https://www.facebook.com/soomhuakid/videos/242538859985216/
...
เริ่มแล้ว! ถึงเวลาสภาประชาชน
.
วันนี้ iLaw ขอเชิญประชาชนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ผ่านทาง Live Facebook เนื่องจาก สนช. มีวาระพิจารณาให้ความเห็นกฎหมายมั่นคงไซเบอร์ในวันศุกร์นี้
.
โดย iLaw ได้รับเกียรติจาก รศ.คณาธิป ทองรวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายสื่อ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่จะมาอธิบายเจาะลึก ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างละเอียด
.
ทั้งนี้ ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อกฎหมายฉบับดังกล่าวด้วยการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทาง Live Facebook
.
หรือ ระหว่างรายการ หากท่านเห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให “กดเลิฟ”
.
แต่หากท่านไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้ “กดโกรธ”
...
คำแนะนำเบื้องต้นกรณีถูกเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวจากการโพสต์หรือแชร์ข้อความในโซเชียลมีเดีย
(ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)
ooo
iLaw
19 hrs ·
โค้งสุดท้ายเหยียบมิด!
เดือนเดียว สนช. ผ่านกฎหมาย 66 ฉบับ
ยอดรวมพุ่งเป็น 412 ฉบับ
.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เป็นสภาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่ออกกฎหมายภายใต้สถานการณ์พิเศษ โดยมีสมาชิกมากที่สุดถึง 250 คน และมากกว่าครึ่งเป็นทหาร รวมถึงส่วนใหญ่เป็นข้าราชการหรืออดีตข้าราชการ
.
สนช. ทำงานอยู่เกือบห้าปี โดยแต่ละปีมีผลงานออกกฎหมายมากมาย กฎหมายที่ออกมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพก็ผ่านโดยสภาแห่งนี้หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับแก้ไข ผ่านปลายปี 2559 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ผ่านในปี 2558 รวมทั้งกฎหมายที่สำคัญๆ ต่อความเป็นไปทางการเมือง อย่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ พ.ศ.2559 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2560 เป็นต้น
.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เป็นสภาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่ออกกฎหมายภายใต้สถานการณ์พิเศษ โดยมีสมาชิกมากที่สุดถึง 250 คน และมากกว่าครึ่งเป็นทหาร รวมถึงส่วนใหญ่เป็นข้าราชการหรืออดีตข้าราชการ
.
สนช. ทำงานอยู่เกือบห้าปี โดยแต่ละปีมีผลงานออกกฎหมายมากมาย กฎหมายที่ออกมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพก็ผ่านโดยสภาแห่งนี้หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับแก้ไข ผ่านปลายปี 2559 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ผ่านในปี 2558 รวมทั้งกฎหมายที่สำคัญๆ ต่อความเป็นไปทางการเมือง อย่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ พ.ศ.2559 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2560 เป็นต้น
.
สภาแห่งนี้ถือว่า ทำงานพิจารณาผ่านกฎหมายได้อย่างรวดเร็วมาก โดยแต่ละปีทำงานได้เร็วไม่เท่ากัน ดังนี้
.
๐ ปี 2557 ทำงานอยู่ 4 เดือน ผ่านกฎหมาย 49 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 12.1 ฉบับ
.
๐ ปี 2558 ผ่านกฎหมาย 91 ฉบับ เฉลี่ย เดือนละ 7.5 ฉบับ
.
๐ ปี 2559 ผ่านกฎหมาย 75 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 6.1 ฉบับ
.
๐ ปี 2560 ผ่านกฎหมาย 58 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 4.8 ฉบับ
.
๐ ปี 2557 ทำงานอยู่ 4 เดือน ผ่านกฎหมาย 49 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 12.1 ฉบับ
.
๐ ปี 2558 ผ่านกฎหมาย 91 ฉบับ เฉลี่ย เดือนละ 7.5 ฉบับ
.
๐ ปี 2559 ผ่านกฎหมาย 75 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 6.1 ฉบับ
.
๐ ปี 2560 ผ่านกฎหมาย 58 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 4.8 ฉบับ
.
๐ ปี 2561 ผ่านกฎหมาย 72 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 6 ฉบับ
.
รวมแล้วนับถึงสิ้นปี 2561 สนช. ผ่านกฎหมายไปอย่างน้อย 345 ฉบับ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่ร่างโดยหน่วยงานราชการ เสนอผ่านคณะรัฐมนตรี 295 ฉบับ เป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรก 93 ฉบับ และเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเดิม 248 ฉบับ
.
เมื่อเข้าสู่ต้นปี 2562 แม้จะมีการกำหนดวันเลือกตั้ง และประเทศกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ สนช. ก็ยังอยู่กับเรา และยังมีอำนาจออกกฎหมายไปจนถึงวันที่มีการเรียกประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง ขณะที่ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ก็เคยประกาศไว้ว่า จะงดรับกฎหมายใหม่มาพิจารณาแล้วเว้นแต่เป็นเรื่องด่วนจริงๆ
.
แต่ปรากฏว่า ในช่วงเวลาสุดท้ายก่อน สนช. จะหมดอายุไปนี้ เกิดกระบวนการเร่งออกกฎหมายครั้งใหญ่ เริ่มต้นจากช่วงปลายปี 2561 ก่อนหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ สนช. นัดประชุมติดต่อกัน 4 ครั้ง และมีกฎหมายที่ต้องพิจารณาตามระเบียบวาระถึง 68 ฉบับ
.
อย่างไรก็ดี ในช่วงหนึ่งเดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง จากเดิมที่ สนช. นัดประชุมกันทุกวันพฤหัสและวันศุกร์ ปรากฎว่า สนช. มีนัดประชุมอาทิตย์ละ 3 วัน และถ้านับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นเวลาเดือนเดียว สนช. ผ่านกฎหมายไปแล้วถึง 66 ฉบับ
.
จากสถิติที่ สนช. เผยแพร่ทางเว็บไซต์ พบว่า
.
- นับถึงวันที่ 18 มกราคม 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 346 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 21 มกราคม 2562 สนช. ออกกฎหมายไป- แล้ว 351 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 28 มกราคม 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 366 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 397 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 412 ฉบับ
.
เท่ากับว่า ภายในเวลาเดือนเดียวซึ่งเป็นโค้งสุดท้าย สนช. ใช้โอกาสอย่างคุ้มค่า ยกมือผ่านกฎหมายอย่างรวดเร็วมากถึง 66 ฉบับ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 18 ฉบับ หรือวันละ 2.5 ฉบับ
.
และเมื่อมองไปในอนาคตอันใกล้ก่อนที่ สนช. จะหมดอายุไปนี้ อุสาหกรรมการออกกฎหมายนี้ยังมีคิวรอพิจารณากฎหมายอีกหลายสิบฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายที่สังคมจับตามองและอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมาก เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ, พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, พ.ร.บ.โรงงาน เป็นต้น
.
ในระหว่างที่ความสนใจทางการเมืองพุ่งเป้าไปที่การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ก็ยังเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องช่วยกันจับตาการทำงานของสภาแต่งตั้งแห่งนี้ให้ดีด้วย
๐ ปี 2561 ผ่านกฎหมาย 72 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 6 ฉบับ
.
รวมแล้วนับถึงสิ้นปี 2561 สนช. ผ่านกฎหมายไปอย่างน้อย 345 ฉบับ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่ร่างโดยหน่วยงานราชการ เสนอผ่านคณะรัฐมนตรี 295 ฉบับ เป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรก 93 ฉบับ และเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเดิม 248 ฉบับ
.
เมื่อเข้าสู่ต้นปี 2562 แม้จะมีการกำหนดวันเลือกตั้ง และประเทศกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ สนช. ก็ยังอยู่กับเรา และยังมีอำนาจออกกฎหมายไปจนถึงวันที่มีการเรียกประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง ขณะที่ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ก็เคยประกาศไว้ว่า จะงดรับกฎหมายใหม่มาพิจารณาแล้วเว้นแต่เป็นเรื่องด่วนจริงๆ
.
แต่ปรากฏว่า ในช่วงเวลาสุดท้ายก่อน สนช. จะหมดอายุไปนี้ เกิดกระบวนการเร่งออกกฎหมายครั้งใหญ่ เริ่มต้นจากช่วงปลายปี 2561 ก่อนหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ สนช. นัดประชุมติดต่อกัน 4 ครั้ง และมีกฎหมายที่ต้องพิจารณาตามระเบียบวาระถึง 68 ฉบับ
.
อย่างไรก็ดี ในช่วงหนึ่งเดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง จากเดิมที่ สนช. นัดประชุมกันทุกวันพฤหัสและวันศุกร์ ปรากฎว่า สนช. มีนัดประชุมอาทิตย์ละ 3 วัน และถ้านับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นเวลาเดือนเดียว สนช. ผ่านกฎหมายไปแล้วถึง 66 ฉบับ
.
จากสถิติที่ สนช. เผยแพร่ทางเว็บไซต์ พบว่า
.
- นับถึงวันที่ 18 มกราคม 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 346 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 21 มกราคม 2562 สนช. ออกกฎหมายไป- แล้ว 351 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 28 มกราคม 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 366 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 397 ฉบับ
.
- นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 สนช. ออกกฎหมายไปแล้ว 412 ฉบับ
.
เท่ากับว่า ภายในเวลาเดือนเดียวซึ่งเป็นโค้งสุดท้าย สนช. ใช้โอกาสอย่างคุ้มค่า ยกมือผ่านกฎหมายอย่างรวดเร็วมากถึง 66 ฉบับ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 18 ฉบับ หรือวันละ 2.5 ฉบับ
.
และเมื่อมองไปในอนาคตอันใกล้ก่อนที่ สนช. จะหมดอายุไปนี้ อุสาหกรรมการออกกฎหมายนี้ยังมีคิวรอพิจารณากฎหมายอีกหลายสิบฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายที่สังคมจับตามองและอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมาก เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ, พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, พ.ร.บ.โรงงาน เป็นต้น
.
ในระหว่างที่ความสนใจทางการเมืองพุ่งเป้าไปที่การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ก็ยังเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องช่วยกันจับตาการทำงานของสภาแต่งตั้งแห่งนี้ให้ดีด้วย