วันศุกร์, ตุลาคม 06, 2560

วันเลือกตั้งมี ๓ อย่างเค้าจัดให้ แบบ Roadshow, Road-Map หรือไม่ก็ Roadblock

ดูให้ดีซิว่าใครกันที่จะเป็นตัวขยับโร้ดแม้ปเลือกตั้งออกไปถึงกลางปี ๒๕๖๒ ได้ นอกจากลุงตูบบิ๊กตุ่นก็ต้อง พรเพชร วิชิตชลชัย นี่แหละ

ประธาน สนช. ออกมาแฉเสริมคำจ้าวนายที่ไปพูดไว้ที่วอชิงตันว่าจะประกาศวันเลือกตั้งปีหน้าแน่ ย้ำ แค่ประกาศวันนะ ไม่ใช่จะมีเลือกตั้งตอนปีหน้าอย่างที่สื่อเอาไปตีความกัน

ถ้าฟังจากทั่นรองฯ ฝ่ายกฎหมายแจงไว้เมื่อวาน (๕ ตุลา) ว่าตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องรอกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทำกฎหมายลูกสำคัญ ๔ ฉบับเสร็จเสียก่อน ภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๐

จากนั้นสภานิติบัญญัติ หรือ สนช. ก็รับลูกต่อเอาไปพิจารณาให้สำเร็จภายในเวลา ๖๐ วัน เท่ากับอย่างช้าสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๖๑ รู้เรื่อง แต่ (ตามสไตล์รัฐธรรมนูญฉบับนิติบริการ ๒๕๖๐)

หาก สนช.ไม่พอใจมาตราใด ก็แก้ไขในส่วนนั้น แต่หากไม่พอใจหลายมาตราจนมีมติให้ตีตกร่างดังกล่าว ก็อาจต้องร่างฉบับใหม่” ถึงแม้ว่านายวิษณุ เครืองาม เอง โดยส่วนตัว “หวังว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น" ก็ดี

หากมีเสนอให้ตั้งคณะกรรมกรรมการร่วม ๓ ฝ่าย รัฐธรรมนูญให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ดังนั้นหากเป็นไปตามกรอบเวลานี้คาดว่าจะได้รัฐบาลใหม่ประมาณ ปลายปี ๒๕๖๑ อย่างช้าต้นปี ๒๕๖๒”


ต้องยอมรับว่าความหวังของทั่นรองฯ นั้นอาจพลิกผันได้ เพราะถ้า สนช. ไม่พอใจร่าง พรป. ที่ กรธ. เขียนมาหลายมาตราก็ต้องเสนอให้ตั้งกรรมการร่วมสามฝ่ายขึ้นมาเขียนร่าง พรป. ใหม่ ตรงนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดกรอบเวลาการทำงานเอาไว้ (ก็น่าจะไม่เกิน ๒๐ ปีตามอำนาจยุทธศาสตร์ชาติ หุหุ)

พอนักข่าวถามใจประธาน สนช. นายพรเพชรไม่ได้ให้ความกระจ่างอะไรเกี่ยวกับกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอน แค่เพียงตอบตามกรอบเวลาของรัฐธรรมนูญแบบเดียวกับทั่นรองฯ วิษณุ ว่ายังเหลือกฎหมายลูกอีกสองฉบับที่จำเป็นต้องเสร็จอย่างช้าที่สุดภายในสิ้นปีหน้า (๒๕๖๑)

อ้าว ถ้างั้นการเลือกตั้งไม่มีทางทำได้ก่อนสิ้นกุมภา ๖๑ นี่เท่ากับไม่ได้เป็นไปตามโร้ดแม้ปอย่างที่ทั่นรองฯ อีกคนบุ้ยใบ้ไว้ โร้ดแม้ป คสช.ที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณอ้างนั้น กำหนดให้มีเลือกตั้งอย่างช้าที่สุดในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑

ทางเดียวที่จะทำได้อย่างนั้น เพื่อให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ไม่ต้องถูกนินทาว่าไปโกหกทรั้มพ์ (ทรูเฟรนด์ คนนั้นของประยุทธ์) เอาไว้ทั้งที่เขาไม่สนจะถามก็คือ

ต้องดันให้ กรธ. ทำกฎหมายลูกอันจำเป็นที่เหลือ ๒ ใน ๔ ฉบับ คือเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเรื่องการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิก ๒๕๐ คน (ตามที่ คสช.ต้องการทั้งแต่งตั้งและสรรหา) ให้เสร็จก่อนเดือนพฤศจิกายน ๖๑ อย่างน้อยๆ ราว ๘ เดือน

เนื่องเพราะมาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญ ๖๐ ระบุว่าเมื่อกฎหมายลูกอันจำเป็นประกาศใช้ครบ ๔ ฉบับ (ขณะนี้ พรป.สองฉบับเกี่ยวกับคณะกรรมการเลือกตั้งและพรรคการเมืองผ่านการอนุมัติโดย สนช. แล้ว รอแต่การโปรดเกล้าฯ) ให้กำหนดเลือกตั้งภายใน ๑๕๐ วันหลังจากนั้น

ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งให้เวลา สนช.พิจารณาร่างกฎหมายลูกที่ได้รับภายใน ๖๐ วันก็จริง แต่เมื่อผ่านแล้วมีองค์กรเกี่ยวข้องอื่น เช่น กกต. ไม่เห็นด้วยก็สามารถคัดค้านได้ภายใน ๑๐ วัน ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมสามฝ่ายระหว่าง กรธ. สนช. และองค์กรที่ค้านนั้น ขึ้นมาพิจารณาแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน


เป็นไปได้ไหมว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะประกาศใช้ภายใน ๑๕๐+๑๐+๑๕ = ๒๓๕ วัน ก่อนกำหนดเลือกตั้งตามโร้ดแม้ป ซึ่งก็คือมีนาคม ๖๑ และประยุทธ์ประกาศกำหนดเลือกตั้งในปีหน้าได้ตามที่คุย

เป็นอันว่ากำหนดเลือกตั้งที่ประยุทธ์เที่ยวไปอ้างกับชาวโลกหลายหน ว่ามีแน่ปลายปีนี้หรือปีหน้า ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๘ มาโน่นแล้ว ล่าสุดตามโร้ดโชว์ ‘Roadshow’ ประวิตรคือพฤศจิกา ๖๑ โร้ดแม้ป ‘Roadmap’ วิษณุก็ต้องกุมภา ๖๒ ส่วนโร้ดบล็อค ‘Roadblock’ พรเพชรโน่นแน่ะยืดไปถึงพฤษภา ๖๒


จะเอาไงแน่ เห็นทีต้องถามโพล ปะเหมาะพอดี นิด้า รออยู่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ออกผลสำรวจความเห็นผู้ตอบคำถาม ๑,๒๕๑ คน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ได้ความว่า

“เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งประมาณเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑ ได้หรือไม่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ ๕๕.๐๐ ระบุว่าทำได้” ครั้นไปถึงคำถามว่า “ยอมรับได้หรือไม่ถ้าหากการเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไป

พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ ๗๑.๓๐ ระบุว่ายอมรับได้ เพราะอยากให้ทำการปฏิรูปประเทศก่อน บ้านเมืองยังต้องจัดการระบบและระเบียบอยู่ อะไรหลายๆ อย่างยังไม่ลงตัว ไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ การดำเนินการต้องใช้เวลา ต้องรอให้รัฐบาลชุดนี้บริหารบ้านเมืองไปก่อน เชื่อมั่นในตัวนายกฯ”


โหย มาเป็นชุดขาดลอยแบบนี้ ประยุทธ์คงเอาอย่างที่เฮียพรเพชรเค้าพอใจละมั้ง เลือกตั้งกลางปี ๖๒ หรือหลังจากนั้น ตามสูตรของใครนะ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” เศรษฐกิจจะพังชั่งแหม่มมัน


ทั้งที่ธนาคารโลกเพิ่งแจ้งหมาดๆ “อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี ๒๕๖๐ เติบโต .% และปี ๒๕๖๑ เติบโต .% ซึ่งถือว่าต่ำสุดในภูมิภาคอาเซียน

นายชูเดียร์ แชตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของธนาคารโลกเปิดเผยด้วยว่า กัมพูชาเติบโตมากที่สุดในกลุ่ม คือ ๖.๘ เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยลาวที่ ๖.๗ ฟิลิปปินส์ ๖.๖ พม่า ๖.๔ เวียดนาม ๖.๓ มาเลเซีย ๕.๒ และอินโดนีเซีย ๕.๑


สังเกตุดีๆ ไทยทิ้งห่างเพื่อนบ้านไกลอยู่ สุดเอื้อมประเทศรองบ๊วยเกือบสองแต้ม หนีห่างอันดับหนึ่งเกินสองเท่าตัว มัวแต่จัดการระบบจัดเก็บระเบียบอยู่นั่นแล้ว เฮ้อ