วันอาทิตย์, มกราคม 05, 2563

ปวศ.จะซ้ำรอยไม๊... บทเรียนจาก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2523 ถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา 2563




บทเรียนจาก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2523 ถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา 2563

................
หลังรัฐประหารดค่นรัฐบาลขวาจัด ธานินทร์ กรียวิเชียร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในฐานะเลขาธิการคณะรัฐประหารได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรํฐมนตรี ควบรมว. มหาดไทย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520

ต่อมา 11 สิงหาคม 2521 เกรียงศักดิ์ ย้ายไป รมว.กลาโหม สลับกับ พลเอก เล็ก แนวมาลี

การเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกของเกรียงศักดิ์ ได้คะแนนนิยมเป็นอันมาก เมื่อเทียบกับรัฐบาลขวาจัดธานินทร์ กรัยวิเชียรและไม่มีฝ่ายค้านเพราะมีแต่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งมากับมือคณรัฐประหาร

เมื่อรัฐธรรมนูญ 2521 ประกาศใช้ ซึ่งเขียนไว้เพื่อให้พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได่้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยมีวุฒิสภาเป็นนั่งร้านให้ และมีการเลือกตั้ง 21 เมษายน 2522

ผลออกมาตตามคาดเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ครม.ชุดใหม่ก็คลอดออกมา พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ยังเป็นนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม แต่ครั้งนี้กลับควบรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับเศรษฐกิข หรือนัยหนึ่งเกรียงศักดิ์ เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเองคือ เมื่อเป็นทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนเพราะสภามีฝ่ายค้าน แถมเป็น 3 พรรคใหญ้คือ กิจสังคม ชาติไทย ประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้าน

ประจาบกับเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากโอเปคขึ้นราคาน้ำมัน

รัฐบาลเชื่อในกลไกตลาดก็ขึ้นราคาน้ำมันตามไปด้วย โดยไม่มีมาตรการรองรับ

ผลก็คือมีเสียงไล่รัฐบาลดังมากขึ้น จนฝ่ายค้านต้องเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

เมื่อถึงเวลานั้นวุฒิสภาที่คณะรัฐประหารตั้งมากับมือก็ถีบหัวส่งเกรียงศักดิ์

จนทำให้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ต้องลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523

และเมื่อมีการเลือกนายกกันใหม่ปรากำว่าเปรม ติณสูลานนท์ ได้ขึ้นมาเป็นนายกรํฐมนตรี และเป็นนานถึง 8 ปี 5 เดือน

กลับมาที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดุจะไม่ต่างกันเมื่อเป้นนายกจากการรัฐประหาร อยู่ยาวนานถึง 5 ปี เมื่อมีการเลือกตั้งรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งลอกมาจากรัฐธรรมนูญ 2521 ที่จะเอื้อให้สืบทอดอำนาจ

ปรากฎว่ามีรองนายกรัฐมนตรีที่ดุแลเรือ่งเศรษฐกิจถึง 3 คนจาก 3 พรรค

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พลังประชารัฐ
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประชาธิปัตย์
อนุทิน ชาญวีรกุล ภูมิใจไทย

ทำให้ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจเลยต้องมาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ

ภายใต้เศรษฐกิจตกต่ำอน่างหนัก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี 2563 ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ
ก็ต้องรับผิดชอบไม่ต่างจาก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ในปี 2523

คือต้องจบลงที่การลาออกจากนายกรัฐมนตรี


Thanapol Eawsakul