วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 15, 2562

ข้อสังเกตุศาลรัฐธรรมนูญ จาก Pruay Saltihead




ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 ใน 9 คน อยู่ในตำแหน่งในปัจจุบันนี้ได้เพราะ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจเผด็จการ ม. 44 ออกคำสั่งฉบับที่ 24/2560 ยืดอายุให้อยู่ต่อไปจนหลังเลือกตั้ง ทั้งๆที่ทั้ง 5 คนนี้หมดวาระตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2560 ไปแล้ว

และทั้ง 5 คนนี้จะมาตัดสินคดีพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในสนามแข่งขันเดียวกันกับพรรคพลังประชารัฐที่เสนอชื่อหัวหน้าเผด็จการทหาร ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายก

พูดง่ายๆว่า กรรมการ 5 คนนี้ ประยุทธ์เป็นคนต่ออายุการทำงานให้เองกับมือโดยใช้อำนาจเผด็จการทหาร และกำลังจะมาตัดสิน ตัดสิทธิพรรคซึ่งเป็นคู่แข่ง ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ให้ลงแข่งขันเอง

ท่านว่าเรื่องนี้ถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่?
.



ถึงแม้ข้อกล่าวหาที่จะยุบพรรค ทษช ในประโยคเต็มๆคือ “กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” แต่เวลาศาลรัฐธรรมนูญประเทศไทย จะหยิบเรื่องนี้มาพิจารณา เค้าจะพิจารณาว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์หรือไม่แค่นั้นครับ ไม่ได้พิจารณาเรื่องเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอะไรนั่นหรอก

เมื่อปี 2556 พวก สว สรรหา และ พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยใช้ข้อกล่าวหานี้ต่อพรรคเพื่อไทยเหมือนกันครับ ตอนพรรคเพื่อไทยขอแก้รัฐธรรมนูญให้ที่มา สว มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน

คราวนั้นใช้รัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 68 มากล่าวหาซึ่งมีข้อความคล้ายกันว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้"

แต่คราวนั้นเพื่อไทยยังโชคดีรอดจากการยุบพรรค แต่ก็แก้รัฐธรรมนูญให้ สว มาจากการเลือกตั้งไม่ได้

ลองนอนตะแคงเอานิ้วก้อยตีนซ้ายก็คิดดูนะครับว่า การแก้รัฐธรรมนูญให้ สว มาจากการเลือกตั้งมันจะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยยังไง ? คิดออกมั้ยครับ

การให้ประชาชนได้เลือกมันก็ยิ่งดีซิ ยิ่งส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ดีกว่าใครไม่รู้แม่ง สรรหา สว เข้ามาโดยประชาชนไม่ได้เลือก

คราวนี้ก็เหมือนกัน ลองสลับเอานิ้วตีนข้างขวาคิดดูมั้งว่า เอ การให้คุณอุบลรัตน์เสนอตัวมาให้ประชาชนเลือก มาตามกฎหมายเลยนะ มันจะเป็น “เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย” ยังไง ก็ในเมื่อเสนอให้คนเลือก คนไม่ชอบก็ไม่ต้องเลือก ใครชอบก็ไปเลือก คนทั่วไปก็คงคิดแบบนี้

แต่ศาลรัฐธรรมนูญประเทศนี้คงไม่ได้คิดแบบนั้นครับ “กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” คือการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์เท่านั้น ยิ่งทำให้เป็นประชาธิปไตยมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์มากเท่านั้น

รอดูคำตัดสินครับ ว่า ทษช จะโชคดีเหมือน เพื่อไทยหรือเปล่า