ตร.แจ้งหลายข้อหา กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง หลังแจ้งปล่อยตัวกลับหมด ไม่ส่งศาลขอฝากขัง
07/06/2018
By Admin01
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7 มิ.ย.2561 กลุ่มคนอยากเลือกตั้งจำนวน 45 คน ที่ตกเป็นผู้ต้องหาเพราะถูก คสช.แจ้งความดำเนินคดีเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สน.นางเลิ้ง โดยรวมตัวกันที่หน้าองค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นจุดที่ตำรวจตั้งด่านสกัดและเข้าจับกุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เดินขบวนไปทำเนียบเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และเป็นเหตุนำมาสู่การดำเนินคดีในครั้งนี้ แต่เหตุที่วันนี้มีเพียง 45 คน เนื่องจากว่าคดีที่ 15 คนแรกที่ถูกจับกุมและถูกแจ้งข้อกล่าวหาไปแล้วและคดีนี้เป็นคดีเดียวกัน จึงมีเพียงบุคคลที่ถูกแจ้งความเพิ่มเข้ามาและตำรวจได้ออกหมายเรียกไปเท่านั้นที่ต้องเดินทางมาในวันนี้ และมีคนที่ไม่ได้มารับทราบข้อกล่าวหาในเช้าวันนี้ 2 คน คือนายบุญสิน หยกทิพย์ และน.ส.อาอิซะห์ เสาะหมาน
ก่อนขบวนออกเดิน นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ได้อ่านแถลงการณ์จุดประสงค์มาเพื่อเดินไปให้กำลังใจกับคนที่ถูกดำเนินคดี โดยคาดว่าวันนี้ทั้ง 47 คนจะถูกส่งไปฝากขังที่ศาล ในส่วนแนวทางการเคลื่อนไหว จะดำเนินการตามโร้ดแมพ มุ่งหมายสื่อสารกับสังคมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สังคมต้องตระหนักและถกเถียงเรื่องการเลือกตั้งให้มากขึ้น จะติดตามว่าในเดือนมิถุนายนนี้ คสช.จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาบอกหรือไม่ กลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะคอยสื่อสารกับสังคมต่อไปจนกว่าประเทศจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และหากมีการเลื่อนเลือกตั้งอีกก็จะเคลื่อนไหวให้ใหญ่กว่าเดิม
หลังอ่านแถลงการณ์นายสิรวิชญ์จึงเดินทางไปศาลทหารเพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีที่ตนเองตกเป็นจำเลยจากการชุมนุม “เลือกตั้งที่ลัก(รัก)” เมื่อ 14 ก.พ. 2558
ขณะเดียวกันทางด้าน สน.นางเลิ้ง เจ้าหน้าที่จากสถานทูตต่างๆ ได้แก่ สภภาพยุโรป,สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฟินแลนด์, เยอรมัน, เนเธอร์แลนด์,เบลเยี่ยม,เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ได้เดินทางมาสังเกตการณ์ในครั้งนี้และมีการสอบถามเกี่ยวกับการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้สังเกตการณ์การชุมนุม ทั้งนี้ตำรวจได้ปฏิเสธว่าไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้สังเกตการณ์
ทั้งนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าตำรวจได้มีการออกหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหากับน.ส.นีรนุช เนียมทรัพย์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่สังเกตการณ์การชุมนุมในวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมาด้วย
เมื่อขบวนเริ่มออกเดินตรวจได้เข้าเจรจาให้เปลี่ยนเส้นทางไม่ให้ผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์ และผ่านไปทางทำเนียบรัฐบาล นอกจากนั้นตำรวจยังได้ตั้งแนวกั้นเส้นทางเดินทำให้ผู้ชุมนุมต้องเปลี่ยนเส้นทางเดินเลียบคลองผดุงกรุงเกษมแทน และเมื่อขบวนเดินถึง สน.นางเลิ้งตรวจได้ตั้งแนวกั้นให้เฉพาะคนที่มีคดีเดินเข้าสถานีได้ แต่รังสิมันต์ โรม ได้เข้าเจรจาเพื่อให้เข้าได้ทั้ง ท้ายที่สุดตำรวจจึงเปิดให้เข้าได้แต่ยังคงมีการตั้งด่านตรวจกระเป๋าที่ทางเข้าสถานี
ทั้งนี้ระหว่างการเดินขบวนตำรวจที่มาควบคุมการเดิน ได้ประกาศว่าการเดินขบวนครั้งนี้เป็นการชุมนุมสาธารณะที่ผิดกฎหมายเนื่องจากไม่ได้มีการแจ้งจัดการชุมนุมก่อนการเดินขบวน
จากนั้นเวลาประมาณ 10.40 น. พนักงานสอบสวนเริ่มเรียกผู้ต้องหาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาและสอบคำให้การ
อ่านรายชื่อผู้ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดได้ที่ คสช.แจ้งความ “คนอยากเลือกตั้ง” มธ.+UN และผู้สังเกตการณ์ชุมนุมจากศูนย์ทนายฯ รวม 62 คน
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหากับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 41คน ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ชุมนุมด้วย มาตรา 215 มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, มาตรา 216 ไม่เลิกมั่วสุม เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ได้แก่ กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการและสถานศึกษา ตามมาตรา 8 (1)(3), มีการชุมนุมระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุมฯ ตามมาตรา 11, ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุม ตามมาตรา 16(1)(4)(7)(9) และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา 19
ส่วนกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำอีก 6 คน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่งในหมู่ประชาชน, มาตรา 215 เป็นหัวหน้า หรือผู้สั่งการในการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, มาตรา 216 ไม่เลิกมั่วสุม เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
นอกจากนั้นยังมีข้อหาอื่นอีก คือ ข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ได้แก่ กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการและสถานศึกษา ตามมาตรา 8 (1)(3), มีการชุมนุมระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุมฯ ตามมาตรา 11, ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุม ตามมาตรา 16(1)(4)(7)(9) และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา 19 นอกจากนั้นยังมีข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 4 วรรคแรก และฝ่าฝืน พ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 108 เดินขบวนในลักษณะกีดขวางการจราจร โดยรังสิมันต์, สิรวิชญ์ และปิยรัฐ ถูกแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114 กระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ประกอบด้วยประมวลกหมายอาญา มาตรา 83
หลังพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและสอบคำให้การกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไปได้บางส่วนแล้ว ทั้งได้แจ้งว่าครั้งนี้จะปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดให้เดินทางกลับได้ เนื่องจากจะไม่ส่งตัวไปศาลเพื่อขอฝากขัง และพนักงานสอบสวนได้นัดให้มาเพื่อส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนใหัอัยการ 29 มิ.ย.นี้
การดำเนินคดีกับกลุ่ม “คนอยากเลือกตั้ง” ครั้งนี้ สืบเนื่องจากการชุมนุมต่อเนื่องกัน 2 วันเมื่อ 21-22 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และผู้ชุมนุมพยายามเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยไปที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกสกัดไว้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณสนามหลวง ทำให้ผู้ชุมนุมพยายามเจรจาเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ให้ทางแต่ไม่เป็นผลสำเร็จจนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนกระจายตัวและไปรวมตัวกันใหม่หลังแนวตำรวจก่อนออกเดินไปที่ทำเนียบฯ ตามแผน แต่ภายหลังก็ถูกตำรวจตั้งด่านสกัดบริเวณหน้าหน้าองค์การสหประชาชาติ ตำรวจได้เข้าจับกุมบุคคลไปทั้งหมด 10 คน ก่อนที่แกนนำด้านสนามหลวงจะเข้ามอบตัวอีก 3 คน และตำรวจได้จับกุมตัวเพิ่มอีก 2 คนในภายหลัง ทำให้ในเย็นวันที่ 22 พ.ค. มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีไปก่อนแล้ว 15 คน
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7 มิ.ย.2561 กลุ่มคนอยากเลือกตั้งจำนวน 45 คน ที่ตกเป็นผู้ต้องหาเพราะถูก คสช.แจ้งความดำเนินคดีเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สน.นางเลิ้ง โดยรวมตัวกันที่หน้าองค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นจุดที่ตำรวจตั้งด่านสกัดและเข้าจับกุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เดินขบวนไปทำเนียบเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และเป็นเหตุนำมาสู่การดำเนินคดีในครั้งนี้ แต่เหตุที่วันนี้มีเพียง 45 คน เนื่องจากว่าคดีที่ 15 คนแรกที่ถูกจับกุมและถูกแจ้งข้อกล่าวหาไปแล้วและคดีนี้เป็นคดีเดียวกัน จึงมีเพียงบุคคลที่ถูกแจ้งความเพิ่มเข้ามาและตำรวจได้ออกหมายเรียกไปเท่านั้นที่ต้องเดินทางมาในวันนี้ และมีคนที่ไม่ได้มารับทราบข้อกล่าวหาในเช้าวันนี้ 2 คน คือนายบุญสิน หยกทิพย์ และน.ส.อาอิซะห์ เสาะหมาน
ก่อนขบวนออกเดิน นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ได้อ่านแถลงการณ์จุดประสงค์มาเพื่อเดินไปให้กำลังใจกับคนที่ถูกดำเนินคดี โดยคาดว่าวันนี้ทั้ง 47 คนจะถูกส่งไปฝากขังที่ศาล ในส่วนแนวทางการเคลื่อนไหว จะดำเนินการตามโร้ดแมพ มุ่งหมายสื่อสารกับสังคมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สังคมต้องตระหนักและถกเถียงเรื่องการเลือกตั้งให้มากขึ้น จะติดตามว่าในเดือนมิถุนายนนี้ คสช.จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาบอกหรือไม่ กลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะคอยสื่อสารกับสังคมต่อไปจนกว่าประเทศจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และหากมีการเลื่อนเลือกตั้งอีกก็จะเคลื่อนไหวให้ใหญ่กว่าเดิม
หลังอ่านแถลงการณ์นายสิรวิชญ์จึงเดินทางไปศาลทหารเพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีที่ตนเองตกเป็นจำเลยจากการชุมนุม “เลือกตั้งที่ลัก(รัก)” เมื่อ 14 ก.พ. 2558
ขณะเดียวกันทางด้าน สน.นางเลิ้ง เจ้าหน้าที่จากสถานทูตต่างๆ ได้แก่ สภภาพยุโรป,สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฟินแลนด์, เยอรมัน, เนเธอร์แลนด์,เบลเยี่ยม,เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ได้เดินทางมาสังเกตการณ์ในครั้งนี้และมีการสอบถามเกี่ยวกับการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้สังเกตการณ์การชุมนุม ทั้งนี้ตำรวจได้ปฏิเสธว่าไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้สังเกตการณ์
ทั้งนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าตำรวจได้มีการออกหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหากับน.ส.นีรนุช เนียมทรัพย์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่สังเกตการณ์การชุมนุมในวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมาด้วย
เมื่อขบวนเริ่มออกเดินตรวจได้เข้าเจรจาให้เปลี่ยนเส้นทางไม่ให้ผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์ และผ่านไปทางทำเนียบรัฐบาล นอกจากนั้นตำรวจยังได้ตั้งแนวกั้นเส้นทางเดินทำให้ผู้ชุมนุมต้องเปลี่ยนเส้นทางเดินเลียบคลองผดุงกรุงเกษมแทน และเมื่อขบวนเดินถึง สน.นางเลิ้งตรวจได้ตั้งแนวกั้นให้เฉพาะคนที่มีคดีเดินเข้าสถานีได้ แต่รังสิมันต์ โรม ได้เข้าเจรจาเพื่อให้เข้าได้ทั้ง ท้ายที่สุดตำรวจจึงเปิดให้เข้าได้แต่ยังคงมีการตั้งด่านตรวจกระเป๋าที่ทางเข้าสถานี
ทั้งนี้ระหว่างการเดินขบวนตำรวจที่มาควบคุมการเดิน ได้ประกาศว่าการเดินขบวนครั้งนี้เป็นการชุมนุมสาธารณะที่ผิดกฎหมายเนื่องจากไม่ได้มีการแจ้งจัดการชุมนุมก่อนการเดินขบวน
จากนั้นเวลาประมาณ 10.40 น. พนักงานสอบสวนเริ่มเรียกผู้ต้องหาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาและสอบคำให้การ
อ่านรายชื่อผู้ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดได้ที่ คสช.แจ้งความ “คนอยากเลือกตั้ง” มธ.+UN และผู้สังเกตการณ์ชุมนุมจากศูนย์ทนายฯ รวม 62 คน
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหากับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 41คน ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ชุมนุมด้วย มาตรา 215 มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, มาตรา 216 ไม่เลิกมั่วสุม เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ได้แก่ กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการและสถานศึกษา ตามมาตรา 8 (1)(3), มีการชุมนุมระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุมฯ ตามมาตรา 11, ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุม ตามมาตรา 16(1)(4)(7)(9) และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา 19
ส่วนกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำอีก 6 คน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่งในหมู่ประชาชน, มาตรา 215 เป็นหัวหน้า หรือผู้สั่งการในการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, มาตรา 216 ไม่เลิกมั่วสุม เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
นอกจากนั้นยังมีข้อหาอื่นอีก คือ ข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ได้แก่ กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการและสถานศึกษา ตามมาตรา 8 (1)(3), มีการชุมนุมระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุมฯ ตามมาตรา 11, ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุม ตามมาตรา 16(1)(4)(7)(9) และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา 19 นอกจากนั้นยังมีข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 4 วรรคแรก และฝ่าฝืน พ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 108 เดินขบวนในลักษณะกีดขวางการจราจร โดยรังสิมันต์, สิรวิชญ์ และปิยรัฐ ถูกแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114 กระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ประกอบด้วยประมวลกหมายอาญา มาตรา 83
หลังพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและสอบคำให้การกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไปได้บางส่วนแล้ว ทั้งได้แจ้งว่าครั้งนี้จะปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดให้เดินทางกลับได้ เนื่องจากจะไม่ส่งตัวไปศาลเพื่อขอฝากขัง และพนักงานสอบสวนได้นัดให้มาเพื่อส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนใหัอัยการ 29 มิ.ย.นี้
การดำเนินคดีกับกลุ่ม “คนอยากเลือกตั้ง” ครั้งนี้ สืบเนื่องจากการชุมนุมต่อเนื่องกัน 2 วันเมื่อ 21-22 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และผู้ชุมนุมพยายามเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยไปที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกสกัดไว้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณสนามหลวง ทำให้ผู้ชุมนุมพยายามเจรจาเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ให้ทางแต่ไม่เป็นผลสำเร็จจนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนกระจายตัวและไปรวมตัวกันใหม่หลังแนวตำรวจก่อนออกเดินไปที่ทำเนียบฯ ตามแผน แต่ภายหลังก็ถูกตำรวจตั้งด่านสกัดบริเวณหน้าหน้าองค์การสหประชาชาติ ตำรวจได้เข้าจับกุมบุคคลไปทั้งหมด 10 คน ก่อนที่แกนนำด้านสนามหลวงจะเข้ามอบตัวอีก 3 คน และตำรวจได้จับกุมตัวเพิ่มอีก 2 คนในภายหลัง ทำให้ในเย็นวันที่ 22 พ.ค. มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีไปก่อนแล้ว 15 คน
อ่านเพิ่มเติม
รวมเหตุการณ์การชุมนุมภาคเช้า ‘คนอยากเลือกตั้ง’ ที่ มธ. วันนี้
ตร. ขออธิการ มธ. แจ้งความคนอยากเลือกตั้ง เตรียมส่งศาลฝากขัง
เลื่อนฝากขังกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง-ธรรมศาสตร์แถลงไม่ดำเนินคดี
ไม่ไต่สวนคำร้องคัดค้านฝากขัง ศาลให้ประกันตั้งเงื่อนไขห้ามคนอยากเลือกตั้งชุมนุมการเมือง
ooo
กลุ่มคนอยากเลือกตั้งนัดรวมตัวที่หน้าที่ทำการองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย(UN)ก่อนที่จะเดินเท้าไปยังสน.นางเลิ้ง เพื่อรายงานตัวตามหมายเรียกจากกรณีชุมนุมเมื่อวันที่ 22 พค.ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินกลุ่มคนอยากเลือกตั้งพยายามจะใช้เส้นทางผ่านทำเนียบรัฐบาล แต่ตำรวจตั้งแถวสกัดไม่ยอมให้ผ่าน ทางกลุ่มจึงเลี้ยวขวาเลียบคลองผดุงและเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงไปยัง สน.นางเลิ้ง