วันจันทร์, ธันวาคม 14, 2563

“อำนาจศักดินาไทย ใครเป็นใครที่รุมกินโต๊ะแผ่นดินจะนะ” (อ่านข้อ 7 ถ้าอยากรู้ว่าชนชั้นนำมุสลิมนำคิดยังไง)




Savechana
Yesterday at 1:06 AM ·

“อำนาจศักดินาไทย ใครเป็นใครที่รุมกินโต๊ะแผ่นดินจะนะ”
โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ถูกรัฐบาลประยุทธ์เรียกชื่อโครงการสวยหรูว่า “โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมกว่า 16,000 ไร่ ท่าเรือน้ำลึก 3 ท่า และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเหลว 2,900 เมกะวัตต์ โดยมอบหมายให้ ศอ.บต.และ กอ.รมน.ภาคที่ 4 เป็นผู้ผลักดัน
เหตุผล 10 ประการที่ต้องคัดค้านโครงการดังกล่าวคือ
1. “ประวิตรชง ประยุทธตบ ทิ้งทวนมติครม.ผ่านฉลุยโดยไร้การคัดค้านใดๆ”
โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ คือมรดกยาพิษจากรัฐบาลเผด็จการ คสช. โดยรองนายกฯประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รีบเร่งนำเรื่องเข้าขออนุมัติในการประชุมครม.นัดสุดท้ายของรัฐบาลคสช. ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562
2. “โครงการนี้ไม่ใช่นิคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แท้จริงคนได้ประโยชน์คือบริษัทเดียว”
โครงการนี้เอื้อประโยชน์ให้นายทุนบริษัทเดียวคือ บริษัท ทีพีไอโพลีนพาวเวอร์จำกัด(มหาชน)(TPIPP) ซึ่งปรากฎตัวชัดเจนในเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ซึ่งจัดโดย ศอ.บต.
3. “หลักฐานของอำนาจศักดินานอกรัฐธรรมนูญ”
มีข้อมูลว่า มีอดีตองคมนตรี หนึ่งในอำนาจศักดินานอกรัฐธรรมนูญ เรียกให้เจ้าของบริษัทยักษ์แห่งหนึ่ง มาหารือ ให้มาสร้างนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้เหมือน EEC และสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา2 ในอำเภอจะนะ และก็ได้เรียกประยุทธ์-ประวิตรให้รับไปผลักดัน
4. “6 ล้านบนโต๊ะ”
บริษัท TPIPP เป็นหนึ่งในผู้บริจาครายใหญ่ในกรณีเลี้ยงโต๊ะจีนของพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) โดยเครือ TPIPP ได้บริจาคเงินจำนวน 6 ล้านบาทให้กับพรรค พปชร.
5. “ลักไก่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อเปิดทางให้นิคมฯจะนะ โดยไม่สนใจประชาชนและหลักนิติรัฐ”
ประวิตรและวิษณุ ส่งคนของตนเองมารับตำแหน่งใน ศอ.บต.เพื่อผลักดันภารกิจนี้โดยเฉพาะ เน้นแก้ผังเมืองจะนะจากสีเขียวเป็นสีม่วงอย่างขี้โกงลักไก่ผ่านช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อเปิดทางให้สร้างนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างไม่สนใจหลักนิติรัฐและประชาชนที่คัดค้าน
6. “กว้านซื้อที่ดินไม่หยุด มีคนพร้อมจัดการให้”
มีการกว้านซื้อที่ดินขนานใหญ่ โดยมีคนที่ดูแลเรื่องที่ดินเป็นคนกว้านซื้อรวบรวมที่ดินให้บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้จะมาลงทุน และจัดการเรื่องโฉนดที่ดินให้เป็นการเปลี่ยนมือที่ดินจากคนในพื้นที่ไปสู่ทุนยักษ์ใหญ่
7. “สร้างวาทกรรม สู้ไปก็แพ้ มาถือหุ้นลมโรงไฟฟ้าดีกว่า”
ชนชั้นนำมุสลิมอย่างเครือข่ายจุฬาราชมนตรี นำโดยนักการเมืองบางกลุ่มฝั่งรัฐบาล ได้ร่วมขบวนการด้วยการสร้างวาทกรรม “สู้ไปก็แพ้ มาถือหุ้นลมโรงไฟฟ้ากันดีกว่า” โดยได้ตั้งสหกรณ์และรวบรวมบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเป็นหุ้นลม เพื่อไม่ให้ชาวบ้านคัดค้านโครงการ
8. “ปิดกั้นผู้คัดค้านโครงการ ไม่ต่างจากที่ปิดปากนักศึกษาผู้ชุมนุม”
เวทีใหญ่รับฟังความคิดเห็น 11 กรกฏาคม 2563 มีการปิดกั้นกลุ่มคัดค้านอย่างเต็มที่ ปิดถนนสี่เลนห่างไปข้างละ 4 กิโลเมตร ตำรวจทหารกว่าพันนายและลวดหนามพร้อม ฝ่ายค้านห้ามเข้า
9. “แนวกันชนเป็นไปได้ยาก แต่มลพิษเป็นไปได้แน่ๆ”
ลักษณะนิคมอุตสาหกรรมมีลักษณะที่ดินที่เว้าแหว่งอย่างมาก แล้วแต่ว่าตรงไหนยอมขายหรือไม่ขายที่ดิน ความเว้าแหว่งทำให้การวางแนวกันชน (Buffer Zone) เป็นไปได้ยาก ชุมชนริมรั้วนิคมฯจะได้รับมลพิษอย่างมาก
10. “ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลจะนะ กำลังจะถูกทำลาย”
นิคมอุตสาหกรรมครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลริมทะเล จะส่งผลทำลายทะเลจะนะที่อุดมสมบูรณ์ ทำลายความเป็นเมืองแห่งอุลามะฮ์(ผู้รู้ทางศาสนา) ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนราษฏร์สอนศาสนาอิสลาม 27 โรงเรียนในอำเภอจะนะ ทำลายอุตสาหกรรมนกเขาขวาเสียง ทำลายนาข้าว แตงโม พืชผักผลไม้และสวนยาง ถ้าเรายอมให้นิคมอุตสาหกรรมจะนะเกิด ประชาชนในพื้นถิ่นจะต้องลำบาก ต้องทนอยู่กับมลพิษ จนไม่ไหวก็ต้องยอมขายและอพยพทิ้งบ้านทิ้งเมืองในที่สุด #Savechana

https://www.facebook.com/savechana/posts/205897194454421
...

Savechana
Yesterday at 1:16 AM ·

พี่น้องในพื้นที่ action ส่งใจไปทำเนียบ
จดหมายจากชาวประมงพื้นบ้าน
เรือประมงพื้นบ้านที่มารวมตัวกันในลำคลองสะกอมวันนี้ เป็นสัญลักษณ์ของพวกเราชาวประมงจากบ้านปากบาง บ้านบ่อโชน ต.สะกอม บ้านตลิ่งชัน ต. ตลิ่งชัน อ.จะนะ บ้านปากบาง ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นพี่น้องชาวประมงในพื้นที่ใกล้เคียงกันสามารถฝ่าคลื่นมารวมตัวกันได้ ในฤดูมรสุม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คลื่นลมรุนแรงเช่นนี้
เรารวมตัวกันเพื่อที่จะบอกให้สังคมทราบว่า ภาครัฐกำหนดให้มีโครงการนิคมอุตสาหกรรมขึ้น ที่อำเภอจะนะ โดยเป็นกิจการของเอกชน ๒ บริษัท คือ ทีพีไอพีพี และ ไออาร์พีซี ต้องใช้เนื้อที่กว่า ๑๖,๗๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ ตำบล คือตำบลสะกอม ตำบลตลิ่งชัน และตำบลนาทับ ถือได้ว่าเป็นโครงการนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับประชาชนในพื้นที่ในหลายมิติ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม การกัดเซาะชายฝั่งทะเล มลพิษ เสียพื้นที่เพาะปลูก ที่สำคัญคือ “สูญเสียแหล่งอาหารทะเลของสังคมไทย” ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก รวมถึงสังคมวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิม ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด
โดยภาครัฐบีบบังคับให้กรมโยธาธิการและผังเมืองแก้ไขผังเมืองจะนะจากสีเขียวเป็นสีม่วง เพื่อรองรับโครงการดังกล่าวจนต้องละเลยขั้นตอนสำคัญของกฎหมายที่บัญญัติไว้
พวกเราจึงรวมตัวกันในวันนี้เพื่อสนับสนุนข้อเสนอของพี่น้องเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นซึ่งอาสาเป็นตัวแทนไปปักหลักอยู่หน้าทำเนียบตอนนี้ โดยมีข้อเรียกร้องหลัก ๒ ข้อ คือ
๑.รัฐบาลต้องยุติการดำเนินโครงการจะนะเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตทั้งหมด รวมทั้งการแก้ไขผังเมือง และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ในทันที เพื่อหยุดมรดกอัปยศอันไม่ชอบธรรมที่ส่งต่อมาจากระบอบ คสช.
๒. เมื่อยุติการเดินหน้าโครงการแล้ว ให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ เอสอีเอ อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจต่อแนวทางและโครงการพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ต่อไป
จะนะเป็นเพียงหนึ่งในพื้นที่ตัวอย่างซึ่งหากเรายังปล่อยให้ภาครัฐทำเช่นนี้ต่อไป เราจะสูญเสียทรัพยากรต่างๆ ในประเทศจนหมดไม่เหลือในอนาคต
พวกเราไม่ได้ปฏิเสธว่าบ้านเมืองจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า หากแต่การพัฒนานั้นจะต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องชอบธรรม เคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคตได้
ณ คลองสะกอมก่อนจะไหลสู่ทะเลจะนะ – เทพา อันอุดมสมบูรณ์
วันเสาร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓
#Savechana