วันพฤหัสบดี, มกราคม 07, 2564

6 มกรา ครบรอบ 20 ปี การเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 ซึ่งเปลี่ยนการเมืองไทยไปตลอดกาล และเป็นจุดเรื่มต้นของความขัดแย้ง อำนาจสถาบันกษัตริย์ กับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง




Thanapol Eawsakul
7h ·

ครบรอบ 20 ปี การเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544
จุดเรื่มต้นของความขัดแย้ง“ทวิอำนาจ” (Dual Power)
อำนาจสถาบันกษัตริย์ กับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง
..............
วันนี้ครบรอบ การลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดจากการที่ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543
นับว่าเป็น การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกในระบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
การเลือกตั้งครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ซึ่งก่อนจะกล่าวถึงการเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนหน้านั้น 1 ปี มีนาคม 2543 ประเทศไทยก็มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกโดยตรง ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 68 ปีที่สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
กลับมาที่การเลือกตั้ง ส.ส. รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มี ส.ส. 500 คน แบ่งเป็น 2 ระบบ
1. ระบบเขต 400 คน ระบบ ส.ส. 1 คน ต่อ 1 เขตเลือกตั้ง (ก่อนหน้านั้นใข้ระบบแบ่ง เขตเรียงเบอร์ )
2. ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เหมือนระบอบประธานาธิบดี โดยเอาคะแนนทั้งหมดมาหาเอาสัดส่วน แต่ถ้าพรรคการเมืองไทยได้คะแนนน้อยกว่า 5 % ก็จะไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ
3. มี กกต. จัดการเลือกตั้ง แทนกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง กกต. มีอำนาจแจกใบเลือง ใบแดง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในส่วนพรรคการเมืองต่าง ๆ นั้น เดิมก่อนหน้านั้นประเทศไทยมีแนวโนย้มที่จะมี 2 พรรคใหญ่เมื่อการเลือกตั้ง 2538 (ชาติไทย 92 ประชาธิปัตย์ 86) และ 2539 ( ความหวังใหม่ 125 ประชาธิปัตย์ 123) โดยครั้งหลัง 2 พรรคการเบืองใหญ่ได้คะแนนมากกว่า 63 %
พรรคประชาธิปัตย์เริ่มบริหารประเทศปลายปี 2540 ในช่วงแรก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนมากด้วยความเชื่อมั่นว่าจะมาแก้วิกฤติต้มยำกุ้ง พร้อมๆ กับพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทยก็เสื่อมความนิยม นักการเมืองไม่น้อยย้ายพรรคย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีเสธ.หนั่น พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลจาธิการพรรค เป็นฝ่ายดูดคนเข้าพรรค
แต่เมื่อบริหารประเทศไประยะหนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ก็เสื่อมความนิยมไปอย่างรวดเร็วไม่เพียงขาดความสมารถในการแก้วิกฤติเศรษฐกิจ และ่ไม่มีวิสัยทัศน์มากพอ และปัญญาคอรัปชั่นก็เพิ่มสูงขึ้น
พรรคไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตรที่ตั้งในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 แม้ว่าทักษิณจะมีทรัพยากรด้านเงินทองจำนวนมาก แต่แทบไม่มีใครเชื่อว่าจะชนะเลือกตั้งได้
ขณะเดียวกันพรรคไทยรักไทยก็เล่นการเมือง 2 ขาคือ
ขาที่หนึ่ง การดึงนักการเมืองเก่ามาร่วมพรรคไทยรักไทย โดยอาศัยพลังดูดของทักษิณ
ขาที่สอง สร้างความหวัง สร้างนโยบายทางการเมืองแบบ คิดใหม่ ทำใหม่ พร้อม ๆ กับการสร้างนักการเมืองรุ่นใหม่ขึ้นมา
ผลการเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 จึงออกมาแบบหักปากการเซียนเมื่อพรรคไทยรักไทย ชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายเมื่อ
ระบบแบ่งเขต 400 ที่นั้ง พรรคไทยรักไทยได้ไปถึง 200 ที่นั่ง
ขณะที่ระบบบัญชีรายชื่อ มีผู้ไปใช้สิทธิ 28,629,202 คน เลือกพรรคไทนรักไทยถึง 11,634,495 คน คิดเป็น 40.64% ส่งผลให้ไทยรักไทย มี ส.ส.ระบบบัญขีรายชื่อ 48 คน
รวม ส.ส. 2 ระบบ 248 คน หรือคิดเป็น 49.6%
เท่านั้นยังไม่พอ หลังเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยควบรวม 2 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ 36 ที่นั่ง (มา 35 คน) พรรคเสรีธรรม 14 คน (มาทั้ง
14 คน)
รวมแล้วพรรคไทยรักไทย มีส.ส. 299 คน หรือ 60 % เลยทีเดียว
ไม่เพียงแต่ชนะเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยยังส่งมอบนโยบายที่หาเสียงได้ด้วยเสถียรภาพทางการเมืองที่แข็งแกร่ง
ในเดือนสิงหาคม 2544 ศาลรัฐธรรมนูญก็ปล่อยให้ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อโดยไม่ให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี
ก็ยิ่งทำให้ทักษิณ ขินวัตรได้รับความนิยมมากขึ้น
แต่ความนิยมกลับเป็นดายสองคม ทักษิณมักดพูดเสมอว่า ประชาชน 11 ล้านคนเลือกเขาเข้ามา (ก่อนจะเป็น 19 ล้านคน หลังเลือกตั้ง 2548)
เมื่อมีเสียงวิจารณ์ก็มักตอบกลับอย่างเผ็ดร้อนว่า
“ต่อให้มีคนด่าผมแทบตาย แต่การเลือกตั้งคราวหน้าผมยังมั่นใจว่าจะชนะ เพราะประชาชนรู้ว่าผมทำางานอย่างไร เพราะเรามีผลงานเป็นรูปธรรม”
......
การเมืองไทยหลัง 14 ตุลา สถาบันกษัตริย์เริ่มสถาปนาอำนาจนำเหนือกลุ่มต่าง ๆ และครองอำนาจนำอย้างเบ็ดเสร็จหลัง พฤษภา 2535
ขณะเดียวกันเมื่อกองทัพต้องถอยออกจากการเมืองอำนาจก็รวมศูนย์มาที่รัฐสภามากขึ้น นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง คือจุดชี้ขาดการเมืองไทย แต่ปัญหาของนักการเมืองคือความไม่มีเสถีรภาพ นำไปสู่การไม่มีผลงาน
ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 และทักษิณ ชินวัตรได้มาแก้ปมการเมืองดังกล่าวได้
เมื่อถึงเวลานั้นอำนาจสถาบันกษัตริย์ กับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง เริ่มตึงเครียดมากขึ้น
เพียง 1 ปีหลังการเลือกตั้ง มกราคม 2544 ที่เปลี่ยนการเมืองไทย
ฌอน คริสปิน และ รอดนีย์ ทาสเกอร์ นักข่าวฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิครีวิว เขียนเรื่อง “ปวดพระเศียร” (Right-Royal-Headache) โดยอ้างแหล่งข่าวระดับสูงว่า
"ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย กำาลังสร้างความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทต่อพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพราะ เขาถูกมองว่าอวดดีและถูกกล่าวหาว่าพยายามเข้าไป ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของราชวงศ์ ...เป็นที่รู้กัน ว่าทักษิณมีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารแหล่งข่าวระดับสูงที่ใกล้ชิดกับราชสำานักระบุว่า เรื่อง ทั้งหมดนี้ทำาให้พระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระราชหฤทัย จนทำาให้เกิดการคาดหมายกันว่าอาจมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสำานักนายก
รัฐมนตรีกับสำานักพระราชวัง แหล่งข่าวเดียวกันยังแสดงความกังวลว่า ทักษิณซึ่งได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างท่วมท้นจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคมปีที่แล้วอาจใช้สถานภาพของตนในฐานะนักธุรกิจผู้ร่ำารวยที่สุดในประเทศไทย พร้อมด้วยฐานเสียงสนับสนุนที่เข้มแข็งในรัฐสภา เพื่อคานอำานาจกับพระราชวัง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงเรื่องนี้ก็คงมีนัยยะที่สำคัญและน่าวิตกกังวลต่อเสถียรภาพของประเทศไทยในอนาคต”
และเป็นดังที่คาด ความตึงเครียดเกิดเรื่อยมาจนถึงการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 และผลของมันยังก่อให้เกิดการเมืองแบบสืบทอดอำนาจ เพื่อกีดกันอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งมาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวได้ว่า การเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 ได้เปลี่ยนการเมืองไทยไปตลอดกาลและเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง“ทวิอำนาจ” (Dual Power)คือ
อำนาจสถาบันกษัตริย์ กับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง มาจนถึงปัจจุบัน

https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/3874478655952278