วันอาทิตย์, ตุลาคม 01, 2560

มาตรการ 'งาบบ้านครองเมือง' คสช. ตาโตภาษีน้ำ

มาตรการงาบบ้านครองเมืองของ คสช. ยังคงเบียดบังและสร้างทุกข์กับประชากรอยู่ไม่ขาด การขึ้นภาษีต่างๆ มีมาเป็นระลอก เพียงเพื่อให้คณะยึดอำนาจดูดียังมีไม่หยุดเป็นระยะ ใครจะรู้ว่าอีก ๕ ปีต่อไปจะหนักหนาสากัณฑ์ขนาดไหน

เมื่อวาน (๓๐ กันยา) นายกสมาคมชาวนาออกมาบอกว่าจะระดมชาวนาทั่วประเทศไปร้องนายกฯ “เพื่อขอความชัดเจนการออกกฎหมายเก็บค่าน้ำภายในสัปดาห์หน้า”


วันก่อน (๒๙ กันยา) ที่ปรึกษาด้านการตลาดตราสารหนี้ แจ้งว่าหนี้สาธารณะเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ ๔๒ ของจีดีพี ซึ่งหมายถึงประเทศชาติมีหนี้เพิ่มอีกเฉียด ๕ หมื่นล้านบาท ด้วยฝีมือพวกผู้วิเศษ คสช.


ย้อนไปอีกสองวัน (๒๗ กันยา) ผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่ ประธานหอการค้าสมุทรสาคร ยืนยันผลงาน คสช. เช่นกันในการให้สัมภาษณ์ว่า อุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเลตอนนี้ ขาลงแน่ๆ



ย้อนไกลกว่านั้นก็ได้ เมื่อกันยา ๕๙ ข่าวบอกว่า คสช. “พิจารณาปรับอัตราภาษีป้าย” ราว ๓ ถึง ๕ เท่าตัว เพื่อจะหารายได้เข้าคลัง เพราะหมดช่องทางตามครรลองธุรกิจแบบ ‘free enterprises’ การค้าเสรี เพราะลูกค้าหด ทุนหาย พวกตะหานขายหน้า


แล้วที่น่าขันแต่ขำไม่ออกรู้ mite อะไร คสช. ถอนเงิน (ชาวบ้าน) ๔๕ พันล้านยูเอสดอลล์ (เกือบ ๑ ล้าน ๕ แสนล้านบาท ตามอัตราเงินแข็งตอนนี้) ทุ่มฟื้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระเบียงตะวันออกที่หวังนักคุยหนา ชวนใครต่อใครมาร่วมลงถัง แอร์บัส ล็อคฮี้ทมาร์ติน สิกอร์สกี้ อาลีบาบา แม้กระทั่งงิ้วโชว์นักธุรกิจญี่ปุ่นหลายร้อยเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

ก็ยังแค่ ลมๆ แล้งๆฝันเปียกให้ผ่านไปได้ชั่วครั้งชั่วคืน เนื่องเพราะปัญหาหนักหนึ่งอันของการท้าทายเพื่อจะนำเหล่าอุตสาหกรรมแก่นแข็งของโลกทั้งหลาย ให้มาชม้ายตาแลมองนั้นอยู่ที่ “การขาดแรงงานคุณภาพ” ที่จะรองรับ ไตแลนเดีย ๔.๐ของพวกนักยึดอำนาจ

ผู้อำนวยการใหญ่ของโครงการ EEC (ประเทดไต) คณิศ แสงสุพรรณ แจ้งว่าไม่มีไม่เป็นไร import ได้ ระหว่างที่กะลาแลนด์พยายามปรับปรุงการศึกษา ยกระดับสติปัญญาให้ทันศตวรรษที่ ๒๑ (มีเวลาตั้ง ๒๐ ปี) อยู่นั้น นำเข้าแรงงานฝีมือจากต่างด้าวได้


ปัดโธ่ ไอ้แรงงานที่มีฝีมือเพราะได้ฝึกฝนและทำงานกันประจำ ก็ออกคำสั่งเพลินผลักพวกเขาออกไปกันเยอะแล้วไม่อยากกลับ แรงงานที่จะมีฝีมือรุ่นใหม่คนในชาตินั่นก็ดันบังคับสอนให้กราบกรานถวายบังคมท่าเดียว งมงายแต่ในกรอบ แล้วจะเป็นแรงงานก้าวหน้า ‘advance’ ให้ฝรั่งที่จะมาลงทุนอยากจ้างได้ที่ไหน

พูดไปทำไรมี ย้อนมาที่เรื่องภาษีน้ำตามเดิม ดุจากถ้อยคำมันก็น่าขำอยู่หรอก ภาษีบาปพอกล้ำกลืน ภาษีดินไม่เป็นไร แม่งพยายามเก็บมากี่สิบปีเก็บไม่ได้ ติดที่พวกเจ้าของที่ดินรายหย่ายทั้งหลายเขาค้อนให้ พวกเจ้าของที่แมวดิ้นตายเลยได้อาณิสงค์ ภาษีอากาศยังไม่มา ดูรูปการณ์ยุทธศาสตร์ยี่สิบปี นี่เดี๋ยวคงมา

กับภาษีน้ำนั่น ทหารใหญ่ในกระทรวงเกษตรฯ พยายามใช้ ‘big brother speaks’ วาทกรรม คสช. ว่าร่าง พรบ. ภาษีน้ำอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ สนช. สภา คสช.ตั้งไว้ประทับตราคำสั่ง คสช. ก็จริง แต่ไม่เห็นเขาพูดถึงเรื่องจะเก็บภีจากชาวนานะ

แหม่ นี่เข้าวาระสามแล้ว ถ้าไม่พูดเรื่องหัวใจของ พรบ.ก็แสดงว่าหมกเม็ดอย่างผู้นำชาวนาว่า ละสิ ชาวบ้านโชคดี มี ดร.โสภณ พรโชคชัย เอามาแจงไว้ว่า “หลักการดี” แต่ “วิธีคิดชั่ว” จะหนักกว่าภาษีที่ดิน

หลักการที่ดีก็คือ ใครที่ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมต้องจ่ายภาษี ไม่ใช่นำไปใช้ฟรี ๆ เช่น ในกรณีโรงงาน กระทิงแดง หากมีการใช้น้ำจำนวนมหาศาลจากเขื่อนอุบลรัตน์ (น้ำพอง) ก็ควรที่จะเสียภาษี หรืออีกนัยหนึ่งควรที่ซื้อน้ำไปใช้จึงจะสมควร”


ส่วน “ชาวนาที่ต้องเสียค่าน้ำอัตราลูกบาศก์เมตรละ ๐.๕ บาท นั้นเป็นวิธีคิดที่ชั่วช้ามาก เพราะคิดบนฐานว่าประชาชนชาวนาใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ”

ดร.โสภณแกแจงต่ออีกว่า ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่ประมาณ ๑ แสน ๑ หมื่น ๔ พันล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าเก็บภาษี ๕๐ สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตรจะมีรายได้เข้าคลังราว ๕ หมื่น ๗ พันล้านบาท (คสช. เลยตาโตมั้ง)

หากแต่ภาษีต่อผู้ผลิตในจำนวนนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อราคาสินค้า (ตามหลักสูตรฟรีเอ็นเตอร์ไพร้ส์ ที่มหาลัย จปร. อาจไม่สอนนั่นละ) “ก็คงทำให้สินค้าต่างๆ พาเหรดกันขึ้นราคากันยกใหญ่” ดร.โสภณว่า

และนี่ไงที่ต้องบ่นมาแต่ต้นว่าไอ้พวกที่ครองเมืองกันขณะนี้ “เบียดบังและสร้างทุกข์กับประชากรอยู่ไม่ขาด” นั้นแค่ไหน

ซ้ำร้ายแค่นี้ยังไม่หมด อกสั่นขวัญแขวนอยู่นี่ว่ามันจะมาอีกหลายระลอก อะ