วันอาทิตย์, ตุลาคม 29, 2560

เรื่องแบบนี้ มันเป็น lose-lose กับทุกๆ ฝ่ายจริงๆ (ไม่ใช่ win-win เลย) :แง่กฎหมายของเหตุการณ์ลูกพ่อหลวงไล่ ด่า 'สีแดง' ที่วัดไทยแอล.เอ.

Doungchampa Spencer-Isenberg
2 hrs
เวลานี้ ดิฉันกำลังอยู่ในระหว่างพักฟื้น ไม่ค่อยได้ติดตามหรืออ่านข่าวมาเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เพิ่งจะเริ่มอ่านข่าวต่างๆ เมื่อไม่นานมานี้
และก็เริ่มเตรียมตัวกลับเข้าไปทำงานใหม่ เขาให้เริ่ม Phased Return to Work เริ่มตั้งแต่ 20 ขั่วโมงในสัปดาห์แรก และค่อยๆ เพิ่มเป็น 25, 30, 35 และ 40 ชั่วโมง ภายใน 6-8 สัปดาห์ คาดว่า คงจะไปทำ full time เต็มที่หลังปีใหม่ไปแล้ว
----------------
กลับเข้ามาสู่การสนทนาตามปกติ มีข้อความเข้ามาหลังไมค์เป็นจำนวนมาก ด้วยคำถามเรื่อง คุณป้าคนหนึ่งทีไปงานใน Los Angeles และถามดิฉันว่า มีความคิดเห็นประการใดบ้าง
ดิฉันก็เลยต้องไปเริ่มอ่านเรื่องราวต่างๆ ย้อนหลังว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร (เนื่องจาก สลบไปหลายวันจริงๆ)
พออ่านแล้ว ก็ไปเห็นคอมเม้นท์ต่างๆ ซึ่งไม่ทราบว่ามาจากไหนกัน รวมทั้งใช้วาทกรรมแบบ “สีสัน” กันเต็มหน้าเพจไปหมด
----------------
และที่เขียนนี้ ไม่ได้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับการกระทำ แต่จะใช้ “แง่กฎหมาย” เป็นหลัก เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นใน Los Angeles, California ซึ่งมันจะมีความแตกต่างกันมาก หากเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย
1. เรื่องของ “วัดไทย” ทุกๆ แห่งในทุกๆ รัฐนั้น ก็ต้องให้เข้าใจกันว่า วัดไทยสังกัดสมัชชาสงฆ์ไทย
แต่กฎหมายทุกอย่าง รวมทั้งการกระทำของบุคลากรภายในวัด จะขึ้นอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาและของรัฐที่วัดนั้นตั้งอยู่ จะมาใช้กฎหมายไทยในวัดไทยไม่ได้
2. วัดไทยทุกๆ วัดที่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการลดหย่อนและยกเว้นภาษี ภายใต้กฎหมายสรรพากร เรียกว่า หมวดมาตรา 501 ( C ) (3) ซึ่งกล่าวว่า องค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรที่ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการค้ากำไร (non-profit organization) และกิจการงานภายในวัด สามารถถูกเรียกตรวจสอบอย่างโปร่งใสได้
เพราะฉะนั้น ทางวัดจะกีดกันบุคคลเพื่อใช้สถานที่ตามวัดถุประสงค์ทางศาสนาไม่ได้ พูดง่ายๆ คือ Everyone is welcome นั่นเอง
----------------
3. เมื่อวัดไทยตั้งอยู่ใน US แล้ว บุคคลต่างๆ ที่จะเข้าไปใช้สถานที่ก็มีสิทธิ์เพราะเขาหรือเธอเป็นผู้เสียภาษีให้กับรัฐบาลของรัฐและรัฐบาลกลาง
ดังนั้น การห้ามมิให้บุคคลใช้สิทธิ์ในการเดินทางเข้าไปในสถานที่นั้น มันทำไม่ได้และมันขัดกับเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา รวมทั้ง เสรีภาพการไปมาหาสู่ตามสถานที่ทางสาธารณะอีกด้วย
ตัวอย่างง่ายๆ คือ มีวัดหรือองค์กรทางศาสนาที่ไหนบ้าง ที่ปฎิเสธไม่ให้ คนที่เป็น LGBT เข้าไปในวัดหรือโบสถ์นั้นๆ ถ้าเขาหรือเธอ จะไปสวดมนต์หรือดำเนินการธุระส่วนตัวทางศาสนา?
ถ้าเขาหรือเธอ ไม่ไปประกอบพิธีกรรม ซึ่งนำหมู่คณะเข้ามา เรื่องแบบนี้ จะไปปฎิเสธการเข้าถึงสถานที่ไม่ได้ เพราะไม่อย่างนั้น ทางสถานที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติแบบเลือกที่รักมักที่ชัง (Discrimination) ได้
----------------
4. การใช้คำว่า “งานพระศพ” หรือ Funeral นั้น คำนิยามของทาง US เขียนไว้อย่างละเอียด และ ถ้าถามว่า ถ้าเป็นงานศพ (Funeral) จริงๆ นั้น “โลง” และ Body หรือ ร่างกายของบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ที่ไหน? .ซึ่งเราก็คงจะทราบดีว่า พระศพ ไม่ได้อยู่ที่ Los Angeles แน่นอน แต่อยู่ในประเทศไทย
เพราะฉะนั้น งานที่วัดใน Los Angeles จึงเป็นเรื่องของ “Memorial Service” หรือ ถวายความเคารพ ไว้อาลัยให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ไม่ใช่ “Funeral Service” เพราะไม่มีการเผา (cremate) หรือ การฝัง (Burial) เกิดขึ้น ตามที่ปฏิบัติกันทางศาสนา พระราชพิธีพระศพอยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่ที่ Los Angeles, California
ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปถึงศาล ศาลจะถามเลยว่า มันเป็นเรื่องของ Funeral หรือ Memorial Service กันแน่
----------------
5. เรื่องต่อมาคือเรื่อง Proper Attire หรือ การแต่งกายที่เหมาะสม ดิฉันไม่ทราบว่า ทางวัดมีรายละเอียดต่างๆ หรือไม่ แต่ตามปกติแล้ว วัดทุกๆ วัดก็จะติดประกาศเรื่อง การแต่งกายที่สุภาพ แต่มันเป็นเรื่องของ Guidelines หรือ ข้อเสนอแนะ ไม่ใช่ กฎข้อบังคับหรือ Rules
เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของการตีความ และ ถ้าจะใช้เรื่องความเป็นอยู่และความคิดเสมือนกับว่า อยู่ในประเทศไทย เรื่องนี้ใช้ไม่ได้ เพราะสถานที่ประกอบการ อยู่ใน US และอยู่ภายใต้กฎหมายของ US ด้วย
และดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า การ defense ข้อหาว่า เธอแต่งกายไม่เหมาะสมนั้น ใครจะเป็นคนตัดสินแทน และการอ้างว่า “คนส่วนใหญ่” ของวัด ไม่เห็นด้วยนั้น
สมมติว่า เรื่องนี้ขึ้นไปถึงศาลนะคะ เขาจะถามเลยว่า เป็นงาน Private หรือ Public คือ เป็นงานส่วนบุคคล หรือ เปิดตามสาธารณะ ถ้าเป็นงาน “ส่วนบุคคล” เคสจะออกไปอีกทางหนึ่ง คือ สามารถ “บล็อก” คนที่ไม่ได้รับเชิญได้
แต่ถ้าเป็นงานสาธารณะ และเปิด Public แล้ว ทางวัดต้องให้ประชาชนเข้าไปได้ ไม่อย่างนั้น ก็ผิดตั้งแต่เรื่อง การตั้งองค์กรเป็น non-profit organization แล้ว
ถ้าจะให้ Judge ที่มีอำนาจศาลที่นั่นตัดสิน ทางฝ่ายจำเลย ก็ต้องหาข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเรื่องกฎข้อบังคับในการแต่งกาย (Dress-code) ซึ่งถ้าไม่มีเรื่องเหล่านี้มายืนยัน ทางศาลเขาก็ไม่เห็นด้วยแน่นอน เพราะต้องมีเรื่องนี้ประกาศว่า ต้องแต่งตัวอย่างไร ชุดขาว ชุดดำ ฯลฯ
และยิ่งถ้ามีการใช้ "คณะลูกขุน" ในท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินแล้ว (ผู้เสียหายสามารถร้องขอได้) เขาจะดูเลยว่า การแต่งตัวเป็นอย่างไรในสภาพท้องถิ่นนั้นๆ และต้องมีรูปภาพบรรยายด้วยว่า ทำไมถึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ซึ่งคณะลูกขุนจะเป็นผู้พิจารณาเองด้วยการใช้ "กฎหมายของรัฐ California"
----------------
6. เรื่อง Bullying และ Threatening ข่มขู่อาฆาตชีวิต เรื่องนี้เป็นเรื่องกฎหมายอาญาหรือ Criminal การด่าทอธรรมดา อาจจะเป็นเรื่อง Civil หรือ ทางแพ่ง คือ ทำให้เกิดความเสียชื่อเสียง
แต่ถ้ามีการข่มขู่อาฆาตมีความพยายาม "ฆ่า" และผู้เสียหายเขาต้องการทำการฟ้องร้องขึ้นมา เรื่องนี้จะกลายเป็นคดีอาญาโดยทันที สิทธิการแสดงออกหรือ Freedom of Expression นั้น มีได้ทุกคน แต่เมื่อมีการ Cross the lines ขึ้นมา ทางกฎหมายไม่สามารถที่จะคุ้มครองเรื่องนี้ได้
7. เรื่องเหล่านี้ ดิฉันเห็นคอมเม้นท์ต่างๆ ลงกันเต็มไปหมด แต่ก็คิดว่า คนที่ลงคอมเม้นท์ไว้ อาจจะคิดเปรียบเทียบสถานการณ์เหมือนกับว่า บุคคลผู้นั้น อยู่ในประเทศไทย และใช้กฎหมายไทยมาเป็นเครื่องตัดสิน
การตัดสินอะไรก็ตาม เขาจะใช้การพิจารณาจากตัวบทกฎหมายของรัฐและของรัฐบาลกลางเสมอ เพราะเราใช้เรื่องของ "การอ้างอิง" ในการตัดสิน เนื่องจากใช้ระบบ Common Law ซึ่งดูจากการตัดสินเป็นบรรทัดฐานมาก่อน
เรื่องนี้ ก็อยู่ที่ว่า เธอจะดำเนินการฟ้องร้องในขั้นต่อไปหรือเปล่า เพราะเรื่องนี้ การบังคับใช้กฎหมายต่างกัน เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า มันเป็นเรื่องต่างสถานที่ และเป็นงานของการแสดงความไว้อาลัยให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
----------------
ก็ขอเขียนแค่นี้ก่อน อาจจะเป็นการแสดงความคิดเห็นให้อ่านกันอีกมุมมองหนึ่ง เพราะเรื่องแบบนี้ มันเป็น lose-lose กับทุกๆ ฝ่ายจริงๆ (ไม่ใช่ win-win เลย)
Have a Great Day ค่ะ