สรุปประเด็น 'ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน'
.
1. วันนี้ (29 มกราคม 2563) ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้อง กรณี ส.ส. สังกัดรัฐบาลและฝ่ายค้าน ยื่นเรื่องผ่านประธานสภาเพื่อขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกระบวนการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563
.
2. การยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญสืบเนื่องมาจาก มี 'ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน' หรือใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติทั้งที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ 2563 ในวาระ 2 และ 3
.
3. ประเด็นที่วิปรัฐบาลร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยมี 3 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่
.
๐ กระบวนการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ขัดหรือแย้งกับหลักการการออกเสียงลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 120 หรือไม่
.
๐ หากมีปัญหา จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ตกไปทั้งฉบับ หรือเฉพาะมาตราที่มีปัญหา และกรณีนี้จะถือว่าสภาพิจารณาร่างกฎหมายนี้ไม่เสร็จภายใน 105 วัน ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญหรือไม่
.
๐ จะดำเนินการในแต่ละกรณีต่อไปอย่างไร
.
4. กรณีดังกล่าว มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 น่าจะตกทั้งฉบับ โดยเปรียบเทียบกับกรณีเสียบบัตรแทนกันตอนพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2557 โดยในตอนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การลงมติแทนกันนั้นขัดต่อหลักการออกเสียงคะแนนตามรัฐธรรมนูญที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน (รัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 126 วรรคสาม) ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเดียวกันกับ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 120 ที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้วินิจฉัยล่าสุด
.
5. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และกุนซือกฎหมายของรัฐบาล ให้สัมภาษณ์วันนี้ ว่า พ.ร.บ.งบประมาณอาจจะไม่ตกทั้งฉบับ อาจจะเสียไปเฉพาะมติที่ลงคะแนนแทนกัน หรือ เสียไปเฉพาะคะแนนที่เสียบบัตรแทนกัน
.
6. ในกรณีที่ พ.ร.บ. ไม่ตกทั้งฉบับ จุดน่าสนใจจะอยู่ที่การวินิจว่าสภาพิจารณาร่างกฎหมายนี้ไม่เสร็จภายใน 105 วัน ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจาก ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ส.ส.พิจารณาไม่ทันตามกรอบเวลา เท่ากับ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอร่างแรก (ก่อนแปรญัตติเพิ่มหรือตัดงบประมาณ) จะผ่านการเห็นชอบจากสภาไปโดยปริยาย
.
7. ผู้ที่เสียบบัตรแทนกันอาจจะมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.ป.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปี 2561 และเข้าข่ายการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เป็นผลให้ถูกศาลสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และมีโอกาสต้องโทษจำคุก หรือโทษปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
อ่านแบบละเอียดได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5538
iLaw
https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10163137135860551/?type=3&theater