นี่เป็นบทสัมภาษณ์ที่แย่ทีสุดของสุลักษณ์ ศิวรักษ์
อ่านแล้วไม่ต่างจากคึกฤทธิ์ ปราโมช
คนที่สุลักษณ์ ศิวรักษ์เห็นว่าเป็นต้นแบบของคนกะล่อน
ที่สามารถบิดทุกหลักการเข้ามาเพื่อสิ่งตนเองเชื่อและต้องการได้
ส.ศิวรักษ์ ชี้ "สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือความรักความชังของผู้คน"
https://www.bbc.com/thai/thailand-47242827…
ooo
https://www.facebook.com/BBCThai/videos/673293586455428/
...
เนื่องด้วยบทสัมภาษณ์ https://www.bbc.com/thai/thailand-47242827 ผมขออนุญาตวิจารณ์ความเห็นของครูที่ชุบเลี้ยงผมมา 2 ข้อ (1) อาจารย์ Sulak Sivaraksa บอกว่า “เมื่อประกาศออกมาแล้ว ในสังคมไทย วัฒนธรรมไทย คำประกาศนั้นศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถที่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้” ดูเหมือนอาจารย์จะพอใจกับระบอบปกครองก่อน 2475 อย่างชัดเจน
แต่ผมเห็นว่าโลกเปลี่ยนแล้ว ผมสงสารลูกผม (ซึ่งเป็นหลานของอาจารย์) และคนรุ่นหลังที่ต้องการระบอบปกครองที่เสียงของพวกเขามีน้ำหนัก และผู้ปกครองต้อง accountable และรับฟังเสียงจากคนอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งการเคารพกฎและกติกาที่ตกลงร่วมกันที่เราเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” สร้าง “ระบบ” มากกว่าการยึดติดกับ “บุคคล”
ทราบว่าอาจารย์อยู่ระหว่างฮันนีมูนกับพี่นิลที่ปีนัง ขอให้สนุกนะครับ เชื่อว่าอาจารย์น่าจะพอใจกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชาธิปไตยที่นั่น เชื่อว่าอาจารย์คงพอใจกับรูปแบบสถาบันกษัตริย์ที่นั่น ซึ่ง “above politics” อย่างแท้จริง เชื่อว่าอาจารย์คงเฝ้ารอวันที่อันวาร์ อิบราฮิม ยุวมิตรของอาจารย์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ตามขั้นตอนของประชาธิปไตยที่เสียงประชาชนเป็นใหญ่ ไม่มีการแทรกแซงของอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ
(2) อาจารย์วิจารณ์ #ทักษิน กับการเสนอชื่อแคนดิเดตครั้งนี้ว่าเป็นเพราะ “เขามีความเป็นไทยน้อยมาก” และ “ไม่เข้าใจวัฒนธรรม (ไทย) ที่ลึกซึ้ง” ถ้าบอกว่า #ทักษิน ไม่เข้าใจวัฒนธรรมชนชั้นสูงดีพอ ผมอาจเห็นด้วย แต่ถ้าบอกว่าเขาไม่เข้าใจวัฒนธรรมคนชั้นล่างที่เป็น “คนส่วนใหญ่” ของประเทศ ผมขอเห็นต่างครับ เพราะมันจะอธิบายไม่ได้เลยว่า ทำไมเขาสามารถครองใจประชาชนได้อย่างยาวนาน พรรคของเขาชนะการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เขาเป็นเพียง “con artist” ในสายตาของอาจารย์หรือครับ ถ้าใช่ “myth” ตรงนี้เองที่ทำให้สังคมไทยจมอยู่ในปลักมาจะเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว
ผมทราบดีว่าอาจารย์เก่งและเชี่ยวชาญวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชนชั้นสูง ชีวประวัติบุคคลที่อาจารย์เขียนล้วนแต่เป็น “เจ้า” หรือเกี่ยวดองกับ “เจ้า” ทั้งนั้น ที่เป็น “ไพร่” ไม่มี หรือมีน้อยมาก ๆ ข้อนี้ผมเคยวิจารณ์ไปแล้วในงานเมื่อคราวอาจารย์ครบ 70 ปี
20 กว่าปีก่อน อาจารย์เป็นแรงบันดาลใจให้ผมสนใจ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กับความไม่เป็นธรรมในสังคม แต่หลายปีที่ผ่านมา อาจารย์ไม่พูดเรื่องนี้เลย รวมทั้งการแก้กฎหมายล่าสุด ผมเสียใจครับ
ขอให้อาจารย์และพี่นิลแข็งแรงทั้งกายและใจครับ และขอให้เป็นหลักชัยที่เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับอำนาจอธรรม เพื่อลูกหลานที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ไม่ย่ำอยู่กับที่ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสถาบันฯ แบบในซีรีย์ “The Crown” ที่อาจารย์ชอบดูมาก ๆ หรืออาจารย์คิดว่า การเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย?