วันพฤหัสบดี, มกราคม 14, 2564

ทนายอานนท์ถูกเสนอชื่อเป็นเจ้าของรางวัลควังจูปีนี้ ทนายอานนท์ จะเป็นคนไทยคนที่สาม ต่อจาก"อังคณา นีละไพจิตร" และ"ไผ่ ดาวดิน"จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา



Sa-nguan Khumrungroj
9h ·

#ทนายอานนท์ถูกเสนอชื่อเป็นเจ้่าของรางวัลควังจูปีนี้
แหล่งข่าวทางการทูตเปิดเผยกับข้าพเจ้าเย็นนี้ว่า
"อานนท์ นำภา" ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนวัย 36 ชาวร้อยเอ็ด ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาการเมืองหลายคดี รวมทั้ง ม.112 เนื่องจากเป็นแกนนำคนสำคัญในการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในไทยตลอดปีที่แล้ว ได้รับการเสนอชื่อเป็นเจ้่าของรางวัลสิทธิมนุษยชนควังจู"(광주이권상 光州人權賞)ประจำปีนี้ จากมูลนิธิรำลึกเหตุการณ์เคลื่อนไหวประชาธิปไตย 18 พฤษภาคม 1980 ณ.เมืองควังจู( 5.18 기념재단 5.18紀念財團)
ทนายอานนท์ จะเป็นคนไทยคนที่สาม ต่อจาก"อังคณา นีละไพจิตร" นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนไทย-มุสลิม ซึ่งได้รางวัลนี้เมื่อปี 2006 และ"ไผ่ ดาวดิน"จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เมื่อปี 2017 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักโทษ ม.112 อยู่ในเรือนจำขอนแก่นในคดีแชร์ข่าวจากเว็บไซต์บีบีซีไทย โดยไผ่อายุน้อยที่สุดสำหรับรางวัลนี้ ในวัยเพียง26
รางวัลสิทธิมนุษชนกวางจู มีขึ้นครั้งแรกในปี 2000
ผู้คว้ารางวัลคนแรกคือ Xanana Gusmão นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 แห่ง ติมอร์เลสเต้
"อ่องซาน ซูจี" ที่ปรึกษาแห่งรัฐคนปัจจุบัน ก็เคยได้รางวัลนี้ปี 2004 ขณะที่เธอยังถูกกักบริเวณในบ้านพักที่ย่างกุ้ง เมืองหลวงพม่าขณะนั้น
รางวัลสิทธิมนุษยชนควังจู มีขึ้นครั้งแรกปี คศ.2000
เพื่อรำลึกเหตุการณ์ "การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในควังจู (광주민주화운동 光州民主化運動) เมืองเอกจังหวัด ชอลลานัมโด (전라남도 全羅南道) ขณะนั้น ระหว่างวันที่ 18 ถึง 27 พฤษภาคม คศ.1980 เรียกร้องให้มีเสรีภาพ ประชาธิปไตย ยกเลิกกฎอัยศึกและระบบการปกครองเผด็จการทหาร โดยนักศึกษาและประชาชนนับแสนเข้าร่วม
ที่สุดถูกปราบปรามอย่างบ้าคลั่งโดยคำสั่งของ พลโท "ชอน ดู-ฮวัน" (전두환 全斗煥) ผู้บัญชาการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการก่อรัฐประหารและลอบสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามหลายครั้ง ซึ่งต่อมายึดอำนาจ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
เหตุการณ์นองเลือดครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิตร่วม 200 คน บาดเจ็บกว่า 400 คน ยังมีถูกจับกุมและสูญหายจำนวนมาก
สำหรับปีนี้
ทางควังจูจะมีกิจกรรมเรื่องการรณรงค์ให้ 18 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันสากลแห่งการห้ามทหารแทรกแซงการเมืองอีกด้วย
(สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)