การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน
โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ
เวป 1O1
Jun 24, 2017
ผมเชื่อว่าผู้อ่านส่วนใหญ่คงเคยได้ยินคำกล่าวที่พูดกันติดหูว่า “ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์” แต่ในสังคมไทยของเรา เรื่องราวกลับไม่ได้ดำเนินไปเช่นนั้น เพราะสิ่งที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์” ซึ่งคือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วให้คนรุ่นหลังได้จดจำนั้น ช่างเต็มไปด้วยความยอกย้อนและซ่อนเงื่อน
ผู้ชนะในสมรภูมิทางการเมืองบ่อยครั้งกลับพ่ายแพ้ในสมรภูมิการเขียนประวัติศาสตร์
“คณะราษฎร” ก็อยู่ในข่ายนี้ อันที่จริงหากเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ คณะราษฎรนั้นเป็นกลุ่มที่น่าสงสารมิใช่น้อย แม้ว่าจะเป็นคณะบุคคลผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศให้ทันสมัยและก้าวหน้า แต่กลับไม่ถูกจดจำในประวัติศาสตร์ แทบไม่มีพื้นที่อยู่ในแบบเรียน ไม่มีวันหยุดราชการ ไม่มีภาพยนตร์หรืองานวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเข้าใจถึงบทบาทของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจกว่าการหลงลืมและทำให้คณะราษฎรไม่มีตำแหน่งแห่งที่ในพื้นที่สาธารณะ คือ การที่สังคมไทย ซึ่งในที่นี้หมายถึงปัญญาชนและชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษนิยม พยายามจัดการกับเหตุการณ์การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ที่นำโดยคณะราษฎร ผ่านการสร้างมายาคติขึ้นมาหลายประการ เพื่อลดทอนคุณค่าความสำคัญและทำให้เหตุการณ์นี้ดูรางเลือนและสับสน
.
1. มายาคติ “ชิงสุกก่อนห่าม”
2. มายาคติ “การปฏิวัติของนักเรียนนอกจำนวนน้อย”
3. มายาคติ “กระหายอำนาจและยึดอำนาจไว้กับกลุ่มตนเองเพียงลำพัง”
4. มายาคติ “2475 เป็นเพียงการรัฐประหาร มิใช่การปฏิวัติที่แท้จริง”
.
จนถึงวันนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ “พลิกแผ่นดิน” ครั้งนี้อย่างรอบด้านแล้วหรือยัง การถกเถียงและการประเมินฐานะความสำคัญของเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเรื่องสำคัญและควรทำ แต่เงื่อนไขสำคัญคือสังคมต้องมีเสรีภาพให้ประชาชนได้เถียงและตั้งคำถามเรื่องประวัติศาสตร์ โดยไม่ต้องหวาดกลัวอำนาจลงทัณฑ์ทางกฎหมายหรือการปิดกั้นจากรัฐ
ทั้งนี้การตั้งคำถามกับมายาคติที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของกระบวนการเรียนรู้อดีตเพื่อเข้าใจพัฒนาการของสังคมอย่างถ่องแท้ มิใช่เข้าใจอดีตเฉพาะในแบบที่ชนชั้นนำอยากควบคุมให้เราเข้าใจ
ชวนอ่านบทความเต็ม
https://www.the101.world/the-myths-of-2475/