https://www.facebook.com/BBCThai/videos/1995034370717593/
“Frienemies” สารคดีชีวิต ปรีดี-จอมพล ป. สะท้อนมิตรภาพและความขัดแย้ง จาก 2475 ถึง ปัจจุบัน
9 ตุลาคม 2017
Source: BBC Thai
ผู้กำกับ ภาสกร ประมูลวงศ์ นำเสนอ "Frienemies" ภาพยนตร์สารคดีย้อนรอยความสัมพันธ์ "เพื่อนรักเพื่อนชัง" ของนายปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ย้อนดู "เพื่อนรัก" เคียงบ่าปฏิวัติ 2475 สู่ "ศัตรู" ทางอุดมการณ์ และการลี้ภัยต่างแดนบั้นปลายชีวิตของทั้งสอง
เมื่อ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา ภาสกร ประมูลวงศ์ หนึ่งในผู้กำกับสารคดีการเมือง "Paradoxocracy" จากปี 2556 นำเสนอ "ฉบับร่าง" ของ "Frienemies" ภาพยนตร์สารคดีซึ่งย้อนรอยความสัมพันธ์ รัก-ชัง ของนายปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา หรือ SOAS แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ตามด้วยการพูดคุยสนทนาของผู้กำกับ, ศ.พิเศษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ รศ. ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งทั้งสองเป็นที่ปรึกษาของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย
85 ปี ปฏิวัติสยาม: ประวัติศาสตร์ที่ “ต้องจัดการ”
85 ปีปฏิวัติสยาม: การตีความ “ประชาธิปไตยไทย” ณ เวทีศิลปะโลก
PASSAKORN PRAMUNWONG
ภาพนิ่งจาก "Frienemies" ภาพยนตร์สารคดีซึ่งย้อนรอยความสัมพันธ์ รัก-ชัง ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม(ซ้าย) และนายปรีดี พนมยงค์
ฟื้นชีวิต เพื่อนรัก เพื่อนชัง
ฉบับร่างของภาพยนตร์สารคดีนี้ยาวราว 20 นาที ประกอบไปด้วยเอกสารหายากที่ภาสกรค้นคว้ามายาวนาน 2 ปี บทสัมภาษณ์นักประวัติศาสตร์ 3 คน ได้แก่ ศ.พิเศษ ดร. ชาญวิทย์, อ. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ และ อ.ณัฐพล ใจจริง และการให้นักแสดงมาสวมบทบาททำให้นายปรีดี และ จอมพล ป. กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ภาสกรให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า สารคดี "Paradoxocracy" หรือ "ประชาธิป′ ไทย" ซึ่งเขาร่วมงานกับผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจทางการเมืองของเขา แต่ในขณะที่ "ประชาธิป′ ไทย" มองประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยเป็นภาพกว้างยาวกว่า 80 ปีตั้งแต่การปฏิวัติ 2475 จนถึงปัจจุบัน "Frienemies" มุ่งความสนใจไปที่ "ตัวละคร" สำคัญของประวัติศาสตร์ไทยเพียงสองคน
"รู้สึกว่าทำไมเรื่องของจอมพล ป. และ ปรีดี มีคนเอามาเล่าน้อยเหลือเกิน ก็เลยคิดว่าถ้าเราสามารถหยิบเรื่องของสองท่านมาพูดในแง่ที่ไม่เคยมีใครพูดมาก่อน นั่นคือแง่ของเพื่อนและศัตรู ศัตรู-เพื่อน สลับกันไปตามเส้นทางชีวิต ที่จะเน้นเป็นพิเศษจะชอบช่วงที่เขา[สองคน] ลี้ภัยไปจากไทยเพราะคิดว่าเรื่องพวกนี้มีคนค้นคว้าน้อย"
PASSAKORN PRAMUNWONG
ภาพนิ่งจากภาพยนตร์สารคดีชีวิต "Frienemies" จากส่วนการสัมภาษณ์ อ. ศรัญญู เทพสงเคราะห์(ซ้าย), ศ.พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ และ อ.ณัฐพล ใจจริง
คณะราษฎร
ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจอมพล ป. และนายปรีดี เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2470 ที่ทั้งสองเป็นสมาชิกคณะบุคคล 7 คน ที่นัดพับกันที่กรุงปารีสเพื่อเริ่มวางแผนการปฏิวัติของ "คณะราษฎร" ที่จะเกิดขึ้น 5 ปีให้หลัง ภาสกรบอกว่าบทสัมภาษณ์กับ อ.ชาญวิทย์, อ. ศรัญญู และ อ.ณัฐพล เป็นเหมือน "โครงสร้าง" ของภาพยนตร์ โดยอาจารย์ทั้ง 3 พูดถึงความเหมือนกันของทั้งสองคนในฐานะคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไปจนถึงความแตกต่างของอุดมการณ์ เช่น ชาตินิยมของจอมพล ป. และสังคมนิยมของนายปรีดี ซึ่งจะกลายเป็นปมขัดแย้งในเวลาต่อมา
"ความน่าสนใจในความขัดแย้ง น่าสนใจที่ว่าเราจะตีความบริบทนั้นอย่างไร บางครั้งมองว่าเป็นความขัดแย้งจริงๆ จริง ๆ ไม่ขัดแย้ง มองว่าไม่ขัดแย้ง จริง ๆ คือขัดแย้ง ยกตัวอย่างตอนที่ จอมพล ป. ติดคุกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค้นแล้วอาจจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่จริง ๆ แล้วใครที่เป็นคนทำให้จอมพล ป. ออกมาจากคุก ก็อาจารย์ปรีดี"
ความสัมพันธ์ "เพื่อนรักเพื่อนชัง" ของรัฐบุรุษทั้งสองคนเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่จากการเข้ารับตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ของ จอมพล ป. และความแข็งแกร่งกองทัพที่กุมอำนาจในฐานะ "ท่านผู้นำ" ของเขา มาจนถึงยุคสงครามที่ทำให้คณะราษฎรแตกฝักฝ่ายระหว่างทหารที่นิยมฝ่ายอักษะ กับฝ่ายพลเรือนที่นิยมฝ่ายพันธมิตรที่นำมาซึ่งขบวนการเสรีไทย ซึ่งรัฐบาลของจอมพล ป. ก็ให้ความช่วยเหลืออยู่อย่างลับ ๆ
หนังสือ "อำนาจ II" โดย รุ่งมณี เมฆโสภณคำบรรยายภาพส่วนหนึ่งของ จดหมาย 10 หน้า ที่ จอมพล ป.เขียนถึง นายปรีดีหลังจากที่ถูกจับเป็น "อาชญากรสงคราม" ระหว่างปี 2485 ถึง 2488
หนังสือ "อำนาจ II" โดย รุ่งมณี เมฆโสภณคำบรรยายภาพส่วนหนึ่งของ จดหมาย 10 หน้า ที่ จอมพล ป.เขียนถึง นายปรีดีหลังจากที่ถูกจับเป็น "อาชญากรสงคราม" ระหว่างปี 2485 ถึง 2488
บทสัมภาษณ์นักวิชาการสามคนใน "Frienemies" ย้อนรอยการยื้อยุดอำนาจไปมาระหว่างตัวละครทั้งสองคนนี้ การย้อนกลับไปกลับมาระหว่างสถานะมิตรและศัตรู การกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของนายปรีดีจนถึงการรัฐประหารยึดอำนาจคืนของจอมพล ป. เมื่อปี 2490 มาจนถึงการลี้ภัยถาวรในท้ายที่สุดของนายปรีดีหลัง "กบฏวังหลวง" และ "กบฏแมนแฮตตัน" ไม่เป็นผล
อีกองค์ประกอบสำคัญของ "Frienemies" คือการค้นคว้าเอกสารสำคัญที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน โดยภาสกรนำเอกสารเหล่านี้มาจัดวางในภาพยนตร์ซึ่งภาสกรบอกว่ามันเป็น "footage" หรือคลิปภาพยนตร์ อย่างหนึ่ง
ข้อมูลอเมริกา
ดร. ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เป็นอีกหนึ่งที่ปรึกษาคนสำคัญ ซึ่งช่วยให้ภาสกรพบเอกสารสำคัญหลายชิ้นที่ห้องสมุด Memorial Library ของมหาวิทยาลัย อาทิ โทรเลขของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ระบุถึง "ข่าวลือ" เกี่ยวกับปรีดี หรือข้อมูลว่าปรีดีมีกองกำลัง "แบบกองโจร"
เมื่อถามโทรเลขดังกล่าวส่งไปหาใคร ข่าวลือนั้นคืออะไร และกองกำลังที่ว่านั้นหมายถึงช่วงไหนในประวัติศาสตร์ ภาสกรบอกเพียงว่าการเปิดเผยจะเป็นการ "สปอยล์" ภาพยนตร์และไม่อยากเปิดเผยในตอนนี้เพราะเป็น "กลไกการเล่าเรื่องที่กระตุ้นให้คนคิดตามจังหวะของหนัง" และย้ำว่านี่จะเป็นที่แรกที่ได้เห็นเอกสารหลาย ๆ ชิ้นแน่นอน
PITRAPEE CHOMCHUEN/BBC THAI
บทสัมภาษณ์นักวิชาการสามคนใน "Frienemies" ย้อนรอยการยื้อยุดอำนาจไปมาระหว่างตัวละครทั้งสองคนนี้ การย้อนกลับไปกลับมาระหว่างสถานะมิตรและศัตรู การกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของนายปรีดีจนถึงการรัฐประหารยึดอำนาจคืนของจอมพล ป. เมื่อปี 2490 มาจนถึงการลี้ภัยถาวรในท้ายที่สุดของนายปรีดีหลัง "กบฏวังหลวง" และ "กบฏแมนแฮตตัน" ไม่เป็นผล
อีกองค์ประกอบสำคัญของ "Frienemies" คือการค้นคว้าเอกสารสำคัญที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน โดยภาสกรนำเอกสารเหล่านี้มาจัดวางในภาพยนตร์ซึ่งภาสกรบอกว่ามันเป็น "footage" หรือคลิปภาพยนตร์ อย่างหนึ่ง
ข้อมูลอเมริกา
ดร. ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เป็นอีกหนึ่งที่ปรึกษาคนสำคัญ ซึ่งช่วยให้ภาสกรพบเอกสารสำคัญหลายชิ้นที่ห้องสมุด Memorial Library ของมหาวิทยาลัย อาทิ โทรเลขของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ระบุถึง "ข่าวลือ" เกี่ยวกับปรีดี หรือข้อมูลว่าปรีดีมีกองกำลัง "แบบกองโจร"
เมื่อถามโทรเลขดังกล่าวส่งไปหาใคร ข่าวลือนั้นคืออะไร และกองกำลังที่ว่านั้นหมายถึงช่วงไหนในประวัติศาสตร์ ภาสกรบอกเพียงว่าการเปิดเผยจะเป็นการ "สปอยล์" ภาพยนตร์และไม่อยากเปิดเผยในตอนนี้เพราะเป็น "กลไกการเล่าเรื่องที่กระตุ้นให้คนคิดตามจังหวะของหนัง" และย้ำว่านี่จะเป็นที่แรกที่ได้เห็นเอกสารหลาย ๆ ชิ้นแน่นอน
PITRAPEE CHOMCHUEN/BBC THAI
ภาสกรให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า สารคดี "Paradoxocracy" หรือ "ประชาธิป′ ไทย" ซึ่งเขาร่วมงานกับผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจทางการเมืองของเขา
ญี่ปุ่น บ้านพักสุดท้ายของ จอมพล ป.
เมืองซากามิฮาราซึ่งอยู่ทางชานเมืองกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นเมืองที่ จอมพล ป. ลี้ภัยไปอยู่หลังพลเอกสฤษดิ์ทำการรัฐประหารเมื่อปี 2500 และอาศัยอยู่จนกระทั่งเสียชีวิต เป็นอีกสถานที่ถ่ายทำในภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ โดย ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ช่วยให้ภาสกรได้ร่วมงานกับนักวิชาการที่ช่วยค้นคว้าหาข้อมูลหายากหลายชิ้นจากหลายมหาวิทยาลัยทั่วญี่ปุ่น อาทิ เอกสารที่ระบุเส้นทางการไปสหรัฐฯ ของจอมพล ป. และชิ้นที่เผยให้ทราบว่าเขามีความตั้งใจจะสอนหนังสือในสหรัฐฯ รวมถึงการได้พูดคุยกับเพื่อนบ้านชาวญี่ปุ่นของจอมพล ป.ในสมัยนั้น
"เรื่องของทั้งสองเป็นหนังสารคดีได้แน่นอน เอาความเป็นรัฐบุรุษ เป็นนักการเมือง อุดมการณ์การเมือง ออกไปแทบทั้งหมดเลย เหลือแต่เพียงความเป็นมนุษย์ของทั้งสองคน ซึ่งมีความเป็นเพื่อน-ศัตรู ในเวลาเดียวกัน และเวลาไม่เดียวกัน" ภาสกร ระบุ
ฉากหนึ่งที่สะท้อนคำกล่าวนี้ของภาสกรคือฉากหนึ่งในสารคดีที่เพื่อนบ้านของจอมพล ป. เล่าว่าเขาชอบเล่นกับหมา และไม่สนใจเลยสักนิดว่าสูทสีขาวของเขาจะเลอะเทอะเวลาโดนหมากระโจนใส่
เอกสารสำคัญอีกชิ้นหนึ่งได้จากเพื่อนบ้านชาวญี่ปุ่นที่จดบันทึกเรื่องจอมพล ป. ไว้
"มีหมา เลี้ยงหมา รักหมา มีใครมาเยี่ยมบ้าง ไปกินข้าวที่ไหน ...เพื่อนบ้านแกคนหนึ่ง บังเอิญเป็นนักเขียน แกตั้งใจจะเขียนชีวิตของ "พิบูลซัง" ในช่วงที่อยู่ญี่ปุ่น บังเอิญ[จอมพล ป.]มาตายซะก่อน เอกสารทั้งหมด ภรรยาแกเก็บไว้ เก็บไว้หลายสิบปี เหมือนรอใครมาเอาไปใช่ประโยชน์" ภาสกร ระบุ
PASSAKORN PRAMUNWONG
ภาพนิ่งจากภาพยนตร์สารคดีชีวิต "Frienemies" จากส่วนการสัมภาษณ์เพื่อนบ้านชาวญี่ปุ่นของ จอมพล ป.
ดร. ปวินกล่าวว่า ตัวเขามัก "วาดภาพ" จอมพล ป. เป็นสีดำ และนายปรีดีเป็น "สีขาวยิ่งกว่าขาว" ซึ่งนี่อาจจะสะท้อนความคิดคล้าย ๆ กันของสาธารณชนทั่วไป แต่ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ทำให้ได้เห็นอีกด้านหนึ่งของผู้ชายทั้งสองคนนี้ ว่านายปรีดีก็มีด้านมืด และจอมพล ป. ก็สมควรได้รับการ "ประเมินค่า" เสียใหม่
ด้าน ดร. ชาญวิทย์ กล่าวว่าการย้อนมองประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ของรัฐบุรุษทั้งสองทำให้เราเห็นจุดเริ่มต้นของ "วัฏจักรแห่งความชั่วร้าย" ที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
"ท่านปรีดีเป็นมันสมอง มีความคิดการเมืองการปกครอง ต้องการประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีอำนาจอธิปไตยสามส่วน ไม่ได้อยู่กับบุคคลคนเดียว ...แต่ต้องมีทหาร กองทัพเป็นผู้สนับสนุนค้ำจุนระบบใหม่ ไม่มีกองทัพมันก็กลายเป็นกบฏอ่ะ พูดง่ายๆ... เมื่อทั้งสองร่วมมือกัน มันก็รักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ได้ เมื่อกลายเป็นศัตรูกัน ในที่สุดก็พัง"
เขามองว่า ความแตกแยกระหว่าง นายปรีดี กับ จอมพล ป. นำมาซึ่งความล้มลุกคุกคลานของระบอบประชาธิปไตย
"กลายเป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้าย ปฏิวัติ รัฐประหาร ยึดอำนาจ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ 20 ฉบับ ยึดอำนาจ 13 ครั้ง กลายเป็นวัฏจักรอย่างที่เราเห็น"
"ในที่สุดเกิดขั้วที่สามขึ้นมา อาจจะพูดได้ว่าฝ่ายเจ้า royalist ฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงก่อนรัฐประหาร 2500 ของสฤษดิ์เนี่ย มันทำให้กำลังประชาธิปไตยอ่อนลง จะเห็นว่ารัฐประหารแฝดของสฤษดิ์ 2500 และ 2501 นำมาซึ่งความชะงักงันของประชาธิปไตยเป็นเวลาสิบกว่าปี กว่าจะเกิดขบวนการ 14 ตุลาขึ้นมาเนี่ย มันใช้เวลายาวมาก"
ITRAPEE CHOMCHUEN/BBC THAI
การนำเสนอ "ฉบับร่าง" ของ "Frienemies" เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ตามด้วยการอภิปรายของผู้กำกับ ศ.พิเศษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และรศ. ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์(ขวา)
เมื่อถามถึง "มรดก" ของปรีดีที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน อ.ชาญวิทย์ระบุว่า มีรูปร่างชัดเจนเรื่องความคิดเรื่องประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโชคดีที่มีคนสืบทอดเจตนารมณ์อย่าง ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จนมาถึง "นิติราษฎร์" (กลุ่มอาจารย์นิติศาสตร์ มธ. ที่ตั้งคำถามกับสถาบันตุลาการของไทย) ในปัจจุบัน
ดร. ชาญวิทย์ เปรียบเทียบความต่างและความเหมือนของของ จอมพล ป. และ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร 2557 ว่า "จอมพล ป. ยังรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นสมาชิกคณะราษฎร ยังถือว่าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สำคัญ... "แต่ผมคิดว่าทหารรุ่นหลังแล้วเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นสนธิ หรือประยุทธ์ รูปแบบของเขามันเป็นรูปแบบของนายทหารนักเรียนใน ไม่ใช่นายทหารนักเรียนนอก รุ่นพยาพหลฯ หรือจอมพล ป. มันเป็นทหาร "โฮมเมด" แบบสฤษดิ์ ถนอม ประภาส สนธิ ประยุทธ์ พวกนี้ไม่มีความตื่นเต้นอะไรกับระบอบประชาธิปไตย ไม่มีความศรัทธาในระบอบรัฐธรรมนูญ เผลอ ๆ ไม่มีได้เขาจะแฮปปี้มาก นี่คือความต่าง"
ขณะนี้ ภาสกรได้ถ่ายทำภาพยนตร์ไปราว 60-70 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือการไปถ่ายทำสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในกรุงปารีสปลายปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ สวนสาธารณะที่บุคคลทั้งสองเคยไป และที่พักที่ทั้งสองเคยอยู่สมัยเรียน