เงินทอนวัดคือ อะไร?
ที่มา https://specialcasestudy.blogspot.com/2018/06/blog-post.html
ต้นตอของคดีนี้เริ่มต้นจาก ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอเงินอุดหนุนให้แก่วัดต่างๆ เช่น ให้วัดเซ็นรับ 10 ล้านบาท แล้วทางเจ้าหน้าที่สำนักพุทธขอให้โอนคืน 8 ล้านบาท
อ้างเหตุว่าจะเอาไปให้วัดอื่นที่ต้องการ ซึ่งวัดไม่สามารถรับรู้ว่าเงินที่ทางสำนักพุทธฯ ได้นำงบประมาณส่วนไหนโอนเงินมาให้ทางวัด หรืออาจจะรู้แต่คิดว่านี่คือธรรมเนียมปฏิบัติที่ระบบราชการเขาต้องทำ
ซึ่งปกติทางวัดมองว่าการได้รับเงินมา ก็ดีกว่าไม่มีงบสนับสนุนมาให้ จึงเป็นเหตุให้เป็นช่องทางทุจริต--
อีกกรณีที่ทางวัดต้องการสร้างศาสนสถาน แต่มีงบไม่เพียงพอ จึงได้ให้ญาติโยมออกเงินไปก่อน เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินต่อไป แล้วจึงของบทางสำนักพุทธฯ
พอได้เงินมาแล้วจึงต้องโอนคืนให้ญาติโยม ที่เคยยืมเงินมา แต่กลับกลายเป็นพระโอนเงินของวัดให้แก่ญาติโยมเพื่อการทุจริต ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
มันไม่ได้มีเจตนาทุจริต ซึ่งในกรณีนี้ เป็นการตีความทางเดียว โดยไม่ได้ดูที่ไปที่มาของเงินและเหตุผลที่ทำ---
พระผู้ใหญ่ไม่ผิดเงินทอนวัด สำนักพุทธอนุมัติเงินผิดประเภท? มาให้พระ
สิ่งที่ชาวพุทธต้องตระหนักเกี่ยวกับคดีนี้คือ
๑. วิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำต่อพระซึ่งเป็นเพียงแค่ผู้ต้องหา
๒. การตั้งข้อหาอื่นๆ เพิ่มให้แก่พระ
๓. การชี้นำสังคมของสื่อ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลอินโฟกราฟ จากสำนักข่าว ThaiPBS
ooo
เปิดเส้นทางทุจริต"เงินทอน"งบอุดหนุนวัด
TNN 24
Published on Jun 9, 2017
ข่าวการเข้าตรวจค้นและพบหลักฐานว่ามีข้าราชการระดับสูงในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตเงินงบประมาณของวัด
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ออกมายอมรับว่า ปัญหาดังเป็นเรื่องจริงและเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนปี2558 ซึ่งเจ้าหน้าที่ พศ.จะเรียกรับเงินในรูปแบบที่เรียกว่า เงินทอน โดยวัดได้ 1 ส่วน เจ้าหน้าที่พศ.ได้มากถึง 3 ส่วน
กลายเป็นที่จับตาของสังคม หลังเจ้าหน้าที่กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบพบ การทุจริตเงินอุดหนุนวัด และมีข้อมูลว่าข้าราชการระดับสูงและเจ้าหน้าที่ใน สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พศ. มีส่วนรู้เห็นในการทุจริตเป็นเงินกว่า 60 ล้านบาท จาก 12 วัดทั่วประเทศ
พันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ยอมรับว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนปี 2558 ซึ่งอาจเกิดจากช่องโหว่ของการเสนอขอ งบประมาณของแต่ละวัด โดยรูปแบบที่ดำเนินการจะมี พระสงฆ์ ฆราวาส และเจ้าหน้าที่ พศ.เกี่ยวข้อง
โดยเจ้าหน้าที่จาก พศ.จะเข้าไปพูดคุยทำข้อตกลงกับวัด ว่าสามารถดำเนินการให้วัดได้รับงบประมาณซ่อมแซ่มบูรณะวัดได้ โดยให้วัดเขียนรายละเอียดเสนองบประมาณ แต่ต้องบวกเพิ่มให้กับเจ้าหน้าที่ พศ. คิดเป็น 1 ต่อ 3 หรือ วัดรับไป ร้อยละ 25 ส่วนเจ้าหน้าที่พศ.รับไปร้อยละ 75 //จากนั้นจะส่งคำของบ ให้ พศ.พิจารณา เมื่องบประมาณได้รับการอนุมัติ วัดจะต้องเบิกเงินในส่วนร้อยละ 75 ให้กับเจ้าหน้าที่ พศ. หรือที่เรียกว่า เงินทอน
ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่า ก่อนปี 2558 มีช่องโหว่ เนื่องจากวัดสามารถทำเรื่องของบประมาณโดยตรงต่อ สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ควรช่วยเหลือ และโอนเงินเข้าบัญชีวัดโดยตรง ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ
จากนั้นเมื่อปี 2558 ได้เปลี่ยนแปลงหลังได้รับการเสนอแนะจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบง่ายขึ้น โดยวัดต้องส่งคำของบ ผ่าน พศ.จังหวัด ก่อนส่งเรื่องไปยัง พศ.ส่วนกลาง โดยงบที่ได้รับอนุมัติจะโอนเงินผ่าน พศ.จังหวัด
ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุด้วยว่า จากนี้วงการพระพุทธศาสนาต้องมีการเปลี่ยนแปลงและตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์ทุจริต ส่วนฆราวาส หากผลการตรวจสอบพบว่าเข้าไปมีส่วนร่วมในการทุจริตก็ต้องกวาดล้าง โดยโทษสูงสุดคือออกจากราชการทันที
โดยเงินงบประมาณที่จัดสรรให้กับวัดต่างๆทั่วประเทศ จะมี 3 ประเภท คือ งบอุดหนุนบูรณะเพื่อซ่อมแซมวัด งบเพื่อการศึกษา เช่น โรงเรียนพระปริยัติธรรม // งบอุดหนุนเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยส่วนที่เกิดปัญหาคืองบอุดหนุนบูรณะเพื่อซ่อมแซมวัด
ซึ่งงบประมาณส่วนนี้จะมีจำกัด จะต้องพิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน เช่นอุบัติภัยต่างๆ และ และบูรณะโบราณสถาน ทั้งนี้ ปัจจุบันทั่วประเทศไทย มี 40,758 วัด ในปี 2560 สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้รับงบประมาณอุดหนุนกว่า 4,671 ล้านบาท (4,671,524,400) เพื่อใช้ในการดูแลศาสนา บูรณะวัดและเผยแผ่กิจกรรมทางศาสนา
พัชรพงษ์ พันสวัสดิ์ ถ่ายภาพ
พรรษนันท์ ช่างคิดTNN ช่อง16รายงาน