วันอาทิตย์, กันยายน 27, 2563

ถ้าไม่มี ส.ว. พรรครัฐบาลแพ้ลงมติ "เลื่อนพิจารณา" แก้รัฐธรรมนูญ


Law
8h ·

ถ้าไม่มี ส.ว. พรรครัฐบาลแพ้ลงมติ "เลื่อนพิจารณา" แก้รัฐธรรมนูญ
.
24 กันยายน 2563 รัฐสภามีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา (ส.ว.-ส.ส.) เพื่อพิจารณาวาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 6 ญัตติ ท้ายที่สุด สภามิได้ลงมติรับหลักการในร่างใด เนื่องจากหลังการอภิปรายถกเถียงกันอย่างหนักหน่วง พรรคพลังประชารัฐได้เสนอให้รัฐสภาลงมติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 121 วรรคสามเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญ กินเวลา 30 วันเสียก่อนจะมีการลงมติในเรื่องนี้ซึ่งจะเป็นขั้นของการรับหลักการในวาระแรก
.
วิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยถึงเหตุผลในการเสนอญัตตินี้ว่า เพื่อไม่ให้ร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอนั้นถูกตีตกไปจึงเห็นควรให้มีการตั้ง กมธ. เพื่อพิจารณาร่วมกันว่าเนื้อหาสาระสำคัญประการใดที่เห็นร่วมกันได้ ถึงจะส่งผลให้การพิจารณาเรื่องแก้รัฐธรรมนูญช้าไปอีก 1 เดือนแต่ก็คุ้มค่า
.
ผลการลงมติดังกล่าวพบว่า 431 เสียงเห็นด้วยกับการตั้ง กมธ.ศึกษาฯ ไม่เห็นด้วย 255 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง จากเสียงของ ส.ส.และส.ว.ที่เข้าประชุมทั้งหมด 715 คน
.
มีรายละเอียดดังนี้
.
ผู้เห็นชอบ 431 เสียง แบ่งเป็น
.
๐ ส.ว. 228 เสียง (จากทั้งหมด 250 เสียง)
.
๐ ส.ส. 203 เสียง ได้แก่
.
- เพื่อไทย 1 เสียง
- พลังประชารัฐ 119 เสียง
- ภูมิใจไทย 59 เสียง
- ประชาธิปัตย์ 2 เสียง
- ชาติไทยพัฒนา 2 เสียง
- เศรษฐกิจใหม่ 5 เสียง
- รวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง
- รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1 เสียง
- พรรคเล็ก 9
.
ผู้ไม่เห็นชอบ 255 เสียง แบ่งเป็น
.
๐ ส.ว. 3 เสียง ได้แก่
.
- คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
- พลเดช ปิ่นประทีป
- พิศาล มาณวพัฒน์
.
๐ ส.ส. 252 เสียง
.
- เพื่อไทย 130 เสียง
- ก้าวไกล 52 เสียง
- ประชาธิปัตย์ 48 เสียง
- เสรีรวมไทย 10 เสียง
- ประชาชาติ 5 เสียง
- เศรษฐกิจใหม่ 1 เสียง
- เพื่อชาติ 5 เสียง
- พลังปวงชนไทย 1 เสียง
.
งดออกเสียง 28 เสียง แบ่งเป็น
.
๐ ส.ว. 6 เสียง ได้แก่
.
- กล้าณรงค์ จันทึก
- คำนูณ สิทธิสมาน
- พรเพชร วิชิตชลชัย
- วันชัย สอนสิริ
- สถิตย์ ลิ้มพงศ์พันธุ์
- อนุศาสน์ สุวรรณมงคล
.
๐ ส.ส. 22 เสียง แบ่งเป็น
.
- ก้าวไกล 1
- ประชาธิปัตย์ 1
- ชาติไทยพัฒนา 10
- พลังท้องถิ่นไท 5
- รักษ์ผืนป่า 1
- ชาติพัฒนา 4
.
จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่า
.
1.พรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับการตั้ง กมธ.ศึกษาญัตติแก้รัฐธรรมนูญทั้งหมด โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสียงข้างมากลงมติไม่เห็นด้วย
.
2.หากไม่นับเสียงส.ว.นั่นเท่ากับว่า ฝ่ายรัฐบาลแพ้โหวตในครั้งนี้ เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณาโดยใช้วิธีตั้ง กมธ.ศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียง 252 ต่อ 203
.
3.ส.ว.ชุดพิเศษของคสช.มีความเป็นเอกภาพสูงเช่นเดียวกับที่ผ่านมา ครั้งนี้ก็โหวตไปทางเดียวกันถึงร้อยละ 90 หรือ 228 เสียง
.
การเลื่อนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปส่งผลกระทบอย่างสำคัญ เพราะตามข้อบังคับการประชุมสภา หากมีการพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ในการประชุมสภาสมัยถัดไป พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านจะไม่สามารถเสนอญัตติแก้รัฐธรรมนูญที่มีหลักการเช่นเดียวกันได้ในสมัยประชุมเดียวกัน หรือถ้าญัตติแก้รัฐธรรมนูญตกไปก็ต้องไปเสนอใหม่ในสมัยประชุมหน้าซึ่งอาจใช้เวลานานขึ้นถึง 8-9 เดือน ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็เรียกได้ว่า เป็นความสำเร็จในการขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญของ คสช.
.
อ่านต่อ https://ilaw.or.th/node/5753

(https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10164436835090551)