17 ต.ค. 2563 : ชุมนุม 3 จุดใหญ่ แยกลาดพร้าว-อุดมสุข-วงเวียนใหญ่
การประกาศสภาวะฉุกเฉินร้ายแรงและการสลายการชุมนุมสายฟ้าแลบไม่ได้ทำให้ประชาชนหยุดออกมาลงถนนแต่อย่างใด มีการนัดหมายออนไลน์แบบดาวกระจายตามหลายพื้นที่ทั่ว กทม. โดยมีผู้ชุมนุมเข้าร่วมจำนวนมาก การชุมนุมลักษณะนี้มีขึ้นทุกวันจนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ประกาศว่าจะยกเลิกสภาวะฉุกเฉินร้ายแรงเมื่อ 21 ต.ค. วันเดียวกับที่ผู้ชุมนุมจำนวนมากรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก่อนเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งแนวป้องกันอยู่ไม่สามารถหยุดยั้งได้
ประมวลสถานการณ์ชุมนุม #ม็อบ17ตุลา
12. 26 ต.ค. 2563 : ยื่นหนังสือสถานทูตเยอรมัน ตรวจสอบการใช้พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์เหนือดินแดนเยอรมนี
26 ต.ค. 2563 การชุมนุมที่นัดหมายโดยกลุ่มประชาชนปลดแอกที่แยกสามย่าน เดินขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย สาทร กรุงเทพฯ อ่านแถลงการณ์เป็นภาษาไทย อังกฤษ และเยอรมัน และยื่นหนังสือถาม 4 ข้อสงสัยที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมคนไทยทุกคนต้องร่วมเดินขบวน ทวงถามความชัดเจนที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ เกี่ยวกับการประทับในเยอรมนีของกษัตริย์ไทย การชุมนุมนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมในธีมหลักที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการประทับในเยอรมนีของกษัตริย์ไทย
ประมวล #ม็อบ26ตุลา ถาม 4 ข้อสงสัยต่อสถานทูตเยอรมันเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
13. #ม็อบ29ตุลา แคตวอล์กราษฎร ถนนสีลม วิจารณ์การใช้ภาษีประชาชนไปจัดแฟชั่นโชว์
กิจกรรมแคตวอล์กราษฎร หน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเป็นผู้นัดจัดกิจกรรม โดยกิจกรรมสืบเนื่องรายงานในเว็บไซต์ประชาไทเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มีส่วนหนึ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายโดยตรงของกระทรวงต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 13 ล้านบาท ภายใต้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับโครงการจัดแสดงสินค้าแนวใหม่ในต่างประเทศสำหรับแบรนด์ “Sirivannavari” นำไปสู่การจัดกิจกรรมเดินแบบและจัดแสดงศิลปะของประชาชน และเพื่อแสดงออกถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของผู้ชุมนุม
#ม็อบ29ตุลา แคตวอล์กราษฎร เดินแฟชั่นโชว์หน้าวัดแขกสีลม
14. ม็อบ 8 พ.ย. : ส่งราษฎรสาส์นถึง วชิราลงกรณ์
ผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 รวมตัวกันและปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินขบวนไปเขียนจดหมายส่งถึงในหลวงที่หน้าวัดพระแก้ว โดยมีแถลงการณ์แสดงความหวังให้เกิดการปฏิรูปสถาบันฯ ในช่วงก่อนเริ่มการชุมนุม มีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองมาชุมนุมสังเกตการณ์ แต่ประกาศแยกย้ายไปก่อน
ประมวลสถานการณ์ ม็อบ #มันจบแล้วชนชั้นนำ ส่งราษฎรสาส์น ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
15. 17 พ.ย. : ชุมนุมหน้ารัฐสภา สภาคว่ำร่าง รธน. ฉบับ iLaw-การเลื่อนยศของ “พลเรือเอกเป่าแล้วฟูฟู”
ระหว่างการปภิปรายของรัฐสภาในญัตติการแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และร่างรัฐธรรมนูญที่เข้าชื่อโดยคนกว่า 1 แสนคน ที่ริเริ่มการเข้าชื่อโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แบริเออร์คอนกรีต รถเมล์ ลวดหนามหีบเพลงปิดกั้นพื้นที่ทางเข้ารัฐสภา โดยระบุว่าเป็นพื้นที่ห้ามชุมนุมตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ แต่การกีดขวางนั้นกระทำอย่างเลือกปฏิบัติ เพราะตำรวจยังให้ผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองที่สนับสนุนรัฐบาลเข้าไปชุมนุมได้อยู่ ขณะที่ผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรที่จะเข้าไปชุมนุมกลับถูกสลายการรวมตัวด้วยแก๊สน้ำตาและรถฉีดน้ำแรงดันสูง ท้ายที่สุด ตำรวจก็ล่าถอยออกไปในช่วงค่ำ
อีกเหตุการณ์ในวันนั้นที่น่าจะเป็นที่จดจำของใครหลายคน คือ การที่เจ้าเป็ดเหลืองยางเดิมทีถูกนำร่วมขบวนมาประท้วงหน้ารัฐสภา ได้กลายเป็นอุปกรณ์จำเป็น ใช้ป้องกันน้ำแรงดันสูงจากฝั่งทางการ ทำให้ผู้ชุมนุมในวันนั้นร่วมกันให้ “เจ้าเป็ดเหลือง” เป็นแมสคอตของการประท้วง และมีการตั้งมีมให้อีกมากมายตามมา เช่น การเลื่อนยศเจ้าเป็ดเหลืองเป็น “พลเรือเอกเป่าแล้วฟูฟู” เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของเป็ดยางเหลืองในวันนั้น
16. ม็อบ18พฤศจิกา : จากราชประสงค์ถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หลังจากค่ำวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่หน้ารัฐสภา การชุมนุมของกลุ่มราษฎรเพื่อติดตามและเรียกร้องให้สภารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับล่ารายชื่อของประชาชนยุติลง แกนนำประกาศนัดหมายชุมนุมวันที่ 18 พ.ย. ช่วงเย็นที่แยกราชประสงค์และหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
การชุมนุมวันนั้น มีการผลัดกันขึ้นปราศรัยของกลุ่มคณะราษฎร มีกิจกรรมการแจกปืนฉีดน้ำให้ยิงเข้าไปใน สตช. แจกถังสีสาดใส่ป้ายตำรวจ เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจในประเด็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงในการสกัดกั้นทั้งรถฉีดน้ำแรงดันสูง และแก๊ซน้ำตา กับผู้ชุมนุมเมื่อวาน
นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมบางคนนำสีสเปรย์ และสีชอล์ก มาเขียนข้อความตามทรัพย์สินสาธารณะ ป้ายรถเมล์ ฟุตบาธ ถนน และอื่น ๆ เพื่อระบายความคับแค้นใจต่อสถานการณ์ทางการเมือง บางข้อความมีการต่อว่าพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์
คุยกับคนมา #ม็อบ18พฤศจิกา ความผิดหวังที่ 'สภาไม่เห็นหัวเรา' และความหวังสร้างพื้นที่ปลอดภัย
#ม็อบ18พฤศจิกา : กลุ่มราษฎรมาตามนัดเต็มราชประสงค์ - สตช.ป้องกันแน่น
17. 25 พ.ย. : การชุมนุมหน้า SCB ที่ทำให้การพูดเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลายเป็นเรื่อง mass
#ม็อบ25พฤศจิกาไปSCB การชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ถนนรัชดาภิเษก ตามที่ได้นัดหมายโดยคณะราษฎร เพื่อแสดงการไม่ยอมรับ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 มีผลทำให้ทรัพย์สินฝ่ายกษัตริย์ใดที่เดิมเป็นชื่อของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่น การมีชื่อในผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (เช่น SCB) ต้องเปลี่ยนเป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรืออีกนัยหนึ่งคือ พ.ร.บ.นี้ทำให้ทรัพย์สมบัติแผ่นดินที่เคยอยู่ในชื่อสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกโอนมาให้พระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว
ทั้งนี้ การชุมนุมหน้า SCB ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมโดยรวม ให้หันมาสนใจและตั้งคำถามถึงการออก พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่ อย่างไร
ประมวลสถานการณ์ชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB
18. 29 พ.ย. : ชุมนุมหน้าราบ 11 ประท้วง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ ย้ายบางส่วนของกองทัพเป็นของพระมหากษัตริย์
การชุมนุม #29พฤศจิกาไปราบ11 ผู้ชุมนุมเดิมกำหนดนัดหมายชุมนุมที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนย้ายมาเป็น กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุที่ต้องเป็นสองหน่วยงานข้างต้น สืบเนื่องจากปัญหา พ.ร.ก. โอนถ่าย อัตรากําลังพลทหารและงบประมาณของกรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราชที่ 11 จากต้นสังกัดเดิมคือกองทัพบก กองทัพไทย และกระทรวงกลาโหม ไปสังกัดหน่วยถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระมหากษัตริย์ การณ์เช่นนี้นับเป็นการขยายพระราชอํานาจเกินควร และเป็นการบ่อนทำลายประชาธิปไตย
ในวันนั้น แกนนำอ่านแถลงการณ์หน้าราบ 11 เรียกร้องให้มีการโอนถ่ายกําลังพลดังกล่าวคืนสู่ต้นสังกัดเดิม ผ่านการยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากําลังพลฯ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ไทยไม่มีส่วน ก้าวก่ายแทรกแซงการทํางานของรัฐบาลราษฎร และสามารถดํารงตนอย่างสง่างามภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
'ราบ 11' ส่วนราชการในพระองค์ ตามพระราชอัธยาศัย และ 'ที่ดินสาธารณสมบัติฯ' สู่ 'เขตพระราชฐาน' ?
ประมวล #29พฤศจิกาไปราบ11 : ขบวนเป็ดถึงราบ 11 ย้ำ 'กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว'
19. #ม็อบ2ธันวา : ประท้วงศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ประยุทธ์รอดปมบ้านพักทหาร
การชุมนุมวันที่ 2 ธ.ค. นัดหมายโดยกลุ่มคณะราษฎร บริเวณห้าแยกลาดพร้าว หลังศาลรัฐธรรมนูญให้ “ประยุทธ์” รอดปมบ้านพักทหาร ยังเป็นนายกฯ ต่อ มีการจำลองเวทีหลักเป็นบัลลังก์ศาลวิจารณ์ความหลายมาตรฐาน และยืนยันเรียกร้อง 3 ข้อต่อ
เวทีปราศรัยของวันนั้น เรียกว่าวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการทุบศาลของอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ การปราศรัยของพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน ซัดศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้สองมาตรฐาน แต่ไร้มาตรฐาน พร้อมเผารูปและตำราเรียนเขียนโดยนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปราศรัยของอานนท์ นำภา วิจารณ์คำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ และการละเลยข้อปฏิบัติตามหลัก “ปกเกล้าไม่ปกครอง” และไม่เป็นกลางทางการเมืองของกษัตริย์ไทย
#ม็อบ2ธันวา ชุมนุมวิจารณ์ศาล รธน.ให้ 'ประยุทธ์ ยังเป็นนายกฯ ต่อ ปมบ้านพักทหาร
20. 10 ธ.ค. 2563 : ยื่นหนังสือยกเลิก ม.112 หน้า UN จนถึงอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
10 ธ.ค. มวลชนหลายกลุ่มนัดชุมนุม 2 จุดใหญ่ใน กทม. เพื่อรณรงค์ยกเลิก ม.112 โดยจุดแรกช่วงเช้า กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นัดยื่นหนังสือที่องค์การสหประชาชาติ เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พร้อมร้องนานาชาติจับตาดูสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย
ขณะที่จุดที่สองคืออนุสรณ์สถาน 14 ตุลา งาน “ยกเลิก 112 สิ แล้วเราจะเล่าให้ฟัง” จัดโดย แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และม็อบเฟส
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะล่วงเลยจากวันที่ 10 ธ.ค.ไปแล้ว แต่การรณรงค์ยกเลิก ม.112 ยังมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยระดับโรงเรียน มีกรณีที่เป็นคลิปไวรัลในโลกออนไลน์ คือนักเรียนมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ รณรงค์ยกเลิก ม. 112 ในงานกีฬาสีโรงเรียน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ในวันที่ 17 ธ.ค. กลุ่ม “DemHope” แขวนป้ายรณรงค์ข้อความ “ยกเลิกมาตรา112” “ห้างสินค้าราคาแพงแรงงานราคาถูก” และ “แก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน” กลางห้างดัง “สยามพารากอน” และหลังจากนั้น ยังสามารถพบเห็นป้ายผ้า “ยกเลิก ม.112” กระจายอีกหลายจุดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ การรณรงค์ยกเลิก ม.112 เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลนำ ม.112 กลับมาใช้อีกครั้งตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ย.เป็นต้นมา ข้อมูลของประชาไทระบุว่าในช่วงครึ่งปีหลัง มีผู้ถูกกล่าวหาด้วย ม.112 ทั้งสิ้น 40 คน โดยผู้ที่ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่คือนักเรียน-นักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมือง
#ม็อบ10ธันวา ยื่นหนังสือยกเลิก ม.112 ตร.วางคอนเทนเนอร์-ลวดหนามปิดถนน
ม็อบเฟสและแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมรณรงค์ยกเลิก 112 - ที่จัดงานถูกปาระเบิดกลางดึก
เสวนา ม.112 : คดีนโยบายตามใจผู้มีอำนาจ
จนท.ขอรายชื่อนักเรียนที่รณรงค์ยกเลิก 112 ในงานกีฬาสีโรงเรียน จ.แพร่
#จากโรงงานสู่ห้างนายทุน กลุ่ม 'DemHope' แขวนป้ายรณรงค์สิทธิแรงงาน-ยกเลิก ม.112 กลางห้าง
ป้าย 'ยกเลิก 112' ปรากฎ กทม. อยุธยา เชียงใหม่ - เยาวชน 17 ปี เขียนป้าย ถูกตร.สน.ปทุมวันคุมตัวทำประวัติ