อ่านที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน พูดถึงกับดักรัฐธรรมนูญแล้วใช่เลย
เขาไม่เสียชาติเกิดมาเป็นขี้ข้า คสช.
เขาเป็น กปปส.ที่ออกมาป่วนเมืองเปิดทางทหารยึดอำนาจ
จากนั้นได้ดิบได้ดีจากการปูนบำเหน็ดโดย คสช.
ให้ไปช่วยเขียนกฎหมายเอื้อคณะรัฐประหาร
ทั้งรัฐธรรมนูญที่วางกับดักไม่ให้พรรคการเมืองมีโอกาสตั้งรัฐบาล
แล้วยังกฎหมายลูกต่างๆ เพื่อการทำหมันพรรคการเมืองเก่า พร้อมไปกับทำกิ๊ฟให้กับพรรคการเมืองใหม่ลิ่วล้อทหาร
อย่างเช่นพรรค ปปร. ของเขา หรือ รปช. ของสุเทพ เทือกสุบรรณ
ขณะที่คนอื่นๆ ตัวแทนพรรคการเมืองแต่ละแขนง
ซึ่งร่วมอภิปรายในวาระครบรอบ ๖๙ ปีคณะรัฐศาสตร์ มธ. ล้วนเห็นว่ารัฐประหารไม่พึงประสงค์
รัฐธรรมนูญไม่เป็นคุณ และยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี คสช. คือกับดัก
มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป.
คนเดียวในสามพรรคประเภท ‘ไม่เอา คสช.’
ที่ยินดีใช้ รธน. ๖๐ ยังไม่ต้องการแก้ เช่นเดียวกับนายไพบูลย์ที่ยืนกรานว่า
“ทุกอย่างต้องเดินหน้าไปตามรัฐธรรมนูญ”
โดยยอมให้ สว. (คราวนี้ ๒๕๐ คน ที่ผ่านมาเขาว่าน้อยไป) ที่ คสช.จะเป็นผู้แต่งตั้งทำการกำกับควบคุมการเมืองอีก
๕ ปี ขอให้ทนกันไป เมื่อทนได้ “แล้วท่านจะชอบ”
นายไพบูลย์เชื่อมั่นแบบของเขาว่า
ต่อไปภายใต้กฎระเบียบที่พวกตนวางไว้ จะเป็นการเมืองที่มีนิติรัฐ (ต่างกับนายจาตุรนต์
ฉายแสง พรรคเพื่อไทย และนายอภิสิทธิ์ ที่เห็นว่านิติรัฐไม่มี) ด้วยการมี “สว.มาคุม
สังคมไทยเราจะเดินไปได้ แม้ไม่ถูกใจใคร แต่จะเดินไปได้”
ไพบูลย์ยังพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้แก่การรัฐประหารและคณะยึดอำนาจด้วยว่า
ที่ผ่านมา (อันนำมาสู่ยุค คสช.) นักการเมือง (ส.ส.) ดีแต่อ้างประชาธิปไตย
อ้างประชาชน
“ถ้าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราโหยหา
ผมจะบอกว่าข้างหน้าไม่เจอหรอกครับ เพราะจากปี ๒๕๕๗ ถึงปัจจุบัน ‘เรา’ วางกลไกที่จะไม่ทำให้ไปเจอแบบนั้นอีก”
หัวหน้าพรรคที่ประกาศจะสนับสนุนให้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นนายกฯ อีกหลังจากมีการเลือกตั้ง (และด้วยกับดักของรัฐธรรมนูญฉบับที่
คสช.สั่งให้ร่างนี้) กล่าวหาว่าการอ้างดังกล่าว เป็นวาทกรรมของ ‘การเมืองแบ่งขั้ว’
ที่มีการเคลื่อนไหวชุมนุมของประชาชนแต่ละฟากฝ่าย
(https://www.bbc.com/thai/thailand-44482320?ocid=socialflow_facebook และ https://www.matichon.co.th/politics/news_998234)
ขณะที่ผู้อภิปรายอื่นๆ กลับชี้ว่าการชุมนุมของประชาชนเป็นสิทธิ์ควรต้องมี
ดังที่นายจาตุรนต์ แกนนำพรรคเพื่อไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน.พรรค ปชป. และนายธนาธร
จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แสดงความเห็นพ้องกัน
โดยเฉพาะนายธนาธรโต้นายไพบูลย์ว่า “การชุมนุมมีอยู่ในสังคมทุกประเทศ
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากเป็นการชุมนุมตามกฎหมายและปราศจากความรุนแรง จะต้องอนุญาต...
แต่เมื่อใดก็ตามที่การชุมนุมเป็นบัตรเชิญให้เกิดการรัฐประหาร
แบบนั้นผิด” ซึ่งนายไพบูลย์ทำไขสือไม่รู้ไม่เห็น ในเมื่อตนเองทำมากับมือ
ครั้งร่วมเป่านกหวีด ปิดกรุงเทพฯ กับ กปปส. กวักมือเรียก คสช.เข้ามายึดอำนาจ
หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ยังได้เสนอแนวทางปลดแอกจาก
คสช. รัฐธรรมนูญ คสช. และยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี คสช.ครองเมือง ว่า ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ ต้องเอาชนะ
‘ในคูหา’ เลือกตั้ง ร่วมกันให้มีคะแนนอย่างน้อย
๓๗๖ เสียงในสภาล่าง
“นี่เรายอมเล่นในเกม
คสช. แล้ว หลักการคือเราจะใช้ประชามติและฉันทามติที่ใสบริสุทธิ์ ๓ ครั้ง
เพื่อทำลายประชามติที่โกง ๑ ครั้ง” อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ กับดัก
ไม่ให้พรรคการเมืองของประชาชนได้จัดตั้งรัฐบาล
ทางด้านนายอภิสิทธิ์ ซึ่งยอมรับว่า “รธน.
ฉบับปี ๒๕๖๐ ยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย
และหลายบทบัญญัติเป็นอุปสรรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย” แต่ก็จะไม่ดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญในสมัยนี้
และพร้อมจะสู้เลือกตั้ง ทั้งที่รัฐบาล คสช.
“ส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นทุกวันว่าจะมาเป็น ‘ผู้เล่น’ จากเดิมเคยวางบทบาทตัวเองเป็น ‘กรรมการห้ามมวย’
เฉยๆ
ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง
นั้นประกาศออกมาเลยว่าก่อนเลือกตั้ง ๓ เดือน ให้นายกฯ และ ครม. ของรัฐบาล คสช.
ทั้งคณะลาออก ให้ปลัดกระทรวงต่างๆ มาทำหน้าที่ตามมาตรา ๑๖๘
แล้วเมื่อเปิดสภา “พรรคการเมืองต้องมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะแก้รัฐธรรมนูญ”
โดยกำหนดเป็นนโยบายไว้เลย รวมทั้งแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศพร้อมกันไปด้วย
กรณีนี้พรรคอนาคตใหม่ไปไกลกว่าเพื่อไทยนิดหน่อย
ด้วยการกำหนดนโยบายว่าเมื่อเข้าสภาแล้วจะต้อง “ทำประชามติเพื่อขอแก้ไข รธน. ฉบับปี
๒๕๖๐ เปิดทางตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ร.ร.) ที่มาจากประชาชนขึ้นมาจัดทำร่าง รธน.
ฉบับใหม่”
ซึ่งการนี้ทำได้ไม่ยาก
เนื่องจากขอแก้รัฐธรรมนูญมาตราเดียวก่อน คือ ๒๗๙ ที่ปลดสลักหรือกับดักการคงอำนาจของ
คสช. ออกไป
ข้อสำคัญพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยต้องผนึกกำลังให้ได้
๓๗๖ เสียง จากการต่อสู้ ‘ในคูหา’
ไม่เช่นนั้น คสช.ก็จะยังคงใช้เล่ห์และเล่นลิ้นครองอำนาจต่อไปภายใต้กับดักที่วางไว้