วันเสาร์, มกราคม 25, 2563

ชวนชม ราษฎรกำแหง : บันทึกประวัติศาสตร์ 9 คดีของผู้ไม่สยบยอม คดีต้านรัฐประหารในยุค คสช.




"ราษฎรกำแหง: บันทึก 9 คดีต้านรัฐประหารในยุค คสช": นพพล อาชามาส

PITVFANPAGE
49.4K subscribers
.


+++ นพพล อาชามาส: “บันทึกประวัติศาสตร์ 9 คดีของผู้ไม่สยบยอม” +++
.
“ประการสำคัญของการรัฐประหารครั้งนี้คือการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปราบปราม ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน โดยเฉพาะในมิติทางการเมือง เห็นได้ชัดจากจำนวนคดีที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งผู้ที่ถูกดำเนินคดีจำนวนมาก เป็นการใช้อำนาจผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ใช่การใช้อำนาจในทางตรงอย่างเดียว ในทางวิชาการมีการพูดถึง Concept หลายๆ อย่างเกี่ยวกับกระบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็น Lawfare หรือที่อาจารย์ปิยบุตรอธิบายว่าคือ นิติสงคราม การฟ้องคดีเพื่อปิดปาก (SLAPP) ซึ่งทั้งหมดเป็นการใช้กฎหมายเพื่อเป้าประสงค์ทางการเมือง ไม่ได้เป็นไปเพื่อธำรงความยุติธรรม ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน”
.
“ในภาพรวม เรามีข้อมูลเกี่ยวกับคดีจำนวนมากที่ได้มาจากการให้ความช่วยเหลือ ทางทีมทนายก็เลยมาคุยกันและเห็นว่าเราควรจะมีหนังสือที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคดีสำคัญๆ พวกนั้น ก็เลยเกิดเป็นโปรเจคท์ทดลองนี้ขึ้นมา (หนังสือ “ราษฎรกำแหง: บันทึก 9 คดีต้านรัฐประหารในยุค คสช”) นำเสนอเอกสารและเรื่องราวคดีของผู้ที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ชุดคดีของคนที่ออกมาคัดค้านการรัฐประหาร หรือคนที่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของระบอบเผด็จการ บางส่วนพอถูกดำเนินคดีแล้วก็ยังเลือกที่จะต่อสู้ต่อไป ทั้งบนท้องถนนและในกระบวนการยุติธรรม สิ่งที่น่าสนใจในประเภทคดีพวกนี้ก็จะมีพวกเนื้อหาคำพิพากษาและเอกสารที่อยู่ในมือของเรา ก็เลยชักชวนกันหาคนมาช่วยกันร่วมเขียนออกมา นำเสนอให้มันน่าสนใจขึ้น”
.
บทความนี้เป็นการถอดบทเรียนจากงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “ราษฎรกำแหง: บันทึก 9 คดีต้านรัฐประหารในยุค คสช” โดยวิทยากร นพพล อาชามาส หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ”ราษฎรกำแหง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 จัดโดยทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
อ่านเพิ่มเติม: https://www.tlhr2014.com/?p=15610
...



+++รับชม งานเสวนาเปิดตัวหนังสือ "ราษฎรกำแหง: บันทึก 9 คดีต้านรัฐประหารในยุค คสช"+++
หนังสือรวบรวมเรื่องราวและเอกสารสำคัญในคดีที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือและติดตามความเคลื่อนไหวของคดี ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคัดสรรคดีของนักกิจกรรม นักศึกษา และประชาชนผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นทั้งผู้แสดงออกต่อต้านการรัฐประหาร หรือการใช้อำนาจของคณะรัฐประหาร และยังเลือกจะต่อสู้ใน “กระบวนการทางกฎหมาย” ที่เกิดขึ้นตามมาจนถึงที่สุด
ผู้ร่วมเสวนา
นพพล อาชามาส เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ"ราษฎรกำแหง"
ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น University of Wisconsin-Madison
ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชาลินี สนพลาย ผู้ดำเนินรายการ

ในวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 ณ ห้อง ร.102 คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.