วันอังคาร, กันยายน 15, 2563

จดหมายหลายฉบับเตือน ‘จิตสำนึก’ ผู้บริหาร มธ. แถมด้วยแจงความเป็นตัวตนจริง 'เพ็นกวิน'


อีกสามสี่วันจะ ๑๙ กันยา ผู้บริหารธรรมศาสตร์จะปักหลักเทอดอำนาจเบื้องบนต่อไปอีกนานแค่ไหน ไม่สำคัญแล้วละ ณ วันนี้ถนนสายประชาธิปไตยมุ่งหาแม่โดม เพื่อเป็นฐานรองชูเหล่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เป็นเสาตอม่อหลากหลายของประเทศภายหน้า

จดหมายทั้งเปิดผนึกและติดผนังพุ่งเตือน จิตสำนึก คนใหญ่ใน มธ.ไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้นจากการริเริ่มของ พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ นำบรรดาศิษย์เก่าจำนวนมาก ซึ่งน่าจะมีหลายคนเก๋ากว่า แก้วสรร อติโพธิ์ และประชาคมยกเมฆของเขา

จดหมายรายใหม่นี่จากศิษย์เก่ารุ่น ๖ ตุลา ๑๙ ไม่แต่เขาที่เป็นทนายสิทธิมนุษยชนช่วยเหลือนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยมาแล้วนักต่อนัก ลูกสาวของเขาก็ทำงานเฉกเดียวกันนี้เคียงข้างบิดาอย่างแข็งขัน Krisadang-Pawadee Nutcharus เตือน ผู้บริหารฯ“ต้องทำอะไรสักอย่าง”


เขาพาดพิง นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนปัจจุบันเป็นอันดับแรก ว่าในความจำที่เขาได้เคยร่วมงานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยมาก่อน มองเห็นจิตใจ ไม่อำมหิตอดีตอธิการบดีท่านนี้ จากท่าทีในวันครบรอบ ๒๐ ปี ๖ ตุลา

“พิธีกรรมซึ่งมีภาพของศพของจารุพงษ์ ทองสินธุ์ ถูกรัดคอและลากไปตามสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยผมได้ยินอาจารย์นรนิติพูดอย่างชัดเจนว่า ไม่นึกเลยว่าลูกศิษย์ของอาจารย์จะถูกทำร้ายอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตเช่นนี้”

สำหรับอาจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีคนปัจจุบัน “๒-๓ ปีมานี้ได้พบอาจารย์ในงานรำลึกเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ ที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ทุกปี” เขามั่นใจท่าน “เชื่อเช่นนั้นจริงๆ” ที่ยอมรับว่าผู้เสียสละและสูญเสียในเหตุการณ์ ตุลามหาวิโยค นี้ล้วนเป็น วีรชนของชาติ

กฤษฎางค์บอกกับผู้บริหารทั้งสอง “ว่าไม่ต้องกลัว เราจะช่วยกันสร้างเกียรติภูมิ มธก.ขึ้นมาใหม่” ด้วยการ “สนับสนุน ช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างสุดหัวใจ เพราะพวกเขาคือเชื้อสายและวิญญาณของวีรชน ๖ ตุลา” แห่งศตวรรษที่ ๒๑

ยังมีอีกคนที่กฤษฎางค์อดเอ่ยถึงไม่ได้ แม้ “ใครๆ อาจจะเห็นว่า...เป็นคนมุทะลุดุดัน พูดจาขวานผ่าซากและคิดอะไรที่เกินยุคเกินสมัย ยังไม่เหมาะสมกับวันเวลานี้” แต่ “ในฐานะทนายกับลูกความ ผมเห็นว่าเป็นคนมีเหตุมีผลและรักความเป็นธรรม

เขารู้ว่าควรจะทำอะไรในเวลาใด” กฤษฎางค์ยกตัวอย่างนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของสังคมในอดีต เปรียบเทียบความเป็น เพ็นกวิน พริษฐ์ ชีวารักษ์ กับการเสียสละของเช กูวาร่า นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ชาวอาร์เจ็นติน่า ผู้ปฏิบัติการในโบลิเวียและปลดแอกคิวบา

ในประเทศไทยก็มีนักปฏิวัติในลักษณะนั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นทั้งนักคิดนักเขียน ผู้ “เลือกที่จะเป็นกบฏต่อเผด็จการเข้าป่าจับอาวุธต่อสู้เพื่อปลดปล่อย” ประชาชนจากการถูกย่ำยีเอาเปรียบโดยเผด็จการ “ยอมอุทิศตนมายืนอยู่ข้างหน้าโดยไม่กลัวอันตราย

ไม่กลัวเลือดตกยางออก ไม่กลัวติดคุกติดตาราง...ผมเห็นว่าเพนกวินเป็นคนอย่างนั้น” บนพื้นฐานของการเป็นเด็ก ไบร๊ก์หัวดี ความจำเป็นเลิศแล้วยังศึกษาค้นคว้าล้ำลึก สามารถเล่าประวัติสนามหลวงย้อนไปก่อนยุครัตนโกสินทร์ชนิดผู้เข้าไปครอบเวลานี้อาจไม่รู้เท่า

ตัวอย่างความรู้จริงของเพ็นกวินสามารถทำให้พวกสลิ่มปฏิกิริยาบางคน หน้าหงาย(ถ้าไม่ถึงแตกเลือดซิบ) ในเชิงวิชาการ ทั้งที่ผู้นั้นต้องใช้สรรพนามนำหน้าชื่อของเขาว่า ด็อกเต้อที่บังอาจบริภาษณ์เพ็นกวินเป็น เด็กโข่งไร้เดียงสามี สองเขาเบิ้มๆ

เพ็นกวินเขียนตอบ ศุภณัฐ อภิญญาณ ด้วยวุฒิภาวะที่เหนือกว่าเกี่ยวกับ “คุณูปการของจอมพล ป. พิบูลสงคราม” ว่านอกจากหยุดยั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แล้วยังสร้างประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย ทำให้ ชาติ เป็นของประชาชน

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะราษฎร จอมพล ป. “มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสิทธิสตรีในยุคแรก” แล้วยังปฏิรูปที่ดิน อันผลพวงสำคัญชิ้นหนึ่งเป็นการมอบที่ดินให้จัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพ็นกวินยังเปิดความจริงด้วยว่า

จอมพล ป.ถูกรัฐประหารเพราะ รื้อคดีสวรรคต ร.๘...เพื่อเปิดโปงคนร้ายตัวจริง และคืนความเป็นธรรมให้อาจารย์ปรีดีและแพะทั้งสามคน และด้วยเหตุนี้ สถาบันกษัตริย์จึงร้อนใจขนาดไฟเขียวให้จอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ”

เพ็นกวินบอกว่าไม่ต้องเทิดทูลให้เป็นถึง สมมุติเทพ แต่ “ไม่เป็นธรรมที่จะบอกว่าจอมพล ป. เป็นจอมเผด็จการทรราช มีแต่ด้านดำไปเสียทีเดียว คำพูดนั้นควรเก็บไว้ใช้กับสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร สุนทร คงสมพงศ์ ไล่มาถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา”

โดยเฉพาะอย่างยิ่งของการโต้แย้งทางวิชาการ เพ็นกวินแนะนำด็อกเต้อคนนั้นไปอ่านหนังสือไทยหลายเล่มจากการค้นคว้าทางวิชาการเกี่ยวกับจอมพล ป. อันควรให้ได้ข้อมูลลุ่มลึกมากกว่า แทนที่จะอ้างแต่ Britannica.com

(https://www.facebook.com/paritchiwarakofficial/posts/840490643359543 และ https://www.facebook.com/krisadangpawadee.nutcharus/posts/3579924802038207)