พล.อ.ประยุทธ์ กับสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ "ล้มเหลว"
คุยกับอ.นันทนา นันทวโรกาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก มองว่า การสื่อสารของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ในภาวะที่ "ไวรัสโคโรนา" ระบาดหนัก เป็นการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ล้มเหลว ไม่เป็นระบบ เพราะ แม้จะให้กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวความคืบหน้าเป็นประจำทุกวัน แต่ก็เป็นเพียงการแถลงข่าวในมิติด้านสาธารณสุขอย่างเดียว
ตามหลักการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤต รัฐบาลควรตั้ง "ศูนย์ปฎิบัติการข้อมูลข่าวสาร" เป็นศูนย์เฉพาะกิจ ที่ใช้สำหรับสื่อสารในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไวรัสโคโรนา และ ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน รวมถึง ข้อมูลต้องไม่ขัดแย้งกันเอง และต้องอัพเดตสถานการณ์อยู่ตลอด
สาเหตุที่ทำให้ประชาชนกระหายข้อมูล จนทำให้มีการสร้างเฟกนิวส์ อ.นันทนา มองว่า เพราะ รัฐไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจน แนวทางที่กล่าวมาถึงจะช่วยป้องกันปัญหาเฟกนิวส์ได้
***ขอไฮไลท์ตรงนี้***
อ.นันทนา บอกว่า การสื่อสารของรัฐ สะท้อนว่า รัฐมองประชาชนแบบไหน...
ถ้ารัฐมองว่าประชาชน "ฉลาด" มีวิจารณญาณ แยกแยะ และคิดเองได้ ก็จะให้ข้อมูลแบบรอบด้าน
แต่หากมองประชาชน "โง่" ก็จะไม่ให้ข้อมูลมากเกินไป เพราะ กลัวว่าประชาชนรู้แล้วจะตื่นตระหนก
อ.นันทนา ยังบอกอีกว่า การมองประชาชน "ฉลาด" คิดแยกแยะเองได้ ถือเป็นประชาธิปไตย คือให้สิทธิการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่การมองประชาชน "โง่" เป็นวิถีทางของเผด็จการ ที่คิดว่าจะต้องตัดสินใจแทนทุกอย่าง
ถ้าถอดคำให้สัมภาษณ์ของ "พล.อ.ประยุทธ์" ก็จะพบว่า หลายครั้งเป็นการสื่อสารที่ล้มเหลว เช่น ล่าสุด ที่บอกว่า "คนไทยในอู่ฮั่นมีความสุขดี"
อ.นันทนา ถอดรหัสคำพูดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ทำให้ประชาชนรู้สึกมีความหวัง หรือ ไม่ทำให้รู้สึกว่ารัฐพยายามช่วยเหลือ และ ไม่เป็นความจริง เพราะ คนที่อยู่ในอู่ฮั่นตอนนี้ไม่มีทางที่จะมีความสุขได้ และการพูดแบบนี้ทำให้คนไทยคนอื่นๆที่ติดตามข่าวสารโกรธเคือง
สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ ควรพูดมากกว่าในมุมมองของอ.นันทนา คือ ควรแสดงความเป็นห่วงเป็นใยอย่างยิ่ง และ บอกแนวทางว่าแผนและขั้นตอนการช่วยเหลือจะเป็นอย่างไร ควรเน้นย้ำว่ารัฐจะช่วยเหลืออย่างสุเความสามารถ รวมถึงอาจสื่อสารกับญาติของคนไทยกลุ่มนี้ว่ารัฐกำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการพาคนไทยในอู่ฮั่นกลับบ้าน
อีกส่วนหนึ่งที่อ.นันทนา วิเคราะห์สาเหตุที่พล.อ.ประยุทธ์ พูดแบบนี้ ว่า เป็นเพราะ พล.อ.ประยุทธ์ มีบุคคลิกที่ไม่ค่อยแสดงความเห็นอกเห็นใจคนอื่นโดยเฉพาะคนที่อยู่ในสถานการณ์ลำบาก และครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นแบบนี้หลายครั้งแล้ว
ในภาวะวิกฤตถ้ารัฐบาลแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว แม้จะสื่อสารล้มเหลวก็อาจไม่ทำให้ประชาชนรู้สึกอะไร(มากนัก) แต่ถ้าต้องเผชิญภาวะวิกฤตต่อเนื่องยาวนาน การสื่อสารแบบนี้จะส่งผลถึง "คะแนนนิยม" ของรัฐบาล
ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับ สถานการณ์น้ำท่วมปี54
อาจจะไม่ได้ทำให้ความนิยมลดฮวบแต่ก็กัดกร่อนไปเรื่อยๆ บอกแล้ว สื่อสารล้มเหลวพังมานักต่อนัก
#เบื้องหลังข่าว #นักข่าวตัวกระจิ๊ด
Bussarin Worasamith
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2967582923264794&set=a.516657091690735&type=3&theater
...