'พท.'ไม่ร่วม รบ.คนนอก 'ปชป.'แนะ ส.ว.หนุนนายกฯในบัญชี
By Phanaschai Kongsirikhan
18 ตุลาคม 2560
Voice TV21
รัฐธรรมนูญเปิดทางให้รัฐสภาสามารถโหวตเลือกนายกฯคนนอกได้ ต่อไปนี้คือจุดยืนท่าที แกนนำ 'เพื่อไทย-ปชป.' เกี่ยวกับประเด็นที่มานายกฯคนนอก
"ลำพังพรรคเพื่อไทยไม่มีแนวคิดที่จะไปเสนอชื่อบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เป็นสมาชิกพรรคมาเป็นแคนดิเดตนายกฯ เพราะพรรคไม่เห็นด้วย เราเคยมีความขัดแย้งในอดีตบุคคลเป็นนายกฯควรเป็น ส.ส.หรือไม่ตอนปี2535 จนต้องแก้รัฐธรรมนูญให้นายกฯมาจาก ส.ส. พรรคไม่มีแนวทางจะไปเชิญใครมาเป็นนายกฯ"
นี่เป็นคำประกาศของกุนซือฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย "ชูศักดิ์ ศิรินิล" ที่ได้เปิดเผยกับ "วอยซ์ทีวี"
"ส.ส.รวมเสียงกันไม่ได้เกินครึ่งก็จะไปสู่ขั้นตอนที่สอง ทางที่ดีพรรคการเมืองควรรวมเสียงให้ได้เสนอชื่อบุคคลของพรรคการเมืองเป็นนายกฯ เชื่อว่า ส.ว.จะสนับสนุนพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากรวบรวมเสียงพรรคการเมืองต่างๆมาจัดตั้งรัฐบาล"
นี่เป็นคำยืนยันจากแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ "องอาจ คล้ามไพบูลย์" เช่นกัน
เมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่เพิ่งบังคับใช้กำหนดไว้ในมาตรา 272 ให้ระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ การลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ซึ่งหมายถึงการโหวตเลือกนายกฯ ต้องใช้เสียงสนับสนุนของ ส.ส. และ ส.ว. รวมกันมากกว่า 375 เสียงขึ้นไปจากทั้งหมด 750 เสียง
โดยให้เลือกผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้จัดทำไว้ 3 รายชื่อ ซึ่งจะต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
แต่ถ้าไม่สามารถเลือกนายกฯได้จากบัญชีที่จัดทำไว้ รัฐธรรมนูญเปิดช่องทางให้ ส.ส.และ ส.ว.ขอเปิดประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน ให้เลือกนายกรัฐมนตรีจากบุคคลที่ไม่ต้องอยู่ในบัญชีที่พรรคการเมืองได้กำหนดไว้ก็ได้
โดยสามารถยื่นญัตติต่อที่ประชุมรัฐสภาเพื่อเสนอชื่อบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้
ทำให้ "ชูศักดิ์" จากพรรคเพื่อไทย ระบุทันทีว่า พรรคเพื่อไทยจะเฝ้าจับตาดูว่ามีพรรคการเมืองใดจะเสนอชื่อบุคคลที่ไม่ใช่ ส.ส.หรือบุคคลภายนอกมาเป็นนายกฯ หรือไม่
ขณะที่ "องอาจ" ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ถ้าพรรคการเมืองรวบรวมเสียงข้างมากเลือก นายกฯที่มาจากบัญชีนายกฯไม่ได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สอง เสนอชื่อใครก็ได้ ไม่ว่าขั้นตอนแรกหรือสอง จะได้คนนอกหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ผลการเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง
สำหรับท่าทีของ "พรรคเพื่อไทย" ซึ่งย้ำผ่าน "ชูศักดิ์" จะต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอก่อน และยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยมีแนวคิดที่จะเสนอบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีในขั้นตอนที่สองอย่างแน่นอน
เมื่อถามย้ำถ้าในอนาคตเกิดมีนายกฯที่มาจากคนนอก "ชูศักดิ์" ตอบทันทีจะไม่ไปร่วมสังฆกรรมกับรัฐบาลที่มีนายกฯจากคนนอก
"เราคงปฏิเสธหลักการนั้นคงไม่เห็นด้วย เช่น จะมีบุคคลภายนอกมาเป็นนายกฯให้พรรคเพื่อไทยไปร่วมรัฐบาล"
ด้าน "องอาจ" ตอบว่า อยากเห็นพรรคการเมืองสนับสนุนนายกฯที่มาจากบัญชีนายกฯให้เสร็จในขั้นตอนแรกก่อน และเรียกร้องให้ส.ว.ร่วมสนับสนุนบุคคลของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมาจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศมากกว่าจะไปเลือกนายกฯจากคนนอกในขั้นตอนที่สอง
แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองในขั้นตอนของการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่สามารถกระทำได้ จนไปถึงมีพรรคการเมือง หรือ ส.ว. เสนอชื่อ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ให้มานั่งตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารต่อเป็นเทอมที่ 2 อีก 5 ปีนั้น
"ชูศักดิ์" บอกเพียงว่า "โอกาสจะร่วมรัฐบาลกับพลเอกคนนี้คงยาก เพราะคิดว่าถ้าเราไปร่วมคงเป็นเรื่องเสียหายมากสำหรับพรรคที่เดินแนวทางประชาธิปไตยและต่อสู้เผด็จการมาตลอด"
ขณะที่ "องอาจ" ระบุเพียงว่า "เราไม่สามารถบอกได้ในวันนี้จะเป็นยังไง ถ้าบอกวันนี้แค่เดาเฉยๆ แต่จะเป็นไปได้หรือไม่อยู่ที่ผลการเลือกตั้งเป็นหลัก"
รัฐธรรมนูญเปิดทางให้รัฐสภาสามารถโหวตเลือกนายกฯคนนอกได้ ต่อไปนี้คือจุดยืนท่าที แกนนำ 'เพื่อไทย-ปชป.' เกี่ยวกับประเด็นที่มานายกฯคนนอก
"ลำพังพรรคเพื่อไทยไม่มีแนวคิดที่จะไปเสนอชื่อบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เป็นสมาชิกพรรคมาเป็นแคนดิเดตนายกฯ เพราะพรรคไม่เห็นด้วย เราเคยมีความขัดแย้งในอดีตบุคคลเป็นนายกฯควรเป็น ส.ส.หรือไม่ตอนปี2535 จนต้องแก้รัฐธรรมนูญให้นายกฯมาจาก ส.ส. พรรคไม่มีแนวทางจะไปเชิญใครมาเป็นนายกฯ"
นี่เป็นคำประกาศของกุนซือฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย "ชูศักดิ์ ศิรินิล" ที่ได้เปิดเผยกับ "วอยซ์ทีวี"
"ส.ส.รวมเสียงกันไม่ได้เกินครึ่งก็จะไปสู่ขั้นตอนที่สอง ทางที่ดีพรรคการเมืองควรรวมเสียงให้ได้เสนอชื่อบุคคลของพรรคการเมืองเป็นนายกฯ เชื่อว่า ส.ว.จะสนับสนุนพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากรวบรวมเสียงพรรคการเมืองต่างๆมาจัดตั้งรัฐบาล"
นี่เป็นคำยืนยันจากแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ "องอาจ คล้ามไพบูลย์" เช่นกัน
เมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่เพิ่งบังคับใช้กำหนดไว้ในมาตรา 272 ให้ระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ การลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ซึ่งหมายถึงการโหวตเลือกนายกฯ ต้องใช้เสียงสนับสนุนของ ส.ส. และ ส.ว. รวมกันมากกว่า 375 เสียงขึ้นไปจากทั้งหมด 750 เสียง
โดยให้เลือกผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้จัดทำไว้ 3 รายชื่อ ซึ่งจะต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
แต่ถ้าไม่สามารถเลือกนายกฯได้จากบัญชีที่จัดทำไว้ รัฐธรรมนูญเปิดช่องทางให้ ส.ส.และ ส.ว.ขอเปิดประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน ให้เลือกนายกรัฐมนตรีจากบุคคลที่ไม่ต้องอยู่ในบัญชีที่พรรคการเมืองได้กำหนดไว้ก็ได้
โดยสามารถยื่นญัตติต่อที่ประชุมรัฐสภาเพื่อเสนอชื่อบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้
ทำให้ "ชูศักดิ์" จากพรรคเพื่อไทย ระบุทันทีว่า พรรคเพื่อไทยจะเฝ้าจับตาดูว่ามีพรรคการเมืองใดจะเสนอชื่อบุคคลที่ไม่ใช่ ส.ส.หรือบุคคลภายนอกมาเป็นนายกฯ หรือไม่
ขณะที่ "องอาจ" ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ถ้าพรรคการเมืองรวบรวมเสียงข้างมากเลือก นายกฯที่มาจากบัญชีนายกฯไม่ได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สอง เสนอชื่อใครก็ได้ ไม่ว่าขั้นตอนแรกหรือสอง จะได้คนนอกหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ผลการเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง
สำหรับท่าทีของ "พรรคเพื่อไทย" ซึ่งย้ำผ่าน "ชูศักดิ์" จะต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอก่อน และยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยมีแนวคิดที่จะเสนอบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีในขั้นตอนที่สองอย่างแน่นอน
เมื่อถามย้ำถ้าในอนาคตเกิดมีนายกฯที่มาจากคนนอก "ชูศักดิ์" ตอบทันทีจะไม่ไปร่วมสังฆกรรมกับรัฐบาลที่มีนายกฯจากคนนอก
"เราคงปฏิเสธหลักการนั้นคงไม่เห็นด้วย เช่น จะมีบุคคลภายนอกมาเป็นนายกฯให้พรรคเพื่อไทยไปร่วมรัฐบาล"
ด้าน "องอาจ" ตอบว่า อยากเห็นพรรคการเมืองสนับสนุนนายกฯที่มาจากบัญชีนายกฯให้เสร็จในขั้นตอนแรกก่อน และเรียกร้องให้ส.ว.ร่วมสนับสนุนบุคคลของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมาจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศมากกว่าจะไปเลือกนายกฯจากคนนอกในขั้นตอนที่สอง
แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองในขั้นตอนของการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่สามารถกระทำได้ จนไปถึงมีพรรคการเมือง หรือ ส.ว. เสนอชื่อ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ให้มานั่งตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารต่อเป็นเทอมที่ 2 อีก 5 ปีนั้น
"ชูศักดิ์" บอกเพียงว่า "โอกาสจะร่วมรัฐบาลกับพลเอกคนนี้คงยาก เพราะคิดว่าถ้าเราไปร่วมคงเป็นเรื่องเสียหายมากสำหรับพรรคที่เดินแนวทางประชาธิปไตยและต่อสู้เผด็จการมาตลอด"
ขณะที่ "องอาจ" ระบุเพียงว่า "เราไม่สามารถบอกได้ในวันนี้จะเป็นยังไง ถ้าบอกวันนี้แค่เดาเฉยๆ แต่จะเป็นไปได้หรือไม่อยู่ที่ผลการเลือกตั้งเป็นหลัก"