วันอังคาร, มกราคม 12, 2564

ด้านมืดของแอปติดตามตัว บทเรียนจากสิงคโปร์



Jitti Jum
January 8 at 7:32 PM ·

#ด้านมืดของการติดตามการติดต่อ
.
เมื่อวานมีคนสิงคโปร์บอกมาว่า ตอนนี้รัฐบาลเขายอมให้ตำรวจเข้าถึงข้อมูลจากแอปติดตามตัว เลยไปค้นเรื่องนี้มา
.
สิงคโปร์มีจัดการการระบาดของโควิดที่ยอดเยี่ยม รัฐบาลออกแอปพลิเคชั่นติดตามการติดต่อชื่อ TraceTogetger มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 63 โดยสามารถใช้บนโทรศัพท์มือถือ ต่อมามีแบบที่เป็นอุปกรณ์พกใส่กระเป๋า (โทเคนบลูทูธ) ถ้ามีใครติดเชื้อ แอปจะแจ้งเตือนเมื่อเราไปอยู่ใกล้คนนั้น
.
ตอนแรกรัฐบอกว่าให้ใช้ด้วยความสมัครใจ ต่อมาเริ่มให้บังคับใช้แอปนี้ก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ เรียกว่าระบบ SafeEntry ถึงจะเข้าถึงร้านค้า โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะอื่น ๆ โดยไม่ต้องเช็คอิน จึงมีคนใช้มากขึ้น
.
รัฐบาลสัญญาว่าจะใช้ข้อมูลนี้ในการจัดการโรคระบาดเท่านั้น ไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ จนกว่าผู้ใช้จะตรวจพบเชื้อโควิดและทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อไปยังคนนั้น โดยรัฐบาลเชื่อว่ายิ่งมีคนใช้มากเท่าไหร่ จะควบคุมการระบาดได้มากขึ้นเท่านั้น
.
นอกจากนี้ กฎหมายกำหนดชาวสิงคโปร์ต้องอัปโหลดข้อมูลสุขภาพผ่านแอป TraceTogether เมื่อได้รับการติดต่อจากรัฐบาล สะท้อนให้เห็นว่าระบบการติดตามตัวของสิงคโปร์เป็นระบบบังคับ ไม่ใช่แบบสมัครใจ
.
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 64 รัฐมนตรีมหาดไทยของสิงคโปร์แถลงต่อรัฐสภาว่า "ข้อมูล TraceTogether อาจนำมาใช้ในสถานการณ์ที่ความปลอดภัยและความมั่นคงของพลเมืองได้รับผลกระทบ กองกำลังตำรวจสิงคโปร์มีอำนาจภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (CPC) ในการเข้าถึงข้อมูลใดๆ รวมถึงข้อมูล TraceTogether สำหรับการสืบสวนคดีอาชญากรรม"
.
ในวันเดียวกันมีการเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลบนเว็บไซด์ของ TraceTogether ระบุว่า "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีผลบังคับใช้กับข้อมูลทั้งหมดภายใต้เขตอำนาจศาลของสิงคโปร์"
.
รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์กล่าวว่า เท่าที่ทราบจนถึงวันนี้มีการใช้ข้อมูลจากแอปนี้เพียงครั้งเดียวเพื่อสอบสวนคดีฆาตกรรม
.
นักข่าวชาวสิงคโปร์ให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่าเขาได้ออกมาเตือนเรื่องการใช้แอปนี้มาตั้งแต่ต้น แต่ถูกตำหนิว่าคำวิจารณ์ดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อการป้องกันการระบาด
.
BBC ยังรายงานอีกว่าชาวสิงคโปร์หลายคนรู้สึกไม่พอใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและรู้สึกเหมือนถูกรัฐบาลหลอก โดยให้สัมภาษณ์ว่า เรามีกล้องวงจรปิดมากมายทำไมยังต้องใช้ข้อมูลจากแอปนี้อีก พวกเขาไม่สามารถลบแอปนี้ได้ พราะยังต้องใช้ในการเข้าถึงสถานที่ต่างๆ
.
การเปิดตัวโทเคนบลูทูธในเดือนมิถุนายน 63 ทำให้หลายฝ่ายออกมาต่อต้านรัฐบาล เนื่องจากกังวลว่าจะบังคับใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้กับทุกคน คำร้องออนไลน์ที่เรียกร้องให้ยกเลิกอุปกรณ์นี้มีคนร่วมลงชื่อกว่า 55,000 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยในสิงคโปร์
.
สิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีปัญหาแบบนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคม 63 มีรายงานว่าตำรวจเยอรมันใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากการติดตามการติดต่อ เพื่อติดตามพยานในการสืบสวนคดี ส่งผลร้านอาหาร บาร์และชาวเยอรมันได้ออกมาคัดค้าน
.
เดือนธันวาคมปี 2563 ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก Andrew Cuomo ได้ลงนามในกฎหมายที่ #ห้าม ไม่ให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเข้าถึงข้อมูลการติดตามการติดต่อ ทำให้กลุ่มนักกิจกรรมต่างๆ ในนิวยอร์ก รวมถึง Electronic Frontier Foundation ออกมาชื่นชมการออกกฎหมายดังกล่าว
.
การจัดการข้อมูลที่ไม่โปร่งใสและการละเมิดความเป็นส่วนตัว จะทำลายความไว้วางใจของประชาชนต่อการป้องกันการระบาดและระบบสาธารณสุขในอนาคต ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของการควบคุมการระบาดอย่างมาก ส่วนจะติดตามการติดต่ออย่างไร โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน คงต้องฝากให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาช่วยกันตอบ
.
***********
แปลและสรุปโดย จิตติพร 9/1/21

อ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/world-asia-55541001
https://www.tracetogether.gov.sg/common/privacystatement/
https://www.technologyreview.com/.../singapore-contact.../
https://www.technologyreview.com/.../contact-tracing.../