#VoiceTV21 คุยกับ 'สหายรื่น - ใบตองแห้ง' ทำไมคนตุลา หัวก้าวหน้าแต่ไม่เอานิติรัฐhttps://t.co/ImK9A7Hc42 pic.twitter.com/5lD0c4S0hR— VoiceTV21 (@Voice_TV) October 6, 2017
ooo
คุยกับใบตองแห้ง: สังคมซับซ้อน สื่อสับสน คนเดือนตุลากระจายหลายเฉดสี
By กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
6 ตุลาคม 2560
อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง หรืออีกนามหนึ่ง “สหายรื่น” แห่งเขตดอยยาว-ผาหม่น นักวิเคราะห์ที่แฟนๆ ของวอยซ์ทีวีติดตามอย่างเหนียวแน่นคือคนเดือนตุลาในสายสื่อมวลชนที่วิพากษ์ “สหาย” ของเขาอย่างเข้มข้นต่อเนื่องในระยะของความปั่นป่วนสับสนทางการเมืองในช่วงสิบปีกว่าๆ มานี้ แต่ไม่ว่าจะวิพากษ์อย่างดุเดือดเพียงใด เขาคือคนหนึ่งที่ย้ำเสมอๆ ว่าสายธารแห่งมิตรนั้นยากจะบั่นให้ขาด เพราะคนเดือนตุลานั้นผูกพันกันด้วยประวัติศาตร์อันซับซ้อน ทั้งการต่อสู้ ความฝัน ความหวังและความเจ็บปวด
แม้เขาจะบอกว่า วันนี้ถึงเวลาคนเดือนตุลาต้องเปิดทางให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นอนาคตของสังคม แต่แน่นอนว่า เมื่อคนรุ่นตุลายังคงมีบทบาทนำทางความคิดทั้งในฐานะนักวิชาการ เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว และสื่อมวลชนอย่างที่เขาเป็นอยู่ เขาจึงมานั่งพูดคุยกับกองบรรณาธิการออนไลน์วอยซ์ทีวีว่าอะไรที่หล่อหลอมพวกเขาขึ้นมา และทำไมคนเดือนตุลาจึงกระจัดกระจายไปหลายเฉด ทั้งแดง เหลือง สลิ่ม ฯลฯ
คนเดือนตุลา: จุดร่วมคือต้านระบบเก่า จุดต่างคือคนหัวก้าวหน้าหลายเฉด
“ผมคิดว่าจุดเริ่มต้นมันคือกระบวนการประชาธิปไตย เพียงแต่ว่ามันมีกระแสอื่นรวมอยู่ด้วย เพียงแต่เรามองไม่เห็น”
อดีตสหายรื่นทบทวนอย่างพยายามทำความเข้าใจและอธิบายต่อไปว่าแม้จะมีคนอธิบายในภายหลังว่าอุดมการณ์เดือนตุลาฯ คืออุดมการณ์ประชาธิปไตย และการต่อต้านระบบเก่าแต่ก็มีส่วนอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่นเรื่องศีลธรรม ศาสนา (พุทธ)และชาตินิยม รวมไปถึงฮิปปี้
แต่ถ้าถามว่า หลังจากการแสวงหา และกระแสสังคมนิยมพัดพาเข้ามาอย่างหนักหน่วงในยุคหลัง 14 ตุลาคม ตัวเขาเองซึ่งแม้จะเข้าป่า และออกจากป่าค่อนข้างช้ากว่าคนอื่นก็ยังไม่เชื่อว่าสังคมนิยมคือทางออกของประเทศไทย
“อุดมการณ์สังคมนิยมซึ่งมันก็เป็นกระแสโลกเหมือนกัน แต่ถ้าถามว่าสังคมนิยมคือทางออกของสังคมไทยไหม ถามว่าตอนนั้นจริงจังไหม มันก็คงไม่จริงมั้ง มันก็เหมือนกับความใฝ่ฝัน คล้าย ๆ กับว่าถ้าไม่เกิด 6 ตุลา คนเรียนหนังสือจบ คงไม่เข้าป่ากันหรอก“
สังคมหลังออกจากป่าช่างซับซ้อน และคนตุลาบางส่วนก็กลายเป็นฝ่ายต้านประชาธิปไตย
คำถามที่คาใจคนรุ่นหลัง ก็คือ เมื่อคนเดือนตุลาน่าจะเคยเชื่อเรื่องความเท่ากันของมนุษย์ ทำไมที่สุดแล้วกลับกลายเป็นเข้าร่วมในขบวนของฝั่งทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยเสียได้ อธึกกิตวิเคราะห์ว่าน่าขึ้นอยู่กับว่า “ออกจากป่ามาเจออะไร”
บางคนอาจจะอกหักออกมาแล้วได้วิถีพุทธบวกซ้ายโอบอุ้มไว้ บางคนไปสู่แนวทางต่อรองและเคลื่อนไหวแบบเอ็นจีโอ ซึ่งอย่างหลังนี้ยังคงได้แนวคิด “ยึดอำนาจรัฐ” ซึ่งเป็นมรดกของ “ฝ่ายซ้าย”
“มันเหมือนกับว่าเขาสู้แบบนั้นมาตลอดในวิถีของเอ็นจีโอที่ทำกันมาประมาณ 30 กว่าปี ผมเข้าใจว่าเป็นวิถีของการต่อรอง หักเอา ใช้อำนาจ คือเข้าไปกับอำนาจ”
ขณะที่ตัวเขาเองเมื่อออกจากป่าแล้วกลับเริ่มมองต่างและเห็นว่าทุนนิยมประชาธิปไตยเป็นเรื่องรับได้มากกว่า แต่เมื่อเชื่อในประชาธิปไตย ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นอะไรต้องไปช่วงชิงอำนาจรัฐ
“ประชาธิปไตยมันก็คือ เราไม่ได้ต้องการโลกที่ดีที่สุด เราไม่ได้ต้องการโลกที่สมบูรณ์แบบ เราไม่ต้องการเข้าไปแก้ไขปัญหาบ้าบออะไรซักอย่าง ไม่ได้คิดอะไรซักอย่าง คิดแค่ว่าขอให้เป็นไปตามทางเลือกที่ประชาชนอยากเลือก ขอแค่มีเสรีภาพที่จะคุยกัน มีเสรีภาพที่จะวิพากษ์วิจารณ์กัน คือบางคนมีความคิดโค่นล้มอะไรบางสิ่งบางอย่าง แต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ จะไปไม่ไปเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เรื่องเสรีภาพต้องมาก่อน ซึ่งเราอาจจะมีอุดมการณ์ไม่แข็งเท่าเขาก็ได้ (หัวเราะ)”
ทำไมคนเดือนตุลาไม่เชื่อนิติรัฐ
“ผมขำๆ แล้วมานั่งจับดูพวกคนตุลาฝั่งหนึ่งและพวกและเอ็นจีโอ คือผมมานึกได้ว่าคนตุลาไม่เชื่อเรื่องนิติรัฐ เพราะว่าสังคมนิยมไม่มีศาล สังคมนิยมมันไม่มีศาล มันมีศาลประชาชน เหมาเจ๋อตุงไปไหนก็จับเจ้าที่ดินตัดหัว ไม่ต้องพิพากษา คือมันไม่มีระบบนิติรัฐ สังคมนิยมไม่มีนิติรัฐ และพรรคคอมมิวนิสต์ไม่มีนิติรัฐ ไม่มี! ไม่เคยศึกษาอะไรพวกนี้เลย ฉะนั้นไอ้คนที่ออกมาจากป่าก็ไม่เคยเข้าใจเรื่องนิติรัฐ ผมก็ไม่เคยเข้าใจ ผมมาเรียนกับวรเจตน์ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุมนิติราษฎร์)”
อธึกกิตบอกว่า คนที่ผ่านการเข้าป่าอาจจะเชื่อเรื่องความเป็นธรรม แต่ก็เชื่อว่าความเป็นธรรมนั้นมาจากการยึดและใช้อำนาจ ขณะที่นิติรัฐนั้นเป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยทุนนิยมซึ่งต้องการระบบและกติกาที่เข้มแข็ง
“วิธีคิดของคนที่มันเข้าป่ามันเป็นแบบนี้นะ ความเป็นธรรมมาจากการใช้อำนาจ คือยึดให้ได้ก่อน แล้วจะเกิดความเป็นธรรม คือวีธีคิดมันยังอยู่ อยู่เยอะด้วย คือนิติรัฐมันเป็นองค์ประกอบของทุนนิยม เอาเข้าจริงนิติรัฐมันเป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยทุนนิยม...ทุนนิยมเป็นสังคมของการแย่งชิงผลประโยชน์ การช่วงชิงผลประโยชน์ สังคมจะอยู่ได้ต้องอยู่ด้วยกติกา ต้องมีกติกาที่เข้มแข็ง ถึงต้องสร้างทุนนิยมประชาธิปไตยที่มีกติกาที่เข้มแข็งมันถึงจะอยู่ได้”
สื่อยุคนั้นไม่ ‘ยอกย้อน’ เท่ายุคนี้?
“สื่อตอนนั้นก็โอเคนะ” อธึกกิตตอบทันทีที่เราถามว่า คนรุ่นตุลาเสพสื่อ “หัวก้าวหน้า” จากไหน แต่เขาบอกว่าไม่ได้หมายถึงหนังสือพิมพ์ แต่หมายถึงสื่อทางเลือก และสื่อวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น หนัง เพลง จากตะวันตก และวรรณกรรมจากนักเขียนหัวก้าวหน้ารุ่นก่อนหน้านี้ อย่าง ศรีบูรพา หรือ รพีพร
“ถ้าเราพูดว่ากระแสแสวงหาของอเมริกามันคือกระแสของการที่กบฎ มันกบฏต่อระบบ มันจะมีการต่อสู้เรื่องระบบหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเหยียดผิว เหยียดเพศ ความเสมอภาคทางเพศ และก็การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความเชื่อเรื่องศาสนาอะไรต่าง ๆ ผมเคยยกตัวอย่างบ่อย ๆ ผมรู้สึกว่า ผมมองย้อนไปที่ผมรับอิทธิพลความคิดอย่างนี้คือผมฟังเพลง The Sound of Silence ผมดูหนังด้วย หนัง The Graduated ซึ่งตอนจบเรื่อง Dustin Hoffman เอาไม้กางเขนใหญ่ ๆ ไปปิดโบสถ์ ปิดหน้าโบสถ์ พาเจ้าสาวหนี พังงานแต่งงาน พาเจ้าสาวหนี เอาไม้กางเกงไปปิดหน้าโบสถ์ มันเป็นสัญลักษณ์ใช่ไหม คือ มันเป็นสัญลักษณ์เรื่องการต่อสู้เรื่องความเชื่อ”
เมื่อปีที่แล้วในวันที่ 6 ต.ค. 2559 เขาเคยพูดในเวทีทบทวนบทบาทสื่อกับความรุนแรง และบอกว่าสื่อสมัยนั้นไม่ถลำลึกเท่าสมัยนี้ เขาตอบคำถามนี้อีกครั้งว่า แม้แต่ “ดาวสยาม” ก็ยังวิพากษ์ทุนนิยม
“คือผมไปพลิกๆ ดูดาวสยาม ที่เว็บ 6 ตุลา เขาเอามาลงคุณก็จะเห็นเขาด่าทุนนิยมนะ ผมขำมากเลย ด่าการเมือง ด่านักการเมือง ตอนนั้นด่าคุณดำรง ลัทธพิพัฒน์ก็เยอะ คือมันก็มีการอ้างความดี แต่ว่ามันไม่ลึกเหมือนปัจจุบัน ปัจจุบันมันลึกกว่า ผมว่าปัจจุบันมันลึกกว่าในการที่แบบว่ามันอ้างความยุติธรรม อ้างอะไรหลายๆ อย่าง แล้วก็การสร้างความคิดวิธีคิดต่างๆ ที่ยอกย้อนกว่าเยอะ”
อธึกกิตมองว่าโจทย์ใหญ่ก็คือความคิดของคนนั้นซับซ้อนขึ้น และไม่เป็นระบบ แต่ที่แน่นอนไม่เปลี่ยนไปเลยคือ “ศีลธรรมอนุรักษ์” เพราะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในสังคมที่ไม่อาจจะจัดระเบียบทางความคิด
“สังคมไทยมันเป็นศีลธรรมอนุรักษ์จริงๆ คือ...มันคิดว่ามีอันนี้อย่างเดียวที่จะยึดเหนี่ยวสังคมไว้ได้ คืออย่างอื่นมันไปหมดแล้ว มันเป็นสังคมที่จริงๆ ไม่มีกติกา มันไม่ค่อยมีกติกา มันก็มือใครยาวสาวได้สาวเอา ทำมาหากินอย่างมักง่าย”
ขณะเดียวกัน เขาเห็นว่า โจทย์ของสื่อก็ไม่ง่ายอีกต่อไป เพียงแค่ด่ารัฐบาล ด่านักการเมือง นั่นไม่ได้แปลว่าสื่อกำลังทำหน้าที่เคียงข้างประชาชน
“ผมว่ามาถึงตอนนี้คือการปกป้องเสรีภาพเป็นหลักอย่างเดียวก่อน แล้วก็สิทธิมนุษยชน ปกป้องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนเป็นหลักอย่างเดียวก่อน แล้วก็ค่อยว่ากัน ว่ามันจะไปยังไง คือมันต้องเปิดพื้นที่ของความคิดเห็น คือ มันจะไปยึดหลักแบบในอดีตไม่ได้ ยึดหลักแบบในอดีตมันตลกตอนนี้ แล้วเราก็เห็นพวกนั้นเอาหลักมาอ้างตอนนี้ ตอนที่ปกป้อง กปปส. คือมันฮามาก แล้วมันก็เพี้ยนกันไปได้หมด มันตลกอะ” อดีตสหายรื่นกล่าวทิ้งท้ายกลั้วหัวเราะตามสไตล์
อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง หรืออีกนามหนึ่ง “สหายรื่น” แห่งเขตดอยยาว-ผาหม่น นักวิเคราะห์ที่แฟนๆ ของวอยซ์ทีวีติดตามอย่างเหนียวแน่นคือคนเดือนตุลาในสายสื่อมวลชนที่วิพากษ์ “สหาย” ของเขาอย่างเข้มข้นต่อเนื่องในระยะของความปั่นป่วนสับสนทางการเมืองในช่วงสิบปีกว่าๆ มานี้ แต่ไม่ว่าจะวิพากษ์อย่างดุเดือดเพียงใด เขาคือคนหนึ่งที่ย้ำเสมอๆ ว่าสายธารแห่งมิตรนั้นยากจะบั่นให้ขาด เพราะคนเดือนตุลานั้นผูกพันกันด้วยประวัติศาตร์อันซับซ้อน ทั้งการต่อสู้ ความฝัน ความหวังและความเจ็บปวด
แม้เขาจะบอกว่า วันนี้ถึงเวลาคนเดือนตุลาต้องเปิดทางให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นอนาคตของสังคม แต่แน่นอนว่า เมื่อคนรุ่นตุลายังคงมีบทบาทนำทางความคิดทั้งในฐานะนักวิชาการ เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว และสื่อมวลชนอย่างที่เขาเป็นอยู่ เขาจึงมานั่งพูดคุยกับกองบรรณาธิการออนไลน์วอยซ์ทีวีว่าอะไรที่หล่อหลอมพวกเขาขึ้นมา และทำไมคนเดือนตุลาจึงกระจัดกระจายไปหลายเฉด ทั้งแดง เหลือง สลิ่ม ฯลฯ
คนเดือนตุลา: จุดร่วมคือต้านระบบเก่า จุดต่างคือคนหัวก้าวหน้าหลายเฉด
“ผมคิดว่าจุดเริ่มต้นมันคือกระบวนการประชาธิปไตย เพียงแต่ว่ามันมีกระแสอื่นรวมอยู่ด้วย เพียงแต่เรามองไม่เห็น”
อดีตสหายรื่นทบทวนอย่างพยายามทำความเข้าใจและอธิบายต่อไปว่าแม้จะมีคนอธิบายในภายหลังว่าอุดมการณ์เดือนตุลาฯ คืออุดมการณ์ประชาธิปไตย และการต่อต้านระบบเก่าแต่ก็มีส่วนอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่นเรื่องศีลธรรม ศาสนา (พุทธ)และชาตินิยม รวมไปถึงฮิปปี้
แต่ถ้าถามว่า หลังจากการแสวงหา และกระแสสังคมนิยมพัดพาเข้ามาอย่างหนักหน่วงในยุคหลัง 14 ตุลาคม ตัวเขาเองซึ่งแม้จะเข้าป่า และออกจากป่าค่อนข้างช้ากว่าคนอื่นก็ยังไม่เชื่อว่าสังคมนิยมคือทางออกของประเทศไทย
“อุดมการณ์สังคมนิยมซึ่งมันก็เป็นกระแสโลกเหมือนกัน แต่ถ้าถามว่าสังคมนิยมคือทางออกของสังคมไทยไหม ถามว่าตอนนั้นจริงจังไหม มันก็คงไม่จริงมั้ง มันก็เหมือนกับความใฝ่ฝัน คล้าย ๆ กับว่าถ้าไม่เกิด 6 ตุลา คนเรียนหนังสือจบ คงไม่เข้าป่ากันหรอก“
สังคมหลังออกจากป่าช่างซับซ้อน และคนตุลาบางส่วนก็กลายเป็นฝ่ายต้านประชาธิปไตย
คำถามที่คาใจคนรุ่นหลัง ก็คือ เมื่อคนเดือนตุลาน่าจะเคยเชื่อเรื่องความเท่ากันของมนุษย์ ทำไมที่สุดแล้วกลับกลายเป็นเข้าร่วมในขบวนของฝั่งทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยเสียได้ อธึกกิตวิเคราะห์ว่าน่าขึ้นอยู่กับว่า “ออกจากป่ามาเจออะไร”
บางคนอาจจะอกหักออกมาแล้วได้วิถีพุทธบวกซ้ายโอบอุ้มไว้ บางคนไปสู่แนวทางต่อรองและเคลื่อนไหวแบบเอ็นจีโอ ซึ่งอย่างหลังนี้ยังคงได้แนวคิด “ยึดอำนาจรัฐ” ซึ่งเป็นมรดกของ “ฝ่ายซ้าย”
“มันเหมือนกับว่าเขาสู้แบบนั้นมาตลอดในวิถีของเอ็นจีโอที่ทำกันมาประมาณ 30 กว่าปี ผมเข้าใจว่าเป็นวิถีของการต่อรอง หักเอา ใช้อำนาจ คือเข้าไปกับอำนาจ”
ขณะที่ตัวเขาเองเมื่อออกจากป่าแล้วกลับเริ่มมองต่างและเห็นว่าทุนนิยมประชาธิปไตยเป็นเรื่องรับได้มากกว่า แต่เมื่อเชื่อในประชาธิปไตย ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นอะไรต้องไปช่วงชิงอำนาจรัฐ
“ประชาธิปไตยมันก็คือ เราไม่ได้ต้องการโลกที่ดีที่สุด เราไม่ได้ต้องการโลกที่สมบูรณ์แบบ เราไม่ต้องการเข้าไปแก้ไขปัญหาบ้าบออะไรซักอย่าง ไม่ได้คิดอะไรซักอย่าง คิดแค่ว่าขอให้เป็นไปตามทางเลือกที่ประชาชนอยากเลือก ขอแค่มีเสรีภาพที่จะคุยกัน มีเสรีภาพที่จะวิพากษ์วิจารณ์กัน คือบางคนมีความคิดโค่นล้มอะไรบางสิ่งบางอย่าง แต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ จะไปไม่ไปเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เรื่องเสรีภาพต้องมาก่อน ซึ่งเราอาจจะมีอุดมการณ์ไม่แข็งเท่าเขาก็ได้ (หัวเราะ)”
ทำไมคนเดือนตุลาไม่เชื่อนิติรัฐ
“ผมขำๆ แล้วมานั่งจับดูพวกคนตุลาฝั่งหนึ่งและพวกและเอ็นจีโอ คือผมมานึกได้ว่าคนตุลาไม่เชื่อเรื่องนิติรัฐ เพราะว่าสังคมนิยมไม่มีศาล สังคมนิยมมันไม่มีศาล มันมีศาลประชาชน เหมาเจ๋อตุงไปไหนก็จับเจ้าที่ดินตัดหัว ไม่ต้องพิพากษา คือมันไม่มีระบบนิติรัฐ สังคมนิยมไม่มีนิติรัฐ และพรรคคอมมิวนิสต์ไม่มีนิติรัฐ ไม่มี! ไม่เคยศึกษาอะไรพวกนี้เลย ฉะนั้นไอ้คนที่ออกมาจากป่าก็ไม่เคยเข้าใจเรื่องนิติรัฐ ผมก็ไม่เคยเข้าใจ ผมมาเรียนกับวรเจตน์ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุมนิติราษฎร์)”
อธึกกิตบอกว่า คนที่ผ่านการเข้าป่าอาจจะเชื่อเรื่องความเป็นธรรม แต่ก็เชื่อว่าความเป็นธรรมนั้นมาจากการยึดและใช้อำนาจ ขณะที่นิติรัฐนั้นเป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยทุนนิยมซึ่งต้องการระบบและกติกาที่เข้มแข็ง
“วิธีคิดของคนที่มันเข้าป่ามันเป็นแบบนี้นะ ความเป็นธรรมมาจากการใช้อำนาจ คือยึดให้ได้ก่อน แล้วจะเกิดความเป็นธรรม คือวีธีคิดมันยังอยู่ อยู่เยอะด้วย คือนิติรัฐมันเป็นองค์ประกอบของทุนนิยม เอาเข้าจริงนิติรัฐมันเป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยทุนนิยม...ทุนนิยมเป็นสังคมของการแย่งชิงผลประโยชน์ การช่วงชิงผลประโยชน์ สังคมจะอยู่ได้ต้องอยู่ด้วยกติกา ต้องมีกติกาที่เข้มแข็ง ถึงต้องสร้างทุนนิยมประชาธิปไตยที่มีกติกาที่เข้มแข็งมันถึงจะอยู่ได้”
สื่อยุคนั้นไม่ ‘ยอกย้อน’ เท่ายุคนี้?
“สื่อตอนนั้นก็โอเคนะ” อธึกกิตตอบทันทีที่เราถามว่า คนรุ่นตุลาเสพสื่อ “หัวก้าวหน้า” จากไหน แต่เขาบอกว่าไม่ได้หมายถึงหนังสือพิมพ์ แต่หมายถึงสื่อทางเลือก และสื่อวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น หนัง เพลง จากตะวันตก และวรรณกรรมจากนักเขียนหัวก้าวหน้ารุ่นก่อนหน้านี้ อย่าง ศรีบูรพา หรือ รพีพร
“ถ้าเราพูดว่ากระแสแสวงหาของอเมริกามันคือกระแสของการที่กบฎ มันกบฏต่อระบบ มันจะมีการต่อสู้เรื่องระบบหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเหยียดผิว เหยียดเพศ ความเสมอภาคทางเพศ และก็การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความเชื่อเรื่องศาสนาอะไรต่าง ๆ ผมเคยยกตัวอย่างบ่อย ๆ ผมรู้สึกว่า ผมมองย้อนไปที่ผมรับอิทธิพลความคิดอย่างนี้คือผมฟังเพลง The Sound of Silence ผมดูหนังด้วย หนัง The Graduated ซึ่งตอนจบเรื่อง Dustin Hoffman เอาไม้กางเขนใหญ่ ๆ ไปปิดโบสถ์ ปิดหน้าโบสถ์ พาเจ้าสาวหนี พังงานแต่งงาน พาเจ้าสาวหนี เอาไม้กางเกงไปปิดหน้าโบสถ์ มันเป็นสัญลักษณ์ใช่ไหม คือ มันเป็นสัญลักษณ์เรื่องการต่อสู้เรื่องความเชื่อ”
เมื่อปีที่แล้วในวันที่ 6 ต.ค. 2559 เขาเคยพูดในเวทีทบทวนบทบาทสื่อกับความรุนแรง และบอกว่าสื่อสมัยนั้นไม่ถลำลึกเท่าสมัยนี้ เขาตอบคำถามนี้อีกครั้งว่า แม้แต่ “ดาวสยาม” ก็ยังวิพากษ์ทุนนิยม
“คือผมไปพลิกๆ ดูดาวสยาม ที่เว็บ 6 ตุลา เขาเอามาลงคุณก็จะเห็นเขาด่าทุนนิยมนะ ผมขำมากเลย ด่าการเมือง ด่านักการเมือง ตอนนั้นด่าคุณดำรง ลัทธพิพัฒน์ก็เยอะ คือมันก็มีการอ้างความดี แต่ว่ามันไม่ลึกเหมือนปัจจุบัน ปัจจุบันมันลึกกว่า ผมว่าปัจจุบันมันลึกกว่าในการที่แบบว่ามันอ้างความยุติธรรม อ้างอะไรหลายๆ อย่าง แล้วก็การสร้างความคิดวิธีคิดต่างๆ ที่ยอกย้อนกว่าเยอะ”
อธึกกิตมองว่าโจทย์ใหญ่ก็คือความคิดของคนนั้นซับซ้อนขึ้น และไม่เป็นระบบ แต่ที่แน่นอนไม่เปลี่ยนไปเลยคือ “ศีลธรรมอนุรักษ์” เพราะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในสังคมที่ไม่อาจจะจัดระเบียบทางความคิด
“สังคมไทยมันเป็นศีลธรรมอนุรักษ์จริงๆ คือ...มันคิดว่ามีอันนี้อย่างเดียวที่จะยึดเหนี่ยวสังคมไว้ได้ คืออย่างอื่นมันไปหมดแล้ว มันเป็นสังคมที่จริงๆ ไม่มีกติกา มันไม่ค่อยมีกติกา มันก็มือใครยาวสาวได้สาวเอา ทำมาหากินอย่างมักง่าย”
ขณะเดียวกัน เขาเห็นว่า โจทย์ของสื่อก็ไม่ง่ายอีกต่อไป เพียงแค่ด่ารัฐบาล ด่านักการเมือง นั่นไม่ได้แปลว่าสื่อกำลังทำหน้าที่เคียงข้างประชาชน
“ผมว่ามาถึงตอนนี้คือการปกป้องเสรีภาพเป็นหลักอย่างเดียวก่อน แล้วก็สิทธิมนุษยชน ปกป้องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนเป็นหลักอย่างเดียวก่อน แล้วก็ค่อยว่ากัน ว่ามันจะไปยังไง คือมันต้องเปิดพื้นที่ของความคิดเห็น คือ มันจะไปยึดหลักแบบในอดีตไม่ได้ ยึดหลักแบบในอดีตมันตลกตอนนี้ แล้วเราก็เห็นพวกนั้นเอาหลักมาอ้างตอนนี้ ตอนที่ปกป้อง กปปส. คือมันฮามาก แล้วมันก็เพี้ยนกันไปได้หมด มันตลกอะ” อดีตสหายรื่นกล่าวทิ้งท้ายกลั้วหัวเราะตามสไตล์