...
เลือกตั้งผ่านมาถึง 10 วันแล้ว แต่ กกต.ก็ยังไม่สรุปสูตรที่จะใช้คำนวณ ส.ส. ให้สะเด็ดน้ำ
.
ในปัจจุบันเลยมีคนไปอ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 ซึ่งมีเนื้อหากำกวมเปิดช่องให้ตีความ พร้อมกับนำคะแนนดิบเลือกตั้ง ส.ส. ที่ กกต.เปิดเผย มาคำนวณเป็นจำนวน ส.ส.ให้กับพรรคต่างๆ
.
The MATTER เองก็มึนงง ไม่รู้ว่าสูตรไหนจะเป็นสูตรที่ถูกต้องกันแน่ เลยใช้วิธีรวบรวมสูตรต่างๆ ที่สื่อมวลชนและนักวิชาการใช้ในการคำนวณ ส.ส. ในการเลือกตั้งครั้งนี้ และพบว่า มี 3 สูตรหลักๆ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการเลือกตั้งที่แตกต่างกันเล็กน้อย
.
แต่อาจมีนัยสำคัญ ถึงการจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป
.
.
#ปูพื้นวิธีคำนวณ
.
อย่างที่เรารู้กันว่า เลือกตั้งครั้งนี้ ได้กาครั้งเดียว แต่เอาไปคิดจำนวน ส.ส.ใน 2 ระบบ คือเขต (350 คน) และบัญชีรายชื่อ (150 คน)
.
ซึ่งกรณี ส.ส.เขตเนี่ย เข้าใจไม่ยาก ใครได้คะแนนมากที่สุด ก็ได้เป็น ส.ส.ไป แต่ที่ตบตีกันอยู่ทุกวันนี้ คือการคิดจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ
.
วิธีคำนวณโดยพื้นฐาน คือนำคะแนนดิบจากพรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ มาหาร 500 ก็จะได้ตัวเลขเฉลี่ยคะแนนเสียงต่อ ส.ส. 1 คน แล้วก็นำตัวเลขที่ว่าไปหารคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ ตัวเลขที่ได้มา จะเรียกว่า "จำนวน ส.ส.พึงมี" ซึ่งมีตั้วแต่จำนวนเต็มไปจนถึงทศนิยมสี่หลัก
.
อย่างการเลือกตั้งครั้งนี้ บัตรดีทั่วประเทศที่ลงคะแนนให้พรรค (ที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ) รวมกันอยู่ที่ 33,528,749 คน พอไปหาร 500 ก็จะได้ตัวเลขเฉลี่ยเสียงต่อ ส.ส.อยู่ที่ 71,057.4980
.
ซึ่งถ้านำไปหารกับคะแนนที่แต่ละพรรคได้ (เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส.พึงมี) ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเนอะ แต่ครั้งนี้มันดันเกินกรณีที่เรียกว่า overhang คือมีพรรคที่ได้ ส.ส.เขตเกินจำนวน ส.ส.พึงมี ซึ่งทำให้ไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเลยแม้แต่คนเดียว
.
จึงต้องไปปรับค่า overhang ใหม่ เพื่อให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เมื่อกระจายแต่ละพรรคแล้วมีจำนวน 150 คนพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป
.
แล้วก็ต้องนำคะแนนมาคำนวณใหม่ ด้วยกลวิธีอันสลับซับซ้อน.. กลายเป็นสูตรคำนวณที่ต่างกันอย่างน้อย 3 สูตร ดังจะเล่าให้ฟังต่อไป
.
[ แนะนำให้ดูไฟล์ excel นี้ https://drive.google.com/file/d/1SCqNPtGXp9njHNIJcm-vvEIC5h4Vnt7H/view ระหว่างอ่านไปด้วย อาจจะพอช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น ]
.
.
#สูตร1
นำ ส.ส.พึงมี ไปลบ ส.ส.เขต ให้ได้ตัวเลขที่ใช้เพื่อคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- เอาเฉพาะจำนวนเต็ม (ไม่รวมทศนิยม 4 หลัก) ไปปรับค่า overhang ให้ได้ 150
- นับจำนวนเต็มเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อก่อน
- ส่วนที่เหลือให้คิดจากค่าเฉลี่ยทศนิยม 4 หลักที่มากที่สุด นำมาเติมจนครบ 150 คน
.
#สูตร2
นำ ส.ส.พึงมี ไปลบ ส.ส.เขต ให้ได้ตัวเลขที่ใช้เพื่อคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- เอาเฉพาะตัวเลขที่ใช้เพื่อคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ของพรรคที่ได้เกินค่าเฉลี่ยคะแนนเสียงต่อ ส.ส.พึงมีหนึ่งคน (ต้องได้เสียงอย่างน้อย 7.1 หมื่นเสียง) ไปปรับค่า overhang ให้ได้ 150
- นับจำนวนเต็มเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อก่อน
- ส่วนที่เหลือให้คิดจากค่าเฉลี่ยทศนิยม 4 หลักที่มากที่สุด นำมาเติมจนครบ 150 คน
.
#สูตร3
นำ ส.ส.พึงมี ไปลบ ส.ส.เขต ให้ได้ตัวเลขที่ใช้เพื่อคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- เอาตัวเลขที่ใช้เพื่อคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อของทุกพรรค(ทั้งจำนวนเต็ม+ทศนิยมทั้ง 4 หลัก และไม่ตัดเอาเฉพาะพรรคที่ได้เสียงเกินค่าเฉลี่ยคะแนนเสียงต่อ ส.ส.หนึ่งคน หรือต้องได้เสียงอย่างน้อย 7.1 หมื่นเสียงออก) ไปปรับค่า overhang ให้ได้ 150
- นับจำนวนเต็มเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อก่อน
- ส่วนที่เหลือให้คิดจากค่าเฉลี่ยทศนิยม 4 หลักที่มากที่สุด นำมาเติมจนครบ 150 คน
.
.
ผลที่ได้ ถ้าดูตาม infographic ก็จะทำให้แต่ละพรรคได้ ส.ส.ต่างกันบ้าง แต่ถ้าเป็นสูตรสุดท้าย จะมีจำนวนพรรคที่ได้ ส.ส.เพียงคนเดียวมากหน่อย
.
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะสูตรไหน ตัวเลข ส.ส.ที่ได้ก็ยังไม่ใช่ข้อสรุปนะ เพราะ กกต.เองยังมีอำนาจในการแจกใบเหลือง-ใบส้ม ไปจนถึงวันที่ 9 พ.ค.นี้ ซึ่งต้องประกาศรับรอง ส.ส.ให้ได้อย่างน้อย 95% เพื่อให้เปิดประชุมสภาเลือกนายกรัฐมนตรีได้
.
ไม่รวมถึงว่า หลังจากนั้นก็ยังสามารถแจกไปใบแดงได้อีกต่างหาก แม้จะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลฎีกาช่วยพิจารณาพิพากษาแทนก็ตาม
.
- อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://thematter.co/pulse/complicated-thai-mps-system/74209
The MATTER