“สรรพากร” แจง “แจ็ก หม่า” ได้ยกเว้นภาษี 13 ปีตามเงื่อนไขบีโอไอ ส่วนคนไทยต้องเสียภาษีตามกฎหมายเดิม
15 มิ.ย. 2561
โดย: MGR Online
กรมสรรพากรชี้แจงกรณี “แจ็ก หม่า” ได้รับการยกเว้นภาษี 13 ปี ตามเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี และฝึกอบรมบุคลากรคนไทยด้วย ส่วนการเสียภาษีขายของออนไลน์ของคนไทยเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่เดิม และกระทรวงการคลังกำลังออกกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจออนไลน์ของต่างประเทศด้วย
ตามที่ได้มีการแชร์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ว่า คนไทยขายของออนไลน์รัฐบาลนี้ออกกฎหมายขูดรีดภาษี แต่ยกเว้นภาษี 13 ปี ให้นายแจ็ก หม่า ประธานกลุ่มอาลีบาบา มาลงทุนขายของออนไลน์ในไทยนั้น กรมสรรพากร ขอชี้แจงว่า ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการทางออนไลน์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายปัจจุบันอยู่แล้ว เช่นเดียวกันกับผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการที่มีร้านค้า รัฐบาลไม่ได้ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มแต่อย่างใด
ปัจจุบัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทางออนไลน์ ซึ่งกระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี คือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการลูกค้าในประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี และการแข่งขันเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา ไม่ได้มีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศอย่างครบถ้วน จึงทำให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยที่ต้องเรียกเก็บและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเสียเปรียบ
ส่วนกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีของอาลีบาบานั้น นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้ชี้แจงไปแล้วว่า การได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งสิทธิประโยชน์พื้นฐานจะแตกต่างกันไปตามประเภทกิจการ โดยกิจการประเภทเดียวกันจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดียวกัน ปัจจุบัน การส่งเสริมการลงทุนจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมบุคลากรควบคู่ไปด้วย นอกจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมยังอาจได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด การพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้กับอาลีบาบานั้น บีโอไอ จะมีการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นการให้เฉพาะเจาะจงกับรายใดรายหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ
นอกจากนี้ หากพิจารณาประเภทกิจการที่รัฐต้องการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายจะพบว่าไม่ใช่กิจการที่แข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการทางออนไลน์แต่อย่างใด
...
เวอร์ชั่นเข้าใจง่าย
Yannapat Chatchaiskul 1.ไม่เสีย vat เพราะ vat เก็บจากการบริโภคในไทย อาลีบาบา ถ้าส่งสินค้าเข้าไทยก็โดนตรวจแบบที่เอาของเข้ากันเองนั่นแหละ ผู้นำเข้าเสีย
2. ภาษีนิติบุคคลเก็บจากนิติบุคคลไทยและนิติบุคคลตปท.ที่ประกอบกิจการในปท.ไทย ซึ่ง การประกอบการในอินเตอร์เนต เจ้าอื่นก็ไม่เสีย เพราะเก็บเค้าไม่ได้ ถ้าเก็บจากอาลีบาบาได้ ก็ต้องเก็บกูเกิล+ยูทูปด้วย ฝันเอาเถอะ
3. ผู้ประกอบการไทยรายได้เกินธุรกิจขนาดย่อม (1.8 ล้าน) เสีย vat เพราะบริโภคในไทย แต่ถ้าส่งออกไป ขอคืนได้ = ไม่มีภาษีเหมือนอาลีบาบานั่นแหละ
4. ผู้ประกอบการไทยเสียจากหลักเป็นนิติฯสัญชาติไทย หรือบุคคลธรรมดาอยู่ในไทย ถ้าไม่อยากเสียก็ตั้งนิติเมืองนอก ขายผ่านเนตแบบเดียวกัน ส่งของจากเมืองนอก จบ
5. ผู้ประกอบการไทย มีทางเลือกคือหักตามจริง ซึ่งทำบัญชี 60 หรือ 80 มันเป็นหักเหมา ซึ่งเกิดจากความขี้เกียจในการทำบัญชี การลดเป็นการบังคับทางอ้อมให้ทุกคนต้องทำงบทางการเงิน
อาลีบาบา มาในไทย ไทยได้อะไรบ้าง
1.ภาษี จากเงินที่เค้าจ่ายให้ผู้ประกอบการไทย มันเป็นเรื่องที่เค้ามีรายจ่าย ไม่ใช่มีรายได้ คนที่เสียคือคนที่มีรายได้
2.vat จากสินค้าที่เค้าส่งเข้าไทย คนซื้อเป็นคนเสีย
มันไม่มีการให้สิทธิประโยชน์ เค้าเพิ่มเติม
มันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภาษีของเราเอง และนานาประเทศมันก็เป็นแบบนี้
...
Wasan Sakolwanitchakij คนไทยขายของให้คนไทยเก็บภาษี
คนต่างชาติขายของให้คนไทยไม่เก็บภาษี แต่คนซื้อของจากต่างชาติ ต้องเสียภาษี....นี่แหละน้าาาสรัฐบาลไทย เอาคนที่มีอายุเหลือไม่ถึง 10-15 ปี มากำหนดยุทธศาสตร์ประเทศไทย....กรรมเวรของคนรุ่นใหม่จิงๆ
ooo
ออกกฎหมายเก็บภาษีคนไทยขายของออนไลน์— ❝ เบคแฮมเซิ่นเจิ้น ❞ (@Stop_Dadjarit) June 15, 2018
แต่ยกเว้นภาษีต่างชาติ มันใช่เหรอ??https://t.co/vPZmr8olca pic.twitter.com/oHLY5SFEVU